The ABCs of Death (2012)
เรื่องย่อ The ABCs of Death (2012)
The ABCs of Death (2012) ABC’s OF DEATH เป็นภาพยนตร์กวีนิพนธ์ที่มีความทะเยอทะยาน นำเสนอส่วนที่กำกับโดยผู้มีความสามารถชั้นนำของโลกมากกว่าสองโหลในภาพยนตร์แนวร่วมสมัย แรงบันดาลใจจากหนังสือ ABC เพื่อการศึกษาสำหรับเด็ก ภาพยนตร์เรื่องนี้ประกอบด้วยบทละ 26 ตอน ซึ่งแต่ละบทนำโดยผู้กำกับคนละคนกันมอบหมายตัวอักษรให้ ผู้กำกับได้รับอิสระในการเลือกคำเพื่อสร้างเรื่องราวเกี่ยวกับความตาย ยั่วยุ ตกตะลึง ตลก และเป็นการเผชิญหน้ากันในที่สุด THE ABC’s OF DEATH เป็นภาพรวมที่ชัดเจนของความหลากหลายของสยองขวัญสมัยใหม่ Drafthouse Films, Magnet Pictures และ Timpson Films มีความภูมิใจที่จะนำเสนอคลังแสงแห่งการทำลายล้างตามตัวอักษรนี้ ซึ่งจัดโดย Fangoria เรียกว่า “การเรียกชื่อที่น่าตื่นเต้นที่สุดบางส่วนในเรื่องสยองขวัญทั่วโลก”
The ABCs of Death เป็นภาพยนตร์กวีนิพนธ์สยองขวัญแนวตลกอเมริกันปี 2012 ที่ผลิตโดยผู้ผลิตระดับนานาชาติและกำกับโดยผู้สร้างภาพยนตร์จากทั่วโลก ภาพยนตร์เรื่องนี้ประกอบด้วยเรื่องสั้น 26 เรื่อง โดยแต่ละเรื่องเขียนโดยผู้กำกับที่แตกต่างกันจาก 15 ประเทศ รวมถึง Nacho Vigalondo, Kaare Andrews, Adam Wingard, Simon Barrett, Banjong Pisanthanakun, Ben Wheatley, Lee Hardcastle, Noboru Iguchi, Ti West และ Angela Bettis
The ABCs of Death เปิดตัวครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตรอนโตในปี 2555 ในปี 2556 เข้าฉายในวันที่ VOD วันที่ 31 มกราคม และในโรงภาพยนตร์วันที่ 8 มีนาคม เครดิตตอนจบของภาพยนตร์เรื่องนี้มีเพลง “Horror Movie” ของวงดนตรี Skyhooks จากออสเตรเลียในปี 1974 ความสำเร็จทางการเงินของภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เปิดตัวซีรีส์ภาพยนตร์ที่มีบรรดาศักดิ์หลังจากนั้น รวมถึงภาพยนตร์ภาคต่อในปี 2014 และภาพยนตร์ภาคแยกในปี 2559 ดูหนังออนไลน์
ผู้กำกับ The ABCs of Death
เซิร์ดแจน สปาโซเยวิช
เฮเลน กัตเตต
แองเจล่า เบตติส
ติ เวสต์
บริษัท ค่ายหนัง
Drafthouse Films
Timpson Films
นักแสดง
อดัม วิงการ์ด
ลี ฮาร์ดคาสเซิล
ไซมอน บาร์เร็ตต์
โปสเตอร์หนัง
รีวิวหนัง
เป็นโปรเจคหนังสั้นจำนวน 26 เรื่อง ที่มีทุนสร้างเรื่องละไม่เกิน 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ จากผู้กำกับ 26 คน จากหลายสัญชาติ ที่ทำหนังโดยใช้ชื่อเรื่องเรียงตามอักษรโรมันจำนวน 26 ตัว แล้วนำทั้ง 26 เรื่องมารวมอยู่ในหนังเรื่องเดียว ดังนั้นผู้ชมจะได้ชมหนังสั้นมาก ๆ รวมกันราว 2 ชั่วโมง บางเรื่องโดน บางเรื่องไม่โดนบางเรื่องสยองขวัญ บางเรื่องหวาดเสียวระดับ 18+ บางเรื่อง ไม่ได้เล่าเรื่องแค่หนังสยองขวัญ คละเคล้ากันไป ซึ่งการมีเรื่องย่อยในเรื่องใหญ่แบบนี้เราอาจจะคุ้นชินมาบ้างเช่น “ผีสามบาท” “สี่แพร่ง” “ห้าแพร่ง” “อารมณ์ อาถรรพ์ อาฆาต” เป็นต้น
A = Apocalypse ชายหนุ่มวัยกลางคนนอนอยู่บนเตียงชมโทรทัศน์ อยู่ดีๆหญิงคนหนึ่งก็เดินเข้ามาพร้อมมีด ท่าชายหนุ่มผู้นั้น เรื่องนี้เราแทบไม่รู้อะไรเลย ได้ยินแต่เสียงบรรยากาศโดยรอบเช่น รถชนกันบ้างเสียงดังโครมครามบ้าง แล้วผู้หญิงคนนี้มาจะมาฆ่าชายวัยกลางคนนี้ทำไม ต้องติดตามชมเองครับ ใช้เทคนิคการถ่ายทำแบบ long Take คะแนน 6.5/10
B =Bigfoot ในห้องนอนแห่งหนึ่ง ชายหนุ่มกับหญิงสาวรีบกล่อมเด็กให้นอนโดยอ้างตำนานของ “ไอ้ตีนโต” หรือ Bigfoot เพื่อให้เด็กกลัว แล้วทั้งสองก็ไปปฏิบัติการกิจกันเมื่อเสร็จก็เกิดเรื่องสยองขวัญขึ้นในห้องนี้ คะแนน 6/10
C = Cycle หญิงสาวคู่หนึ่งนอนอยู่ในห้องหญิงสาวได้ยินเสียงแปลกประหลาดจึงให้ผู้ชายออกไปดู คืนนั้นผ่านไป ตื่นเช้ามาชายหนุ่มไม่เห็นหญิงสาวจึงออกเดินไปหานอกบ้านแต่แล้วเขาก็จะกลับเห็นบางสิ่งบางอย่าง ที่เขาอธิบายไม่ได้ เรื่องนี้นับว่าเป็นการเล่าเรื่องที่น่าสนใจ 8/10
D = Dog Fight เรื่องของนักสู้ใต้ดินที่ต้องมาสู้กับสุนัขตัวหนึ่ง เรื่องนี้ค่อนข้างดิบเถื่อน ทั้งทางด้านภาพและด้านอารมณ์ อีกทั้งยังสื่อความหมายในเชิงสัญลักษณ์สะท้อนสังคมอีกด้วย 9/10
E = Exterminate ชายคนหนึ่งถูงเเมงมุมในห้องของเขากัด เขาก็ไม่สามารถฆ่าแมงมุมตัวนี้ได้ จนหลายวันเกิดเปลี่ยนแปลงขึ้นกับเขา หนังเรื่องนี้ล้อเลียนขนบหนังซุปเปอร์ฮีโร่ Spider-Man ต่างกันตรงที่เขาไม่สามารถอยู่ร่วมกับ “แมงมุม” ได้ 5/10
F = Fart นักเรียนญี่ปุ่นคนหนึ่งที่ไม่เชื่อว่าเทพเจ้ามีจริง เธอจึงไม่เกรงกลัวที่จะต้องกระทำอะไรที่ไม่ควร เธอเชื่อว่าไม่พระเจ้าเห็น เธอจึงผายลมออกมา เธอชอบครูสาวคนหนึ่งเป็นความชอบแบบใคร่ วันหนึ่งเกิดแผ่นดินไหว มีควันดำออกมาเธอบอกว่านั่นคือการผายลมของเทพเจ้า ทำให้ใครกลายคนตาย ก่อนเธอตายเธอบอกครูสาวว่าอยากได้กลิ่นผายลมของครูสาว จากนั้นจึงเกิดเรื่องพิสดารขึ้น หนังสั้นเรื่องนี้มีนัยยะเชิงปรัชญา มีความพิสดารตามสไตล์หนังญี่ปุ่น 7/10
G = Gravity ชายคนหนึ่งขับรถเดินทาง เพื่อไปเล่นกระดานโต้คลื่นที่ทะเลแห่งหนึ่ง ระหว่างที่ว่ายออกไปเขาเจอบางสิ่งบางอย่างเล่นงาน เรื่องนี้มีดีที่การใช้มุมกล้องแทนสายตานักแสดง 5/10
H = Hydro-Electric Diffusion หมาตัวหนึ่งที่แต่งกายด้วยชุดนักบินสหรัฐอเมริกา ดูโชว์นางแมวเต้นยั่วสวาท แต่หารู้ไม่ว่านางแนวนั้นคือศัตรูตัวร้ายของเขา เรื่องนี้ให้อารมณ์ขันและอารมณ์เสียสี 7/10
I = Ingrown หญิงสาวคนหนึ่งถูกจับมามัดไว้ในห้องน้ำแล้วถูกฉีดบางอย่างเข้าในร่างกาย เธอทรมานทุรนทุราย นับว่าเป็นตอนที่แสดงถึง ความสยองขวัญได้ค่อนข้างดี 8/10
J = Jidai-Geki (Samurai Movie) แสดงถึงการฆ่าตัวตายแบบมีศักดิ์ศรีตามวิถีของซามูไรญี่ปุ่น ซึ่งคนที่อยู่ในวัฒนธรรมนั้นเข้าใจความหมายนี้ดีและมองว่าไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรแต่เนื่องจากเป็นหนังสไตล์ญี่ปุ่น ดังนั้นจึงมีวิธีการเล่าเรื่องที่ไม่ธรรมดาแน่นอน 6/10
K = Klutz animation เล่าเรื่องหญิงสาวคนหนึ่งถ่ายอุจจาระในห้องน้ำในบ้านงานปารตี้แห่งหนึ่งแล้วราดไม่ลง เธอจึงวิธีหาทางจัดการมัน 7/10
L = Libido ชายคนหนึ่งถูกมัดไว้กับเก้าอี้ เขาจะต้องแข่งกับชายคนหนึ่งอีกคน จะมีหญิงสาวออกมาเปลือยกายเต้นยั่ว เขาทั้งสองคนต้องแข่งกัน “ช่วยตัวเอง” ใครเสร็จสมอารมณ์หมายก่อนถึงจะชนะหากใครแพ้จะต้องตาย นับเป็นตอนที่มีแนวคิดที่บ้าระห่ำมากและออกแนว 18+ และมีนัยยะสำคัญเกี่ยวกับเรื่องความใคร่แฝงอยู่ 9/10
M = Miscarriage หญิงสาวคนหนึ่งกำลังจะกดชักโครกบางอย่างให้ลงไปแต่ติดเธอจึงหาอุปกรณ์มาช่วย สิ่งนั้นคืออะไรต้องตีความเอาเองครับ นับเป็นตอนที่สั้นมาก แต่กลับมีอะไรให้เราคิดได้เยอะ 6/10
N = Nuptials เป็นหนังสั้นจากประเทศไทย ชายคนหนึ่งซื้อนกแก้วพูดได้ เพื่อมาเซอร์ไพรส์แฟนในการขอแต่งงาน แต่แล้วก็เกิดความผิดพลาดขึ้น เป็นงานกำกับของโต้ง บรรจง ปิสัญธนะกูล จากสี่แพร่ง (คนกลาง) ห้าแพร่ง(คนกอง) ชัตเตอร์กดติดวิญญาณและ พี่มากพระโขนง เรื่องนี้มีทั้งอารมณ์ขันและมีความสยองขวัญอยู่เล็กๆ พอตเรื่องก็เป็นมุกตลกคาเฟ่ที่เราเคยเห็นกันเมื่อนานมาแล้ว 6/10
O = Orgasm หนังสั้นเรื่องนี้ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก และจินตนาการอันหลากหลายระหว่างการมีเซ็กซ์ของผู้หญิงได้ดีมาก ในด้านภาพก็ทำออกมาได้อย่างดีมาก 10/10
P = Pressure ใกล้วันถึงเกิดลูกสาว ซึ่งอยากได้จักรยานเป็นของขวัญ เธอผู้เป็นแม่ จึงต้องทำงานพิเศษหาเงินเพื่อมาซื้อจักรยานให้ลูก งานที่พิเศษจริงๆหนังสั้นเรื่องนี้ทำออกมาได้ค่อนข้างดีมากทั้งในด้านโปรดักชั่น การลงทุนและเนื้อหาที่สะเทือนใจสะท้อนสภาพสังคม 9/10
Q = Quack (เสียงร้องของเป็ด) ผู้กำกับและคนเขียนบทหาเรื่องการถ่ายทำหนังสั้นใน project The ABCs of Death ซึ่งพวกเขาได้ตัว Q และไปตีความหมายของ Kill ที่แปลว่าฆ่า เขาจึงหารือกันว่าต้องฆ่าอะไรสักอย่างหนึ่งแต่แล้วเกิดความผิดพลาดกับการถ่ายทำ เป็นหยังไอเดียที่ค่อนข้างดี ล้อเลียนชื่อ project ได้ดี 7/10
R = Removed เรื่องนี้เป็นการเสียดสีอุตสาหกรรมภาพยนตร์ นับว่าเป็นตอนที่ดูค่อนข้างยาก เล่าเรื่องแพทย์กับพยาบาลกำลังเฉือนหนังของชายคนหนึ่งออกมาแล้วไปล้างในน้ำยากลายมาเป็นฟิล์มภาพยนตร์ หนังเรื่องนี้ แสดงให้เห็นภาพของภาพยนตร์เคลื่อน เรื่องแรก ๆ ของโลกคือ L’arrivée d’un train en gare de La Ciotat กำกับโดย Auguste Lumière และ Louis Lumière 2 ผู้กำกับภาพยนตร์ยุคแรกเริ่มที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก เป็นเรื่องของรถไฟที่เดินทางเข้ามาถึงสถานี ออกฉายในปี 1896 หากใครสนใจประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ยุคแรกเริ่มแนะนำให้ชมหนังเรื่อง Hugo (2011) ปริศนามนุษย์กลของอูโก้ ฝีมือการกำกับของมาร์ติน สกอร์เซซี่ จะได้รางวัลออสการ์ถึง 5 สาขาโดยเฉพาะสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม สําหรับหนังสั้นเรื่อง Removed ให้ 9/10
S = Speed เป็นเรื่องของหญิงสาวคนหนึ่งขับรถหนีอะไรบางอย่างซึ่งหนังเรื่องนี้กำลังบอกเราว่า ไม่ว่าจะเร็วแค่ไหนก็หนีความตายไปไม่พ้น 8/10
T = Toilet เด็กชายคนกำลังฝึกการเปลี่ยนผ่านการขับถ่ายจากโถนั่งมาเป็นชักโครก เขาจึงให้พ่อแม่ของเขาเข้าห้องน้ำเป็นเพื่อน แล้วครอบครัวนี้ก็เจอเรื่องสยองขวัญขึ้น เรื่องนี้ใช้เทคนิคการปั้นดินน้ำมันและฉายแบบ Stop Motion มีเนื้อเรื่องที่สมบูรณ์ นับว่ามีความน่าสนใจอย่างยิ่ง 9/10
U = Unearthed ชาวบ้านและบาทหลวงไล่ฆ่าผีดิบตนหนึ่ง ตามคติความเชื่อด้วยการต้องถอดเขี้ยว ลิ่มตอกหน้าอก และตัดหัว วิธีการเล่าเรื่อง โดยผ่านสายตาของผีดิบ ใช้มุมกล้องแบบ handy cam 7/10
V = Vagitus (The Cry of the Newborn Baby) เรื่องราวในโลกอนาคต เจ้าหน้าที่หญิงหน่วยควบคุมการแพร่พันธุ์บุกเข้าสถานจากการแห่งหนึ่งซึ่งตรวจพบว่ามีการให้กำเนิดบุตรที่ติดเชื้อบางอย่าง ตอนนี้มีโปรโมชั่นที่ดีมาก ผมคิดว่าเนื้อเรื่องนี้สามารถต่อยอดทำเป็นหนังใหญ่ได้เลยทีเดียว 8/10
W = WTF (what the fuck) ทีมถ่ายทำภาพยนตร์กำลังคิดพล๊อตเรื่องที่เกี่ยวกับตัว W เพื่อนำมาเข้าร่วมใน The ABCs of Death ด้วยที่มีฤทธิ์รายชื่อเกี่ยวข้องกับตัว W มาก ทุกอย่างจริงตีกันในหัว จนต้องสบถออกมาว่า WTH 7/10
X = XXL หญิงสาว ร่างใหญ่ขนาด XXL ต้องใช้ชีวิตอยู่กับเสียงนินทาดูถูกเธอ วันหนึ่งเธอกลับเข้าบ้านแล้วกินทุกอย่างที่ขวางหน้า จากนั้นก็ทำบางสิ่งบางอย่างที่สุดแสนจะเสียของขวัญ ตอนนี้ค่อนข้างจะหวาดเสียวและน่ากลัว ทำออกมาเพื่อตบหน้าสังคมที่นิยมผู้หญิงหุ่นบาง และเสียดสีคนที่ต้องการ ทำทุกอย่างให้ตัวเองผอมแต่ไม่ยอมออกกำลังกาย 7/10
Y = Youngbuck ภารโรงวัยชราคน เฝ้ามองเด็กนักเรียนวัยรุ่นตลอดเวลาแล้วเขารู้สึกว่าตัวเองยังมีความเป็น “หนุ่ม” อยู่ เขาได้ทำเรื่องร้ายแรงเอาไว้ แล้ววันหนึ่งเขาโดนเอาคืนอย่างสาสม 6/10
Z = Zetsumetsu (Extinction) ปิดท้ายด้วยหนังสั้นจากญี่ปุ่นที่มีแนวคิดสุดล้ำ นำเสนอในเชิงสัญลักษณ์แบบ 100% เป็นการเสียดสีประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่นนับตั้งแต่ชาวต่างชาติเข้ามาในญี่ปุ่นโดยเฉพาะอเมริกา และโดยเฉพาะในช่วงสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่อเมริกาเข้าไปมีบทบาทในประเทศญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก นับตั้งแต่ด้านวิทยาการ แนวความคิดเรื่องเพศเสรี แนวความคิดด้านการเมืองการปกครอง นอกจากนี้เรื่องวัฒนธรรมที่นำมาผสม
ผสานกลมกลืนกันแบบตะวันตกกับตะวันออกนั้น ทำให้เกิดเป็นสังคมญี่ปุ่นในสมัยใหม่ที่เราพบเจอในปัจจุบัน นับเป็นการนำเสนอมุมมองทั้งในด้านร้าย คือการขัดแย้งทางด้านวัฒนธรรมอย่างรุนแรง กับในด้านดีคือ การผสานทางด้านวัฒนธรรม เรื่องสั้นเรื่องนี้แม้จะนำเสนอภาพแบบ 18+ แต่ในด้านเนื้อหาของเรื่องนั้นนับว่าดีเยี่ยมสมกับเป็นหนังปิดท้ายเรื่อง The ABCs of Death อย่างดีมาก 10/10
กล่าวโดยสรุป The ABCs of Death เป็นการรวมหนังสั้น 26 เรื่อง โดยเรียงลำดับเรื่องจากตัวอักษรโรมัน Aไปถึง Z แม้จะเป็นหนัง 2 ชั่วโมง แต่ผมก็ใช้เวลาดูนานมากเพราะต้องดูไปแล้วคิดไป ตีความตามไป แล้วจึงเขียนรีวิวไปทีละเรื่องเพราะกลัวจะลืม แต่ละเรื่องสั้นที่มีไอเดียค่อนข้างดีมาก ในขณะเดียวกันบางเรื่องก็มีแนวคิดที่ล้ำจนต้องตั้งคำถามว่า “นี่มันอะไรวะเนี่ย” เป็นหนึ่งในหนังที่ผมแนะนำให้ดูเป็นอย่างยิ่ง
8/10
ภาพยนตร์ที่คล้ายกัน
The Novice (2021) ฝันให้ไกล คลั่งให้สุด
Mostly Ghostly 3 One Night in Doom House (2016) ขบวนการกุ๊กกุ๊กกู๋ ตอน คืนอาถรรพ์บ้านผีสิง
7.1