KUBHD ดูหนังออนไลน์ The Greatest Showman (2018) โชว์แมน บันลือโลก
เรื่องย่อ
The Greatest Showman (2018) โชว์แมน บันลือโลก ย้อนกลับไปยังสมัยเด็กของ พี.ที. บาร์นัม ผู้ข้นแค้นที่เริ่มต้นจากศูนย์ จนกระทั่งเป็นเจ้าของธุรกิจคณะละครสัตว์ที่มหานครนิวยอร์ก นำแสดงโดย ฮิวจ์ แจ็คแมน ในบทของบาร์นัม ร่วมด้วย แซค เอฟรอน ในบทของ ฟิลลิป ผู้เป็นหุ้นส่วนธุรกิจของบาร์นัม และได้มาชอบกับ เซนดาย่า นักแสดงกายกรรมสาวสวย
ผู้กำกับ
Michael Gracey
บริษัท ค่ายหนัง
- Laurence Mark Productions
- Chernin Entertainment
- TSG Entertainment
นักแสดง
- Hugh Jackman
- Zac Efron
- Michelle Williams
- Rebecca Ferguson
- Zendaya
โปสเตอร์หนัง
รีวิวหนัง
Mal De Pierres
ดูหนัง ออนไลน์ [SR] (Review) The Greatest Showman (2017) – มิวสิคัลบันเทิงดีๆ ที่ถูกอัดออกมาเป็นภาพยนตร์ & เส้นทางฝันที่ต้องไขว้คว้า
เมื่อปีที่แล้วก็มีหนังมิวสิคัลชั้นเยี่ยมอย่าง La La Land (2016) ส่งท้ายปี ในปีนี้ก็เช่นกัน The Greatest Showman (2017) ถูกส่งมาภายใต้บรรยากาศอบอุ่น ฉลองคริสต์มาสต์ พร้อมกับฉลองปีใหม่ ถือเป็นหนังบันเทิงท้ายปีที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง ในส่วนดีกรีรางวัล ตอนนี้ก็เข้าชิงลูกโลกทองคำไปแล้ว 3 สาขา – ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (คอมเมดี้-มิวสิคัล) , นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (สาขาคอมเมดี้-มิวสิคัล) : Huge Jackman , เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม : This Is Me
The Greatest Showman (2018) โชว์แมน บันลือโลก ได้รับการกำกับโดย Michael Gracey โดยอ้างอิงเรื่องราวมาจากชีวิตของ P. T. Barnum (1810 – 1891) เจ้าของคณะละครโชว์สุดยิ่งใหญ่ หนังเล่าเรื่องราววัยเด็กสุดลำบากของบาร์นัม จนได้ก้าวมาถึงจุดสูงสุดของชีวิต
ในหนังมีหลากหลายประเด็นให้เราได้ติดตาม ไม่ว่าจะเป็นชีวิตของนายบาร์นัมจากจุดต่ำสุดของชีวิต สู่จุดสูงสุดของชีวิต ความฝัน ความรัก ความหลง และเรื่องครอบครัว อีกประเด็นหลักที่หนังต้องการนำเสนอ ประเด็นเรื่องความความเท่าเทียมในยุคที่คนเชื้อชาติอื่นและคนที่แตกต่างจากอื่นถูกดูถูก ก็ถูกนำเสนอออกมาได้เข้าใจง่าย ชัดเจน สอดคล้องกับปัจจุบันที่มีการรณรงค์เรื่องสิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียมของคนทุกเชื้อชาติ
แต่หนังก็ไม่ได้เน้นแตะประเด็นเหล่านี้ลึกชนิดที่สามารถกำหัวใจเราได้อยู่หมัด เป็นเพียงการแตะคร่าวๆเพื่อสร้างประเด็นในการขับเคลื่อนเรื่องราว
เทคนิคการนำเสนอ & โปรดักชันสุดอลังการ
จุดที่น่าประทับใจจริงๆใน The Greatest Showman ก็คือ เรื่องเทคนิคในการนำเสนอของหนัง แม้ว่าจะเป็นหนังที่เรื่องราวเกิดขึ้นในอดีต แต่ใช้รูปแบบการนำเสนอแบบปัจจุบันมานำเสนอ ออกแนวร่วมสมัย และได้นำความเป็นมิวสิคัลของละครเวทีมาถ่ายทอดในรูปแบบภาพยนตร์ได้ดี กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ (แต่ก็ดูจะไวพอสมควร)
มุมกล้อง การตัดสลับฉากไปมาอย่างสวยงามที่อาจจะดูโอเวอร์ไปถ้าเป็นหนังปกติ แต่พอนำเสนอในรูปแบบมิวสิคัลเต็มตัว ก็ทำได้สวยงาม หลายช็อตดูสร้างสรรค์ การออกแบบท่าเต้น (Contemporary dance) และจังหวะอารมณ์หนังที่เข้ากับเพลงก็ทำให้รู้สึกสนุก เพลิดเพลิน สร้างสรรค์ รวมทั้งโปรดักชันหนังก็ดีในการดีไซน์สถานที่ต่างๆ คอสตูมนักแสดงจัดเต็ม
เพลงประกอบภาพยนตร์ – อัดแน่นและใส่เข้ามาอย่างจุใจ
อีกไฮไลต์สำคัญของ The Greatest Showman คือ “เพลงประกอบหนัง” ใส่มาจัดเต็มมาก มีเยอะจนไม่หวาดไม่ไหว แถมยังเพราะทุกเพลง โดยใน The Greatest Showman จะเน้นใช้เพลงดำเนินเรื่องเป็นหลัก (แม้แต่ซีนสำคัญก็ใช้เพลงเล่าเรื่อง)
ส่วนแนวดนตรีและเพลงใน The Greatest Showman ก็มาในรูปแบบดนตรีร่วมสมัย (ผมไม่มั่นใจว่าเรียกว่าแนวอะไร แต่ฟังดูเหมือนออกทาง Pop rock)
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
The Greatest Show (from The Greatest Showman Soundtrack)
เพลงที่โดดเด่นมีหลายเพลง ติดหูมาก เช่น Never Enough , The Greatest Showman หรืออีกเพลงอย่าง A Million Dreams ที่มีการนำธีมทำนองนี้มาใช้ในเรื่องเยอะอยู่เหมือนกัน โดยสื่อถึงประเด็นเรื่องความฝัน (นำเสนอภาพการเดินทางไล่ตามความฝัน)
” ‘Cause every night I lie in bed
The brightest colors fill my head
A million dreams are keeping me awake… ”
– A Million Dreams
A Million Dreams (from The Greatest Showman Soundtrack)
ส่วนเพลงที่โดดเด่นที่สุดก็คือ เพลง This Is Me เพลงหลักของหนัง นำเสนอภาพในเรื่องความเท่าเทียม อันเป็นแก่นหลักๆหนังที่อยากจะสื่อ (This Is Me ยังเข้าชิงลูกโลกทองคำปีนี้ด้วย)
” When the sharpest words wanna cut me down
I’m gonna send a flood, gonna drown them out
I am brave, I am bruised
I am who I’m meant to be, this is me… ”
– This Is Me
This Is Me (from The Greatest Showman Soundtrack)
เนื้อเพลงเพราะๆ ความหมายดีๆที่เราได้ฟัง ได้รับการประพันธ์โดย ฺBenj Pasek & Justin Paul สองคู่หูนักเขียนเพลงมือทองที่เคยคว้าออสการ์เพลงประกอบยอดเยี่ยมจาก La La Land (2016) มาแล้ว (เช่น City of Stars , The Fools Who Dream) มาช่วยในการเขียนในเพลงให้กับ The Greatest Showman อีกด้วย
Playlist เผื่ออยากฟังทั้งอัลบั้มนะครับ
The Greatest Showman (Original Motion Picture Soundtrack)
ภาพรวมหนัง
The Greatest Showman ถือเป็นหนังที่ทำง่าย ดูง่าย เข้าใจง่าย แม้แต่เพลงก็เข้าใจง่ายแบบไม่ต้องตีความอะไร เนื้อเรื่องก็ตามสูตรเลย ตรงๆ ทื่อๆ ชนิดที่เราพอจะได้ทางหนังได้อยู่ละ (แต่ก็ยังทำได้น่าประทับใจนะ) ตัวหนังกระชับฉับไว ไม่น่าเบื่อ เรื่องลื่นไหลไปอย่างรวดเร็ว (ในจุดนี้ก็อาจเป็นข้อเสียเหมือนกัน)
ในส่วนนักแสดง แสดงได้ดีทุกคน ไม่ว่าจะนักแสดงหลัก เช่น Hugh Jackman (นายบาร์นัม) หรือ Michelle William (ภรรยาของบาร์นัม)
บทรอง เช่น Zac Efron (Phillip Carlyle – หุ้นส่วนนายบาร์นัม) , Zendaya (นักแสดงสาวในคณะละคร) , Rebecca Ferguson (Jenny Lind – นักร้องสาวที่ได้มาร่วมงานกับบาร์นัม) รวมไปถึงผู้รับบทเป็นนักแสดงประกอบอย่างบทคนแคระ หรือสตรีอ้วนมีเครา ก็แสดงออกมาได้สมบทบาท น่าประทับใจ
ข้อเสีย
ในส่วนของข้อเสีย อาจจะดูดร็อบไปหน่อยตรงเนื้อเรื่องที่พอเดาทางง่ายและค่อนข้างตรงๆ ทื่อๆ
จุดที่เสียดายอย่างนึงคือ ผมรู้สึกว่า หนังไม่มีช่วงให้ได้ดื่มด้ำกับอารมณ์สักเท่าไร เพราะการดำเนินเรื่องของหนังเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก พร้อมกับประเด็นต่างๆมากมาย จึงอาจจะไม่มีช่วงเวลาหยุดพักให้อินกับอารมณ์มากนัก (หนังมันจะลื่นไหลไปอย่างรวดเร็วจนจบเลยแหละ) อันนี้คือมองในแง่ภาพยนตร์นะ หรือด้วยความที่หนังนำเสนอออกมาเหมือนละครโชว์ มิติตัวละคร ปมเรื่องต่างๆก็จะไม่ได้สมบูรณ์แบบหนังภาพยนตร์ทั่วไปมากนัก
ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะหนังค่อนข้างดึงคาแรคเตอร์แบบละครเวทีมาเยอะ ปกติละครเวทีอย่างต่ำก็ 3 ชม. แต่ทีนี้พอนำมาทำเป็นหนังแค่ 1 ชม. 45 นาที จึงไม่มีเวลาให้พิรี้พิไรและอธิบายพรรณนามากมายอย่างเช่นที่ทำได้ในละครเวที เนื้อเรื่องต่างๆผ่านไปอย่างรวดเร็ว จุดพีคสำคัญของเรื่องทั้งหลายก็บอกเล่าผ่านเพลงเป็นหลัก ทำให้อารมณ์ก็ไหลตามไปอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับเพลง (แต่ถ้าใครคุ้นเคยกับละครเวทีมา ก็อาจจะประทับใจตรงนี้ก็ได้นะ)
ในแง่ประวัติศาสตร์ เนื่องจากหนังยืมพื้นเรื่องจากชีวประวัติของบุคคลที่มีอยู่จริง แต่คงไม่ได้อ้างอิงขนาดตรงตามประวัติศาสตร์เป๊ะๆ และในยุคนั้น ผมว่านายบาร์นัม ก็คงไม่ได้มองคนประหลาดอย่างเท่าเทียมแบบในหนังมากนัก (เผลอๆอาจจะเป็นดูนายทุนจอมโลภที่โลภมากกว่าด้วย)
สรุป
The Greatest Showman (2017) เหมือนการเอาละครเวทีดีๆเรื่องหนึ่งมาอัดเป็นหนังให้จบภายในเวลา 2 ชม. เป็นละครเวทีจริงๆที่มีเพลงเป็นแก่นในการเล่าเรื่อง มีเรื่องราวที่ค่อนข้างแฟนตาซี จินตนาการชวนฝัน แต่ก็ทำได้สนุก อลังการ เหมาะสำหรับทุกคนดู
ส่วนตัวผมก็ประทับใจนะ มันอาจจะไม่ใช่หนังรางวัลอย่าง La La Land (2016) ที่มีเนื้อเรื่องและชั้นเชิงในการเล่าเรื่องสูง และไม่ได้ทำดีที่สุดอย่างหนังมิวสิคัลเรื่องอื่นๆ แต่ก็เป็นหนังที่ทำได้บันเทิงสนุกสนาน มีความเป็นมิวสิคัลเต็มรูปแบบ เนื้อเรื่องง่าย เข้าใจง่าย เพลงเพราะ มีข้อคิด โปรดักชันดี แม้จะเป็นหนังบล็อคบัสเตอร์ที่ทรงเนื้อเรื่องตามสูตร แต่ก็ทำได้น่าประทับใจ
ดังนั้นหนังก็อาจจะไม่ได้เหมาะกับคนที่ต้องการความลึกในภาพยนตร์ ชั้นเชิงความแปลกใหม่ หรือเนื้อเรื่องชนิดชั้นเยี่ยม แต่เหมาะกับคนที่อยากจะดูมิวสิคัลเพลงเพราะๆ โชว์บันเทิงดีๆ สุดอลังการในฉบับสำหรับดูในโรงหนัง สมกับชื่อเรื่องที่ว่า ” The Greatest Showman ” ถือว่าไม่ควรพลาด คุ้มค่าตั๋วแน่นอน (รอบที่ผมดูตอนจบนี่ปรบมือกันเลย)
ย้ำอีกรอบว่าเน้นปล่อยอารมณ์ไปตามเพลง ไม่เหมาะให้คิดมาก เพราะหนังเน้นบันเทิง ไม่ใช่สายหนังรางวัลที่เนี้ยบและมีเรื่องให้ขบคิดมากนัก และที่สำคัญผมว่าเป็นหนังที่เหมาะจะดูในโรงมากกว่าที่อื่นๆ เนื่องจากหนังค่อนข้างออกแนวมิวสิคัลจ๋า การดูในโรงจะทำให้เราดื่มด่ำกับบรรยากาศได้ดีกว่า โดยเฉพาะถ้าได้ดูผ่านจอใหญ่ๆ ระบบเสียงดีๆ
8.2/10
รีวิวตามใจหมี
The Greatest Showman (3.75/5)
ครึ่งแรกทรงพลัง ทุกฉาก ทุกเพลงทำจุก น้ำตาซึมตลอด Hugh Jackman ยังคงมาตรฐานการแสดงไว้สูง (ทางถนัด) ทีมตัวประกอบกระจายบทได้ดี มีซีนโชว์ของตัวเองและไม่แย่งซีนตัวหลัก กราบทีมออกแบบโชว์ต่างๆ และทีมแต่งเพลง ดูจบออกมาฟังเพลงวนได้ทั้งวัน เพราะทุกเพลงจริงๆ ความหมายดี ติดหู และโดนใจ
หนังใหญ่เรื่องแรกของ ผกก. Michael Gracey ที่ผันตัวมาจากสาย VFX เลยอาจจะอ่อนเรื่องจังหวะการเล่าเรื่องไปนิด รีบเร่งติดจรวจไปหน่อย และครึ่งหลังอ่อนแรงและยืดเยื้อมากเกินไป แต่โดยรวมทำได้ดีเกินคาดไปมาก เมื่อวัดจากความบันเทิงที่ได้ ชอบ!
ภาพยนตร์ที่คล้ายกัน
Jazz Fest A New Orleans Story (2022) เรื่องเล่าของนิวออร์ลีนส์
Bob Marley One Love (2024) บ็อบ มาร์เลย์ วัน เลิฟ
7.1