ดูหนัง ออนไลน์ Seoul Station เต็มเรื่อง (2016) ก่อนนรกซอมบี้คลั่ง
เรื่องย่อ
ดูหนังซอมบี้ Seoul Station (2016) ก่อนนรกซอมบี้คลั่ง ท่ามกลางผู้คนที่พลุกพล่านและไม่แยแสชายจรจัดหน้าตาหยาบกร้านที่มีเลือดออกที่คอพบที่หลบภัยในสถานีโซลอันคึกคัก ทุกคนไม่สนใจคนพเนจรที่เหนื่อยล้าซึ่งดูเหมือนว่าจะถูกกัดด้วยอะไรบางอย่างค่อยๆยอมจำนนต่อบาดแผลและความตายเพียงเพื่อกลับมาในฐานะซากศพที่เน่าเหม็นโจมตีและแพร่กระจายโรคร้ายของเขา ในตอนนี้กับฉากหลังของการระบาดของซอมบี้อย่างกะทันหันผู้รอดชีวิตที่โชคดีสามคนคือฮเยซุน เค้าโครงเรื่องแฟนหนุ่มของเธอกีอุงและพ่อที่สิ้นหวังของเธอซุคกยูต่อสู้ฟันและเล็บเพื่อกลับมารวมตัวกันอีกครั้ง แต่นี่เป็นเพียงคืนแรกของการแพร่ระบาดที่ไม่คาดฝันและความหวังทั้งหมดดูเหมือนจะสูญสิ้น คนเดินตายเป็นสัตว์ประหลาดตัวเดียวหรือไม่?
โดยสรุปแล้ว “Seoul Station” (2016) เป็นการผสมผสานระหว่างความสยองขวัญและการวิจารณ์สังคมอย่างเชี่ยวชาญ โดยใช้การเล่าเรื่องแบบแอนิเมชั่นเพื่อสำรวจแง่มุมที่มืดมนของสังคมในขณะเดียวกันก็นำเสนอเรื่องราวที่น่าดึงดูดใจและตึงเครียด ด้วยธีมที่กระตุ้นความคิด ตัวละครที่มีการพัฒนาอย่างดี และแอนิเมชั่นที่โดดเด่น ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงศักยภาพของภาพยนตร์แอนิเมชั่นในการจัดการกับเรื่องที่ซับซ้อนในขณะที่มอบประสบการณ์การรับชมภาพยนตร์ที่ยากจะลืมเลือน
ขอให้สนุกกับการดูหนังออนไลน์ หนังการ์ตูน เรื่อง Seoul Station (2016) ก่อนนรกซอมบี้คลั่ง หนังประเภท Horror สยองขวัญ เว็บดูหนัง KUBHD.COM ดูหนังออนไลน์ฟรี ดูหนัง ออนไลน์ หนังไทย หนังต่างประเทศมากมายกว่า 10,000 เรื่อง หนังใหม่ ดูฟรี หนังไม่กระตุก ดูหนังชัดชนโรง หนังพากย์ไทย ซับไทย เต็มเรื่องHD หนังใหม่อัพเดททุกวัน หนังอัพเดทตลอด 24 ชั่วโมง ดูหนังออนไลน์ ดูหนัง 2023 ดูหนังบนมือถือ Android iOS เว็บรวมหนังออนไลน์ของเมืองไทยที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ หนังอัพเดททุกวัน มีทั้งหนังเก่า หนังใหม่ หนังชนโรง หนัง HD รวมถึงหนังประเภทต่างๆ และยังมีหนังต่างประเทศอีกเยอะแยะมากมาย
ผู้กำกับ
Yeon Sang-ho
บริษัท ค่ายหนัง
- Finecut
- Next Entertainment World
- Studio Dadashow
นักแสดง
- Shim Eun-kyung
- Ryu Seung-ryong
- Lee Joon
โปสเตอร์หนัง
รีวิวหนัง
รีวิวกระทู้ pantip blue_skycatcher
[Mini-Review/Repost] Seoul Station ก่อนนรกซอมบี้คลั่ง (Korean Movie 2016)
แอนิเมชั่นมูฟวี่สัญชาติเกาหลีที่จะบอกเล่าเรื่องราวที่มาที่ไปก่อนจะเป็น #TrainToBusan บอกเล่าเรื่องราวของพ่อที่ตามหาลูกสาวที่ออกจากบ้านและไปพบว่าเธอขายบริการทางเพศ แต่เกิดเหตุการณ์ประหลาดเมื่อคนไร้บ้าน (Homeless Man) ที่อาศัยอยู่ในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินได้ฟื้นขึ้นจากความตายและไล่กัดคนอื่นจนกลายเป็นซอมบี้ ความโกลาหลที่หน่วยงานในกรุงโซลพยายามจะควบคุมสถานการณ์ หายนะเริ่มเข้าใกล้ตัวเข้าทุกที นี่จึงเป็นอีก 1 เกมชีวิตที่ลูกสาว “ฮเยซัน” พ่อของเธอ และแฟนหนุ่มของเธอจะต้องเอาชีวิตรอดจากการตามล่าของซอมบี้ที่มีมากขึ้นอย่างทวีคูณให้ได้
สิ่งที่ชอบที่สุดใน Seoul Station สำหรับบีนะ มันคือการใส่นัยยะลงในหนังที่แยบยลและจิกกัดสังคมแบบเจ็บแสบมาก ใน Train To Busan ตีแตกแหกปัญหาสังคมยังไง เรื่องนี้ก็ตีจนแหกไม่แพ้กัน แต่ใช้ประเด็นในเรื่องที่แตกต่างกันออกไป มันคือนัยยะที่มีจริงในสังคม(ทั้งเกาหลี ทั้งไทย และเชื่อว่าทุกสังคมเล็กใหญ่ มันก็มี) อย่างเช่น ชนชั้นในสังคม สันชาตญาณดิบในใจคน ยันเรื่องเพศที่บีก็ไม่คิดว่าเขาจะนำประเด็นนี้มาอยู่ในหนังด้วย
คนโลกสวยจะไม่ชอบแน่ๆ เพราะ เน้นความดาร์ค&หม่นหมอง ตั้งแต่ประเด็นที่นำมาขยี้ พลอตการดำเนินเรื่อง และทีมผู้สร้างยังฝังความดาร์ตนี้ลงไปในลายเส้นของการ์ตูนที่ดูหยาบแต่มันก็ช่วยเสริมความดาร์คของหนังได้ดี หนังไม่ใสๆนะคะ มีความเลือดสาดในแบบการ์ตูนและสิ่งที่คุณไม่คิดว่ามันจะเกิดขึ้น คุณต้องประหลาดใจในสิ่งที่คุณจะเจอใน 92 นาทีที่ดูหนังไม่มากก็น้อยค่ะ พูดเลย!
แต่!!! สำหรับบีนะ มีแรงดึงดูดไม่ตลอดรอดฝั่งเหมือน Train To Busan ที่รายนั้นจิกเบาะลุ้นจนต้องเกร็งตลอดทริป เพราะมีพาร์ทหน่วงบ้าง บางการกระทำก็ไม่เข้าใจว่ทำทำไมและตัวละครบางช่วงก็ทำอะไรที่มันไม่ Make Sense เอาเสียเลยนอกนั้น งานหอบค่ะ ซอมบี้ยังคงวิ่งเร็วเป็นเจ้าเหรียญทองโอลิมปิก (Ghost) เกมอีกเช่นเคย 😂🙈
นอกเหนือจากนั้น สิ่งที่บีอยากชื่นชมทีมงานคือโปรดักชั่นค่ะ … ตอน Train To Busan งานโปรดักชั่นละเอียดมาก ก็ละเอียดไม่แพ้กันเพราะฉากส่วนใหญ่ในหนังใช้เทคนิคถ่าย Footage ในโซลจริงๆมาถอดเป็นลายเส้นอีกที และยังคงขายความเป็นเกาหลีเหมือนเคย เพราะตัวฉากของสถานีโซลที่ทุกคนจะได้ดูนั้น ทีมงานต้องไปถ่ายทำจากสถานีจริงๆแล้วมาเทียบสเกลลงเป็นภาพวาดอีกที หากจะพูดว่า Train To Busan คือการถอดภาพแอนิเมชั่นให้กลายเป็นภาพยนตร์ที่มีชีวิต ก็คือการบันทึกสิ่งที่อยู่ในโลกความจริงลงไปเป็นภาพวาดที่มีความสมจริงอยู่ในนั้น
สรุปคือทั้ง #TrainToBusan & #SeoulStation คือสิ่งที่ไม่ควรพลาด ยิ่งดูเรื่องนึงมาแล้ว ยิ่งไม่ควรพลาดเพราะที่มาที่ไปจะอยู่ที่สถานีโซลแห่งนี้ แม้ว่าที่มาที่ไปจะดูไม่ได้เจาะลึกอย่างที่คาดไว้ แต่ก็ทำให้รู้ว่าทำไมใน Train To Busan จึงเกิดบริบทเสริมหนังมากมาย คำตอบจะอยู่ที่ ค่ะ
และคำถามที่หลายคนอยากรู้ … ความเชื่อมโยงของ #SeoulStation และ #TrainToBusan … เคยเขียนแล้ว อยากให้อ่านและตีความดีๆแบบคำต่อคำค่ะ จะเข้าใจได้เอง 😅🙊 >> [Mini-Scoop] ความเชื่อมโยงระหว่าง #SeoulStation และ #TrainToBusan ผ่านตัวละคร “ฮเยซัน” https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=946788185430523&id=114023512040332 #มีความเป็นSymbolสูงมาก ยิ้ม
ตอนจบ … พีคจนต้องสบถ แอบเดาได้แต่ก็อุทานคุณพระอยู่ดี! 😂
สิ่งที่อยากฝากไว้ : น่ากลัวกว่าซอมบี้ก็มีแต่จิตใจของมนุษย์นี่แหละ คนเรามีความเห็นแก่ทุกคน(มีทุกคนจริงๆ) มีมากมีน้อยก็แปรผันตามจิตสำนึก มีมากไปมันก็ไม่ต่างไปจากซอมบี้ที่คอยล่าเหยื่อเพื่อเลือดและเนื้อหนังดีๆหรอก …
แล้วคุณเป็นแบบไหน?
รีวิวกระทู้ pantip เซียวเล้ง
[CR] [Review] Seoul Station – อย่าริเป็นคนดีในสังคมโสมม
“Seoul Station” ถูกโปรโมทว่าเป็นแอนิเมชั่นภาคต้นของ “Train to Busan” แต่จริงๆ การใช้คำว่า “ภาคต้น” หรือ “Prequel” กับหนังเรื่องนี้ก็ดูจะไม่ถูกต้องนัก เพราะเราน่าจะใช้คำว่าภาคต้น กับหนังที่สร้างทีหลังภาคหลัก แต่เมื่อเนื้อหาในช่วงก่อนหน้าเหตุการณ์ของภาคหลัก แต่กับ แล้ว แม้หนังจะเข้าฉายหลังจาก Train to Busan อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้วตัวหนังถูกพัฒนาและสร้างเสร็จก่อนจะเริ่มสร้าง Train to Busan ด้วยซ้ำ หรืออีกทางหนึ่งก็คือ Seoul Station คือหนังที่ทำให้เกิด Train to Busan ขึ้น
“ยอนซังโฮ” ผู้กำกับ Seoul Station และ Train to Busan นั้นเติบโตมาจากการทำหนังแอนิเมชั่น ซึ่งในขณะที่เขากำลังง่วนอยู่กับการตัดต่อผลงานแอนิเมชั่นเรื่องราวเรื่องที่ 3 ของเขา คิมอูแทก CEO ของ Next Entertainment World เจ้าของค่ายที่ยอนซังโฮทำหนังด้วย เกิดได้ชมแอนิเมชั่นเรื่องนี้และประทับใจมาก จนเสนอว่า “ลองทำเวอร์ชั่นคนแสดงจริงดูมั้ย” ซึ่งยอนซังโฮก็ตอบรับและพัฒนาเป็นหนังกึ่งภาคต่ออย่าง “Train to Busan” ในเวลาต่อมา และถือเป็นการกำกับหนังคนแสดงครั้งแรกของเขาด้วย อย่างไรก็ตามทางค่ายหนังเลือกจะนำ Train to Busan ออกฉาย (คงเพราะมีแนวโน้มทำเงินและกระแสได้ดีกว่า) แล้วนำ Seoul Station ฉายตามหลังในเดือนถัดมา ซึ่งในกรณีของไทยนั้นกระแสของ Train to Busan ดีมาก จนทำให้ค่ายหนังในไทยตัดสินใจซื้อ Seoul Station มาฉายด้วย
Seoul Station เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงคืนก่อน Train to Busan แม้จะเป็นหนังที่อยู่ในจักรวาลเดียวกัน แต่เนื้อเรื่องถือเป็นคนละเรื่องที่แทบไม่มีอะไรเชื่อมต่อกันเลย และตัว Seoul Station ก็ไม่ได้ตอบคำถามว่า เชื้อซอมบี้มันเกิดได้อย่างไร หรือมาได้อย่างไร อันที่จริงคำถามนี้ใน Train to Busan ดูจะให้รายละเอียดนี้ได้เยอะกว่าอีก หรือกระทั่งข้อสงสัยว่า ผู้หญิงที่ขึ้นรถไฟตอนต้นเรื่องของ Train to Busan นั้นเป็นใครมาจากไหน ใน Seoul Station ก็ไม่ได้ตอบคำถามนี้เช่นกัน ปล่อยให้เราคิดกันไปว่าใช่คนเดียวกับที่ปรากฏตัวใน หรือเปล่า (ซึ่งส่วนตัวคิดว่าเป็นคนละคนกัน)
ตัวหนังโฟกัสอยู่ที่ตัวละครหลัก 3 คนคือ “ฮเยซอน” อดีตสาวขายบริการที่หนีออกจากบ้าน “คีวุง” แฟนหนุ่มของฮเยซอง ที่ต้องการให้ฮเยซองกลับไปขายตัวอีกครั้ง เพื่อหาเงินมาใช้ และ “ซอคกยู” พ่อของฮเยซองที่กำลังตามหาเธอ ความแตกต่างสำคัญระหว่าง Seoul Station กับ Train to Busan คือในขณะที่เรื่องหลังนั้นเน้นไปที่ชีวิตของชนชั้นกลางไปจนถึงสูง กลับเน้นเรื่องราวของชนชั้นล่างไปจนถึงกลุ่มคนชายขอบที่โดนละท้งในสังคมเกาหลีอย่าง “กลุ่มคนไร้บ้าน” แทน นั่นทำให้ในแง่การวิพากษ์สังคมนั้นนั้น ทำได้อย่างหนักหน่วงมาก
เมื่อเกิดเหตุซอมบี้ระบาดเมือง ตัวละครใน Train to Busan ยังพอมีเป้าหมายอยู่บ้าง ว่าพวกเขาจะไปที่ใด ซึ่งก็คือปูซาน สถานที่ที่พวกเขาเชื่อว่ายังปลอดภัยอยู่ นอกจากนี้ สำหรับคนในเรื่องแล้วปูซานนั้นยังมีบ้าน ที่พัก ครอบครัว หรือคนรู้จักรอพวกเขาอยู่ (แม้จะไม่รู้ว่ารอดหรือไม่) เพราะไม่อย่างนั้นพวกเขาคงไม่ตั้งใจนั่งรถไฟไปปูซานตั้งแต่แรก แต่สำหรับผู้คนใน Seoul Station นั้นแตกต่างออกไป “ฮเยซอง” เป็นเด็กสาวที่หนีออกจากบ้าน แถมห้องเช่าที่เธออาศัยอยู่กับแฟน ก็กำลังโดนเจ้าของไล่ เนื่องจ้างค้างค่าเช่ามาตลอด เมื่อเจอกับซอมบี้ แม้เธอรู้ว่าจะต้องหนี แต่จะให้เธอหนีไปที่ใดละ จิตสำนึกคนส่วนใหญ่มักบอกให้หนีกลับบ้าน แต่จะให้เธอหนีกลับบ้านที่เธอเคยหนีออกมานะเหรอ หรือกระทั่งให้กลับไปยังห้องเช่า นั้นก็ไม่ใช่บ้านที่เธอเคยอยากอยู่สักนิดเดียว
นี่ยังไม่รวมถึงบรรดาคนไร้บ้านในเรื่อง ที่อาศัย Seoul Station เป็นสถานที่หลับนอน จะให้พวกเขาหนีกลับไปที่ไหนละ ในเมื่อพวกเขาไม่มีบ้านให้กลับ
ในสังคมที่มุ่งการประสบความสำเร็จแบบเกาหลีใต้ ความล้มเหลวในชีวิตจนต้องกลายเป็นคนไร้บ้าน กลายเป็นตราบาปที่สังคมพยายามขับไล่ไสสง และแสร้งว่าไม่มีคนพวกนี้อยู่ในสังคม การเป็นส่วนเกินทำให้พวกเขาถูกปฏิบัติแตกต่างจากคนอื่นในสังคม เมื่อเกิดเหตุขึ้น แทนที่จะได้รับความช่วยเหลือ รัฐกลับมองว่ากลุ่มคนไร้บ้านเป็นสาเหตุของปัญหา และเหมารวมพวกซอมบี้กับคนไร้บ้านเข้าด้วยกัน จนไม่แน่ใจว่ารัฐกำลังจัดกการกับซอมบี้หรือคนไร้บ้านกันแน่ แต่มันคงง่ายกว่าสำหรับรัฐในการนิยามปัญหาว่าเป็นเพราะคนไร้บ้านและชนชั้นล่างในสังคม มากกว่าจะเป็นซอมบี้ที่รัฐไม่เคยรับมือมาก่อน
ในสังคมโดนผลักใสเช่นนี้ จึงค่อนข้างเปล่าประโยชน์ที่จะทำตัวเป็นคนดีคอยช่วยเหลือคนอื่นๆ ใน Train to Busan เราได้เห็นแล้วว่า ความเป็นคนดีไม่ได้ช่วยอะไรจากวิกฤติซอมบี้นัก และกลายเป็นคนที่เรามองว่าเลว ที่มีชีวิตค่อนข้างยืนยาวกว่าคนดีๆ ในเรื่องหลายคน ใน Seoul Station ยิ่งชัดเจนเข้าไปอีกว่าอย่าริทำตัวเป็นคนดีในสังคมโสมมแบบนี้ คนที่พยายามช่วยเหลือคนอื่น มักจบลงด้วยความตาย และต่อให้คุณพยายามทำตัวดีแค่ไหน สุดท้ายรัฐก็ไม่ได้มองสิ่งที่คุณกระทำ แต่มองว่าคุณคือคนไร้บ้าน คนชั้นล่างของสังคมที่เป็นตัวก่อปัญหาให้เกิดขึ้นต่างหาก พอเป็นแบบนี้
Seoul Station มีความหนักหน่วงในการสะท้อนภาพดำมืดของสังคมเกาหลี แบบที่เราไม่ค่อยได้เห็นในซีรีส์เกาหลีมากนัก และออกจะดาร์กยิ่งกว่า Train to Busan อีก อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนของ Seoul Station ก็คือมันเป็นงานแอนิเมชั่นที่ภาพไม่ค่อยน่าประทับใจเท่าไหร่ วาดออกมาไม่สวย ไม่ละเอียด โดยเฉพาะสีหน้าตัวละครที่ค่อนข้างแข็ง ทำให้ไม่บางทีไม่สามารถสื่ออารมณ์ในขณะนั้นได้เต็มที่ เฟรมเรตภาพก็ดูเหมือนจะต่ำ ส่งผลให้การเคลื่อนไหวดูแปลกๆ เหล่านี้น่าจะเป็นทำให้ในฉากที่แอคชั่นต่างๆ ดูไม่ระทึกเท่าที่ควร ทั้งที่เนื้อเรื่องและดนตรีค่อนข้างส่งมากแล้ว กระนั้น ก็พอเข้าใจว่า วงการแอนิเมชั่นเกาหลีใต้อาจไม่ได้รับความนิยมนัก ยิ่งเป็น 2D ทำให้ภาพที่ออกมาไม่พลิ้วไหวเท่าฝั่งญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตาม Seoul Station ก็ทำให้เราเข้าใจว่า CEO ของค่ายหนังจึงยื่นข้อเสนอให้เขาทำเวอร์ชั่นคนแสดง เพราะการจัดวางเรื่องราว และการวิพากษ์สังคม โดยใช้ซอมบี้เป็นสื่อนั้น มันน่าประทับใจมาก ซึ่งยอนซังโฮก็ไม่ทำให้ผิดหวัง เพราะ Train to Busan นั้นค่อนข้างลงตัวในทุกๆ ด้านจริงๆ
ผมเป็นคนชอบหนังผี
[ผีรีวิว] Seoul Station (2016) : จุดเริ่มต้นของ Train to Busan
.
รีวิวโดย : สมาชิกเพจปริศนาไม่เผยตัวตน
.
Seoul Station คืองานอนิเมชั่นที่เล่าเรื่องราวการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสซอมบี้ ที่จะเป็นเรื่องราวต่อเนื่องถึง Train to Busan
.
โดยหนังเป็นการเล่าเรื่องผ่านตัวละคร ‘ฮเยซอน’ เด็กสาวผู้หนีออกจากบ้าน ‘ซุกคิว’ พ่อของ ‘ฮเยซอน’ ที่ต้องออกตามหาลูกสาวและได้รับความช่วยเหลือจาก ‘คิวุง’ แฟนหนุ่มที่ไม่เอาไหนของ ‘ฮเยซอน’ นั่นเอง
แถมทั้งสามคนยังต้องเอาตัวรอดจากฝูงซอมบี้ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วเมืองอีกด้วย
.
ในด้านภาพ แอบรู้สึกขัดใจเล็กน้อย ที่ตัวละครจะค่อนข้างแข็งๆทั้งวิธีการแสดงแววตา สีหน้า ท่าทาง การเดิน ทั้งคนและซอมบี้ และที่สำคัญหน้าตาตัวละครไม่ค่อยหล่อ!! อาจจะด้วยเพราะมันเป็นอนิเมชั่น จะหวังให้ลื่นไหลและสมจริงแบบเวอร์ชั่นหนังคงไม่ได้ เอาเป็นว่าใครที่ไม่ซีเรียสเรื่องนี้ก็หายห่วง
.
ในด้านของเนื้อเรื่อง เห็นได้ชัดว่า เป็นอนิเมชั่นซอมบี้ ที่พยายามตีแพร่ความเหลื่อมล้ำทางสังคมของเกาหลี โดยอาศัยซอมบี้เป็นตัวเดินของเรื่อง และสะท้อนความเหลื่อมล้ำนี้ออกมาผ่าน 3 ตัวละครหลักนั่นเอง แต่ก็พูดส่วนนี้มากไม่ได้เพราะอาจจะเผลอสปอยล์เนื้อเรื่องได้ ต้องไปลองดูกันเอง
.
และในด้านความตื่นเต้น โดยรวมๆต้องบอกตามตรงว่า หนังเหมือนเป็นการนำเอาฉากลุ้นๆ ตื่นเต้นๆ จากหนังหลายๆเรื่องมายำรวมกัน และเน้นไปที่การลุ้นว่า ตัวละครจะรอดจากสถานการณ์นั้นได้หรือไม่ เป็นส่วนใหญ่ โดยถ้าใครที่เป็นคอหนังแนวๆทริลเลอร์ๆ อยู่แล้ว อาจจะรู้สึกเบื่อได้
.
สรุปภาพรวม Seoul Station ถือเป็นงานอนิเมชั่นอีกเรื่องของปีนี้ ที่ใครที่ชอบแนวๆซอมบี้ ตื่นเต้นๆ (มีหักมุมแบบแอบอึ้งนิดหน่อยในตอนท้าย) และไม่ซีเรียสเรื่องภาพที่จะออกไปทางการ์ตูน ก็อยากแนะนำให้ไปลองดูกันครับ แม้จะไม่ได้ดีจนขึ้นหิ้งแต่รับรองว่าคุณต้องชอบแน่นอน!!
.
คะแนนโดยรวม 6 หลุม
.
โดย Seoul Station มีกำหนดเข้าฉาย 15 กันยายนนี้
.
ปล. ช่วงนี้แอดงานเข้าหนักมาก และบางครั้งไม่สามารถไปดูหนังรอบสื่อบางเรื่องได้ เลยอยากลองถามว่า มีเพื่อนๆคนไหน สนใจอยากเป็นทีมงานอาสา คอยไปดูหนังรอบสือแทนแอดได้บ้างครับ inbox เข้ามาหาแอดละกันนะครับ 🙂
ภาพยนตร์ที่คล้ายกัน
Zombieland (2009) ซอมบี้แลนด์ แก๊งคนซ่าส์ล่าซอมบี้
6.2