The Prince & Me (2004) รักนาย เจ้าชายของฉัน
เรื่องย่อ
ที่วิทยาลัย Paige ได้พบกับ Eddie เพื่อนนักศึกษาจากเดนมาร์ก ซึ่งตอนแรกเธอไม่ชอบแต่ต่อมาก็ยอมรับ ชอบ และรัก เขาพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นมกุฎราชกุมารเอ็ดวาร์ด Paige ติดตามเขาไปที่โคเปนเฮเกนและติดตามเธอกลับไปโรงเรียนด้วยแผน เพจ มอร์แกน (รับบทโดยจูเลีย สไตลส์) เป็นนักศึกษาสาวชาวอเมริกันที่มหาวิทยาลัยในวิสคอนซิน เธอเป็นคนทะเยอทะยานและมุ่งมั่นที่จะเรียนจบด้านการแพทย์เพื่อสร้างอนาคตที่มั่นคง The Prince & Me วันหนึ่งเธอได้พบกับ เอ็ดดี้ (รับบทโดยลุค แมบลีย์) ชายหนุ่มชาวเดนมาร์กที่ดูเหมือนนักศึกษาแลกเปลี่ยนธรรมดา แต่แท้จริงแล้วเขาคือ เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งเดนมาร์ก เอ็ดเวิร์ดตัดสินใจหลีกหนีชีวิตในวังที่เต็มไปด้วยกฎระเบียบมาลองใช้ชีวิตอิสระในอเมริกา เมื่อมาเรียนที่มหาวิทยาลัย เขาได้พบกับเพจ ทั้งคู่เริ่มต้นความสัมพันธ์ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง เนื่องจากนิสัยที่ต่างกันสุดขั้ว
ผู้กำกับ
- Martha Coolidge
บริษัท ค่ายหนัง
- Lionsgate
- Sobini Films
นักแสดง
- Julia Stiles
- Luke Mably
- Ben Miller
- Miranda Richardson
- James Fox
- Alberta Watson
- John Bourgeois
- Zachary Knighton
โปสเตอร์หนัง
รีวิว
ผมเคยดู The Prince & Me เมื่อนานมาแล้วครับ ยอมรับว่าจำอะไรไม่ได้เลยนอกจาก Julia Stiles ที่ผมว่าเล่นเรื่องไหนเธอก็ทำหน้าที่ได้ดีเสมอ ในขณะที่ตัวหนังนั้นรู้สึกกลางๆ ครั้นมีโอกาสคว้าเอามาดูอีกรอบก็รู้สึกโอเคกับหนังมากขึ้นหน่อยนึง แต่กระนั้นก็รู้สึกครับว่าหนังยังไม่ลงตัวคล่องคอแบบเต็มร้อย มีทั้งจุดที่เข้าท่าและจุดที่แปร่งปร่าผสมกลั้วๆ กันไป พล็อตเรื่องเล่าง่ายครับ เมื่อเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด (Luke Mably) แห่งเดนมาร์กเกิดอยากมาลองใช้ชีวิตสนุกๆ ในอเมริกาก็เลยปลอมตัวเป็นสามัญชนมาเพื่อเรียนๆ เล่นๆ แต่แล้วเขาก็ได้พบกับเพจ มอร์แกน (Stiles) สาวสวยที่จริงจังกับชีวิต และเธอคนนี้นี่แหละครับที่จะเปลี่ยนเจ้าชายเพลย์บอยให้กลายเป็นสุภาพบุรุษ – แต่ประเด็นคือเธอไม่รู้เลยนะว่าเอ็ดเวิร์ดคือเจ้าชายน่ะ
โดยรวมแล้วก็จัดว่าดูได้เพลินๆ สำหรับความเป็นหนังโรแมนติกผสมเบาสมองแบบวัยรุ่นน่ะนะครับ มีกุ๊กกิ๊ก มีฮา มีดราม่าผสมปนๆ กัน จริงๆ ถือว่าค่อนข้างครบ แต่ยอมรับว่าช่วงต้นๆ ไม่ใคร่จะถูกโฉลกกับตัวเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดสักเท่าไร อย่างตอนต้นเรื่องนี่เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดดูเป็นเพลย์บอยเหลือเกิน ยิ่งฉากที่เขากอดผู้หญิงซ้ายขวาและผลัดกันหอมนี่ผมนึกถึงหนังจีนขึ้นมาเลย ที่จะมีฉากพวกคุณชายเจ้าสำราญไปเที่ยวหอคณิกาแล้วก็โอบสาวๆ ซ้ายขวาก่อนจะหอมสลับกันไปซ้ายทีขวาที นี่ถ้ามีมือยื่นมาป้อนจอกเหล้าแล้วมีเสียงหัวเราะ “วะฮะฮะฮะ” นี่ใช่เลยครับ หรือเหตุผลในการที่เอ็ดเวิร์ดไปอเมริกาหนังก็สื่อไปในทางที่ว่าเขาไปก็เพราะสาวๆ เรียกว่ากะไปสำมะเลเทเมาเป็นหลัก และขณะเดียวกันภาพลักษณ์ของโรงเรียนที่เอ็ดเวิร์ดไปก็ดูสำมะเลาเทเมพอกัน ยิ่งบทสนทนาที่เขาพูดกับเพจตรงบาร์เหล้าแล้วยิ่งสื่อชัดว่าเขามาเพื่อหลีเป็นหลัก
จริงๆ ก็พอเข้าใจน่ะครับ ช่วงต้นพยายามสื่อว่าพระเอกเป็นเพลย์บอยไม่ค่อยมีความรับผิดชอบ แล้วก็ให้เจอกับนางเอกที่มีความหนักแน่น ขยันหมั่นเพียร แล้วในที่สุดเธอก็เปลี่ยนให้เขากลายเป็นคนใหม่ที่ดีกว่าเดิม มีความรับผิดชอบมากขึ้น เป็นสุภาพชนมากขึ้น ก็พอเข้าใจน่ะ ขณะเดียวกันหนังก็พยายามสื่อว่าจริงๆ เอ็ดเวิร์ดเป็นคนมีของ มีดีในตัว อย่างฉากอ่านหนังสือแล้วตีความงานของเชคสเปียร์เป็นต้น ฉากนี้บ่งบอกว่าเอ็ดเวิร์ดตีความความลึกซึ้งได้มากกว่าเพจเสียอีก ถึงจุดนี้ผมก็พยายามมองน่ะครับว่าเอ็ดเวิร์ดมีดี เพียงแต่สิ่งแวดล้อมที่ผ่านมามันพาเขาไปในทางเพลย์บอยเสียเยอะ พอเจอเพจมาดึงสติเขาก็เลยเปลี่ยนไปในแง่ดี แล้วก็ดึงเอาอะไรดีๆ ในตัวเขาออกมาด้วย
จะว่าไปผมก็ชอบประเด็นนี้น่ะครับ ประเด็นที่ว่าการมีความรักมันส่งผลต่อคู่รักคู่นั้นๆ เสมอ The Prince & Me บางคู่รักกันแล้วดี รักกันแล้วเกื้อกูลหนุนนำให้ชีวิตทั้งคู่เป็นไปในทางที่ดีขึ้น พัฒนาขึ้น อัพเกรดขึ้น เรียกว่ารักกันแล้วเจริญก้าวหน้า แต่คู่ที่รักกันแล้วพากันไปเสีย พากันไปเข้ารกเข้าพงนี่ก็มีเหมือนกัน ดังนั้นยามเรามีรักก็ควรตรวจสอบความรักของคู่เราสักหน่อยครับ ว่าเมื่อรักกันแล้ว เมื่อมีแฟนแล้ว มันนำพาเราไปในทิศทางไหน หากดีก็ดีไป แล้วก็ช่วยกันทำให้มันดียิ่งๆ ขึ้นไปก็จะดี – แต่หากรักแล้วหลงระเริง หลงผิดคิดพลาด ยิ่งรักกลับยิ่งทำให้ชีวิตดิ่งลงสู่ที่ต่ำ ทั้งสองฝ่ายก็ควรช่วยกันดึงสติ ช่วยกันผลัดดึงมืออีกฝ่ายให้พ้นจากบ่อปลักบ่อโคลน รักแล้วควรให้งอกงาม ไม่ใช่หงิกงอเงอะงะ
และจริงๆ ไม่ใช่แค่คนรักเท่านั้นที่มีผลต่อชีวิตเราครับ แต่ยังรวมถึงสังคมคนแวดล้อมรอบตัวเราด้วย เราอยู่กับคนหมู่ไหนก็จะมีแนวโน้มที่เราจะเป็นเหมือนคนหมู่นั้น มีชีวิตเหมือนคนหมู่นั้น – การเลือกคบคนจึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญ ที่ส่งผลดีแย่แก่ชีวิตเราได้เหมือนกัน นอกจากนี้คนเราต้องรู้จักมีความรับผิดชอบ ต้องรู้จักบริหารจัดการชีวิตตน และหมั่นอัพเกรดตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นเจ้าชายหรือเจ้าหญิงครับ เราจะเป็นใครก็ตามก็ต้องรับผิดชอบชีวิตตนทั้งสิ้น – เราในวันนี้สามารถดีกว่าเมื่อวานได้ หากเราตั้งใจมากพอล่ะก็
ครับ ประเด็นน่ะเข้าท่า แต่การนำเสนอร้อยเรียงเรื่องราวนั้นยังไม่เข้าที่ อีกอย่างคือยอมรับว่าแอบขัดๆในบางช่วงเหมือนกัน สิ่งหนึ่งเลยที่รู้สึกคือตัวละครในบางฉากดูขัดกับบางฉาก ไม่ได้ดูต่อเนื่องเป็นตัวเดียวกัน อย่างฉากที่เอ็ดเวิร์ดเป็นเพลย์บอย จ้องแต่ความสวยของสาวๆ บวกด้วยการเอาแต่อารมณ์พร้อมจะระเบิดความรู้สึกออกมา ฉากนั้นก็ดูเอ็ดเวิร์ดเป็นแบบนั้นจริงๆ ไม่มีเค้าความเป็นคนที่มีความคิดเจืออยู่เลย ครั้นพอถึงฉากที่เอ็ดเวิร์ดดูมีความคิด เขาก็ดูมีความคิดเด่นชัด ดูเป็นอีกคน เสมือนหนึ่งว่าช่วงที่เป็นเพลย์บอยไม่เคยเกิดขึ้น – อันนี้โดยส่วนตัวมองว่าเป็นในเรื่องการแสดงของ Mably ที่อาจยังตีไม่แตกกับคาแรคเตอร์ของเอ็ดเวิร์ด
ที่มองแบบนั้นก็เพราะเรื่องแบบนั้นไม่เกิดกับ Stiles ครับ เธอดูเป็นคนแบบไหนก็เป็นแบบนั้น เวลาเธอจะมีความเปลี่ยนแปลงเราก็จะสัมผัสได้ถึงห้วงอารมณ์บางอย่างนำร่องมาก่อนที่ความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้น ไม่ว่าตอนที่จู่ๆ เธอก็อยากพาเอ็ดเวิร์ดไปจู๋จี๋ในมุมลับของห้องสมุด หรือตอนท้ายที่เธอตัดสินใจจะก้าวออกมาจากชีวิตเอ็ดเวิร์ด มันดูมีการแลนดิ้งทางอารมณ์ นำทางให้คนดูรู้สึกว่าเธอกำลังคิดอะไร และมันจะนำไปสู่อะไร
แต่กระนั้นตอนท้ายหนังก็สรุปจบไวเหมือนกันครับ เหมือนจะรีบจบก็เลยรีบสรุปให้มันจบลงดื้อๆ ง่ายๆ แบบนั้นเลย อันนี้ก็อาจต้องมอบความรับผิดชอบให้ทีมเขียนบท+ดัดแปลงบทอย่าง Mark Amin, Katherine Fugate, Jack Amiel และ Michael Begler ที่ยังเกลาบทได้ไม่เนียนในบางจังหวะ ในขณะที่ผู้กำกับ Martha Coolidge จะว่าไปก็คุมงานแต่ละฉากได้ไม่เลว เพียงแต่ความกลมกล่อมยังไม่เต็มที่ ซึ่งก็มาจากบทในแต่ละช่วงที่บางช่วงก็โทนหนึ่ง บางซีนก็อีกโทนหรือไปอีกเรื่องหนึ่ง – แต่ซีนไหนที่ดีก็คือดีจนสัมผัสได้ครับ อย่างซีนสาวๆ รวมพลังบัตรเครดิตเพื่อช่วยเพจน่ะครับ The Prince & Me ฉากนี้มาสั้นๆ แต่น่ารักได้ใจ
สำหรับดาราในเรื่องนั้น รู้สึกเหมือน Stiles เป็นเดอะแบกอยู่เหมือนกันครับ ยังดีที่ช่วงหลังๆ Mably พอจะช่วยแบ่งการแบกไปได้บ้าง แต่รายที่ถือว่าขโมยซีนได้พอตัวคือ Ben Miller ในบทซอเรน ผู้คอยเคียงข้างเจ้าชายเสมอ อีกคนที่ถือว่าเด่นไม่น้อยคือ Miranda Richardson ในบทราชินีโรซาลินด์ ที่เด่นไม่น้อยในตอนหลัง แต่เสียดายครับที่จู่ๆ บทจะหายก็หายไปเลย ทั้งๆ ที่ตัวละครนี้น่าจะมีผลให้เนื้อเรื่องเข้มข้นขึ้นแท้ๆ
ดารารายอื่นถือว่ากลางๆ ครับ แต่มีอยู่ 2 คนที่ดูแล้วรู้สึกคุ้นหน้า พอดูไปสักพักก็ร้องอ๋อ รายแรกคือ Devin Ratray ที่มาเป็นสก็อตตี้ เพื่อนร่วมห้องของเจ้าชาย รายนี้เคยเป็นบัซ พี่ของเควินใน Home Alone 2 ภาคแรกน่ะครับ แล้วอีกคนก็ Zachary Knighton ที่แสดงเป็นหนึ่งใน 2 พี่ชายของเพจ รายนี้ในเวลาต่อมาก็มาแสดงเป็นริคในซีรี่ส์ Magnum P.I. ครับ โดยรวมแล้วผมว่าหนังโอเคเพราะการแสดงของ Stiles ครับ นอกนั้นก็เรื่อยๆ แต่ก็จัดว่าดูได้สำหรับหนังสไตล์นี้
มีภาพยนตร์โรแมนติกกี่เรื่องที่คู่หลักไม่ได้จูบกันครั้งแรกจนกระทั่งเริ่มเรื่องได้หนึ่งชั่วโมง “The Prince & Me” เป็นตัวอย่างที่หายากของภาพยนตร์ประเภทนี้ และฉันชื่นชมการพัฒนาความสัมพันธ์หลักอย่างรอบคอบ ซึ่งแสดงโดยจูเลีย สไตลส์และลุค แมบลีที่น่ารัก เหนือสิ่งอื่นใด ฉันชื่นชมการเน้นที่การเกี้ยวพาราสี ซึ่งเป็นแนวคิดที่อาจถือได้ว่ากำลังจะสูญพันธุ์ในวัฒนธรรมของเราในปัจจุบัน จริงๆ แล้ว ฉันจำไม่ได้เลยว่ามีภาพยนตร์เรื่องใดที่เน้นเรื่องเซ็กส์น้อยมากและมีฉากที่พัฒนาอย่างรอบคอบมากมาย ซึ่งเราเห็นเคมีทางอารมณ์ที่ก่อตัวขึ้นระหว่างตัวละครหลัก เพจ มอร์แกน นักเรียนเตรียมแพทย์สาวในวิสคอนซิน และเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งเดนมาร์กที่เรียกตัวเองว่าเอ็ดดี้
“The Prince & Me” นำเสนอเรื่องราวความรักแบบฮอลลีวูดในสมัยก่อน จริงๆ แล้ว ฉันนึกถึงภาพยนตร์ที่ยอดเยี่ยมเรื่อง “The Swan” ที่มีเกรซ เคลลีผู้เปล่งประกาย อเล็ก กินเนสผู้เคร่งขรึม และหลุยส์ จอร์แดนผู้หล่อเหลาอยู่ตลอดเวลา แม้ว่า The Prince & Me อาจไม่คู่ควรกับสถานะความโรแมนติกแบบคลาสสิกอย่าง “The Swan” แต่ก็ถือเป็นหนังที่ให้ความรู้สึกสดชื่นท่ามกลางหนังที่เสียดสีสังคมมากมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในปัจจุบัน จังหวะของหนังและฉากโคลสอัพที่กำกับโดยมาร์ธา คูลิดจ์ทำได้ดีทีเดียว ฉากที่ถ่ายทำในเดนมาร์กก็ยอดเยี่ยมมากและเพิ่มบรรยากาศของความมหัศจรรย์ให้กับความสัมพันธ์รักหลัก
ตามชีวประวัติของเธอใน IMDb จูเลีย สไตลส์เป็นนักศึกษาเอกภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียและยังมีอาชีพการแสดงที่น่าประทับใจอีกด้วย ฉากใน “The Prince & Me” ที่ถ่ายทำที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมืองแมนิโทวาคนั้นถ่ายทอดชีวิตในมหาวิทยาลัยได้อย่างน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะช่วงติวหนังสือเรื่องเชกสเปียร์ ความสมจริงในกิจกรรมประจำวันในมหาวิทยาลัยช่วยทำให้เรื่องราวโดยรวมดูน่าเชื่อถือและกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกว่าความสัมพันธ์แบบของเพจและเอ็ดดี้นั้นอาจมีอยู่จริง
มีแนวโน้มว่าจะถูกวิจารณ์ว่าเดาทางได้หมด พบกับ Paige นักเรียนเตรียมแพทย์ที่ใฝ่ฝันอยากจะไปทั่วโลกกับองค์กรแพทย์ไร้พรมแดน พบกับ Edvard มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์กที่อยากไปอเมริกา โดยเฉพาะวิสคอนซิน เพราะเขาดูวิดีโอ “Girls of Wisconsin” หนึ่งคลิป เขาสมัครเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่โรงเรียนของ Paige ชื่อ “Eddie” เขาปลอมตัวเพราะอยากหลีกเลี่ยงปาปารัสซี่ คุณคิดว่าเขาจะเข้ากับ Paige ได้ไหมในตอนแรก คิดว่าพวกเขาจะตกหลุมรักกันไหม คิดว่านิยายรักโรแมนติกจะไม่บาน ถ้าคุณสงสัยในข้อนี้ แสดงว่าคุณ A) ใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก B) ไม่เคยดูหนังรักโรแมนติกในชีวิตเลย ” The Prince & Me ซึ่งแฟนสาวลากฉันไปดูนั้น *เดาทางได้* ขนาดนั้น แทบไม่มีการพลิกผันของเนื้อเรื่องเลย ทุกอย่างเกิดขึ้นตามหนังสือ หญิงสาวพบกับเจ้าชายในคราบปลอมตัว หญิงสาวตกหลุมรักเจ้าชาย เจ้าชายเปิดเผยตัวตน หญิงสาวโกรธ หญิงสาวรู้ตัวว่าเธอรักเจ้าชาย จึงออกเดินทางไปยังเนเวอร์แลนด์เพื่อแต่งงานกับเจ้าชาย เป็นต้น
แต่ฉันคิดว่าถ้าฉันสามารถตื่นอยู่ได้ตลอดภาพยนตร์เรื่องนี้ (และฉันก็ทำได้) มันต้องมีข้อดีอยู่บ้าง และมันก็มีจริงๆ ราชวงศ์ “เดนมาร์ก” ในภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการล้อเลียนราชวงศ์อังกฤษอย่างแอบแฝง ราชินีชราผู้ไม่เต็มใจให้ญาติของเธอแต่งงานกับคนธรรมดา เจ้าชายเพลย์บอย…คุณคงเข้าใจแล้ว ส่วนนี้ของภาพยนตร์ทำให้การดำเนินเรื่องดูสมจริงขึ้น ฉันค่อนข้างชอบตรงนั้น ฉันเคยเห็นการแสดงของราชวงศ์ในภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ที่ฉันถูกบังคับให้ดู (เช่น King Ralph, Princess Diaries) และภาพยนตร์เหล่านั้นก็ไม่สามารถจะผิดพลาดไปกว่านี้อีกแล้ว
ดูหนังออนไลน์ ภาพยนตร์ที่คล้ายกัน
Uranus 2324 (2024) ยูเรนัส 2324
Kadha Innuvare (2024) เรื่องรัก ของวันนี้