ดูหนัง Rain Man (1988) ชายชื่อเรนแมน
เรื่องย่อ
Rain Man (1988) ชายชื่อเรนแมน เรื่องราวการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างน้องชายปกติ (ทอม ครูส) กับพี่ชาย ออทิสติก (ดัสติน ฮอฟแมน) ที่ในช่วงแรกตัวน้องชายเพียงมุ่งหวังกองมรดกที่พ่อให้ไว้กับพี่ชายเท่านั้น แต่สุดท้ายเค้าก็ตระหนักว่า สิ่งที่เค้าได้มานั้น มีค่ายิ่งกว่าเงินเสียอีก
ขอให้สนุกกับการดูหนังออนไลน์ หนังฝรั่ง เรื่อง Rain Man (1988) ชายชื่อเรนแมน หนังประเภท Biography ชีวิตจริง เว็บดูหนัง KUBHD.COM ดูหนังออนไลน์ฟรี หนังไทย หนังต่างประเทศมากมายกว่า 10,000 เรื่อง หนังใหม่ ดูฟรี หนังไม่กระตุก ดูหนังชัดชนโรง หนังพากย์ไทย ซับไทย เต็มเรื่องHD หนังใหม่อัพเดททุกวัน หนังอัพเดทตลอด 24 ชั่วโมง ดูหนัง 2023 ดูหนังบนมือถือ Android iOS
ผู้กำกับ
Barry Levinson
บริษัท ค่ายหนัง
- United Artists
- Guber-Peters Company
- Star Partners II, Ltd.
นักแสดง
- Dustin Hoffman
- Tom Cruise
- Valeria Golino
โปสเตอร์หนัง
รีวิวหนัง
วิถีแห่งความรู้แจ้ง
32 ปี Rain Man (1988) ชายชื่อเรนแมน อัจฉริยะปัญญาอ่อน
เดี๋ยวนี้คงต้องเรียกว่าเป็นหนังเก่าไปซะแล้วมั๊งสำหรับ Rain Man ภาพยนตร์ตั้งแต่ปี 1988 หรือกว่าสามสิบปีที่แล้ว (สมัย ทอม ครู๊ซยังหน้าใสปิ๊ง) ผลงานกำกับของ Barry Levinson ภาพยนตร์เรื่องเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่พูดเกี่ยวกับเรื่องของออทิสติก จากหลาย ๆ เรื่องเช่น I am Sam, Forrest Gump, Running boy ตัวภาพยนตร์ถือว่าประสบความสำเร็จยอดเยี่ยมทำรายได้ในอเมริกาไปกว่า 173 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งนับในสมัยนั้นก็ถือว่าเยอะมากแล้ว (แม้ในประเทศไทยจะไม่ค่อยมีใครดูเท่าไหร่ก็ตาม) และยังประกาศความยอดเยี่ยมด้วยการคว้ารางวัลออสการ์ปี 1988 มาครองอีกถึง 4 รางวัลรวดคือ Best Picture, Best Actor (ดัสติน ฮอฟแมน), Best Director (แบร์รี่ เลวินสัน) และ Best Original Screenplay
เรื่องย่อ
ภาพยนตร์ดำเนินเรื่องโดยตัวหลักคือ ชาร์ลี แบบบิท (ทอม ครู๊ซ) ผู้ซึ่ง เป็นนักธุรกิจหนุ่มนำเข้ารถยนต์ ผู้ใช้ชีวิตมาด้วยตัวเองมานาน เพราะเขาหนีออกจากบ้านมาตั้งแต่วัยรุ่น เนื่องจากรู้สึกว่าพ่อไม่รักและไม่ยอมรับในตัวเขา ทำให้เขาพึ่งแต่ตัวเองมานาน
ต่อมาชาร์ลี ได้รับแจ้งข่าวการเสียชีวิตของพ่อ ชาร์ลไปพบกับผู้จัดการมรดรของพ่อเขา และพบว่าจากทรัพย์สินมากมายหลายล้านเหรียญสหรัฐ พ่อเขากลับยกเพียงรถเปิดประทุนรุ่นเก่าคร่ำครึที่เขาเคยอยากได้ตั้งแต่สมัยวัยรุ่นให้เขาเพียงคันเดียว โดยทรัพย์สินอื่น ๆ ทั้งหมดยกให้กับคนอื่น
เขาพยายามไปสืบมาว่าพ่อยกทรัพสินย์ที่เหลือให้ใคร … เขาตามสืบจนทราบว่า พ่อเขายกให้นายแพทย์คนหนึ่งเป็นผู้จัดการทรัพย์สินที่เหลือทั้งหมด ทำให้เขาไปหาแพทย์ผู้นั้นถึงสถานบำบัด
เมื่อเขาไปถึง เขาต้องแปลกใจว่า ตลอดชีวิตที่ผ่านมาที่เขาคิดว่าเขาเป็นลูกคนเดียว แต่เขากลับพบ เรย์มอนด์ แบบทบิท ผู้เป็นพี่ชายที่ป่วยเป็นออทิสติกและอยู่ในสถานบำบัดนี้มาเนิ่นนาน พี่ชายซึ่งเขาไม่เคยรับรู้มาก่อนเลยว่ามีตัวตนอยู่ ด้วยความรู้สึกว่าไม่ยุติธรรมที่เขาได้เพียงรถเก่า ๆ แต่พี่ชายเขาที่ไม่รู้จักค่าของเงินด้วยซ้ำกลับได้ทุกอย่างไป เขาจึงลักพาตัวเรย์มอนด์ออกไปจากสถานบำบัด เพื่อต่อรองกับแพทย์ผู้เป็นคนจัดการทรัพย์สิน ให้แบ่งเงินมาให้เขาครึ่งหนึ่ง เขาถึงจะส่งตัวเรย์มอนด์กลับไป
ตอนแรกชาร์ลีพยายามพาพี่ชายกลับบ้านด้วยการนั่งเครื่องบิน แต่พี่ชายเขากลับกลัว ไม่ยอมนั่งเครื่องบิน แถมยังท่องได้หมดอีกว่า สายการบินอะไรเคยตกบ้าง …. และจะไม่ยอมนั่งสายการบินนั้น (ซึ่งแน่นอนล่ะ ว่าสายการบินส่วนใหญ่ก็เคยเครื่องบินตกทั้งนั้น) ทำให้สุดท้ายชาร์ลีต้องพาเขากลับไปด้วยการขับรถ … ทำให้กลายเป็นการเดินทางที่แสนยาวไกล และทำให้ทั้งสองคนได้อยู่ด้วยกัน ได้รับรู้ถึงมิตรภาพ และได้พัฒนาตัวเองไปด้วยกันทั้งคู่
วิจารณ์และสิ่งที่น่าสนใจ
ในเรื่องเราจะเห็นว่า เรย์มอนด์นั้นมีความสามารถพิเศษ คือมีความจำที่ดีเลิศ สามารถจำได้ว่าสายการบินอะไรเคยมีเครื่องบินตกบ้าง และตกปีไหน รวมถึงสามารถจำเบอร์ในสมุดโทรศัพท์ได้ทั้งหมด แถมสามารถจำไพ่ 6 สำรับได้อีกด้วย ซึ่งลักษณะนี้ เรียกว่า อัจฉริยะปัญญาอ่อน หรือ idiot savant (อ่านว่า อีเดียท ซาวองค์ เป็นภาษาฝรั่งเศส ไม่ได้อ่านว่า ซาแวนท์นะครับ) โดยดัสติน ฮอฟแมนได้ต้นแบบความสามารถพิเศษนี้มาจาก คิม พีก (Kim Peek) ซึ่งเป็นคนที่มีความสามารถพิเศษจริง ๆ
คิม พีก นั้นไม่ได้เป็นโรคออทิสติก แต่เป็นโรคเกี่ยวกับสมองอย่างอื่น (คือมีความผิดปกติที่สมองตรงกลาง ทำให้สมองซีกขวากับซ้ายไม่เชื่อมกันเหมือนคนปกติ) คิม พีก นั้นสามารถอ่านหนังสือแล้วจำได้ทุกหน้า ชนิดบอกได้เลยว่าประโยคนี้มาจากหน้าไหน จำรหัสไปรษณีย์ได้ทั้งประเทศ ผมเองเคยดูวิดีโอที่แพทย์ทำการทดสอบคิม พีก แล้วก็ถึงกับอึ้ง … เช่นการทำสอบที่เรียกว่า digit forward คือการอ่านตัวเลขให้ผู้ทดสอบฟัง เช่น “ 1 3 9 5 4 5 9 “ แล้วให้ผู้ทดสอบพูดทวนว่าที่อ่านไปมีอะไรบ้าง ซึ่งลองไปเล่นดูก็ได้ครับ คนปกติได้ไม่ควรต่ำกว่า 7 หลัก แต่ก็มักไม่เกินสิบกว่าหลัก … แต่จากวิดีโอที่ผมดู … เดาสิครับว่า คิม พีก ทำได้กี่หลัก …… เขาทำได้ สี่สิบกว่าหลัก …… (คืออ่านตัวเลขสลับกันไปเรื่อย ๆ สี่สิบกว่าตัวรวดเดียว คิมสามารถทวนได้ถูกต้องหมดทั้งสี่สิบกว่าหลัก) ไม่นับการอ่านประโยคยาวหนึ่งหน้ากระดาษ A4 ให้เขาฟัง คิมสามารถจำได้และพูดทั้งหน้ากระดาษได้จากการฟังแค่หนเดียว
เราจะพบว่าตัวชาร์ลีนั้น มีลักษณะเป็นคนที่เจ้าอารมณ์ เอาแต่ใจ มั่นใจในความสามารถของตัวเอง เอาเปรียบหรือหลอกใช้คนอื่น ( อย่างที่เห็นเขาทำกับแฟน ทำกับเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อให้รู้ว่าใครเป็นผู้ดูแลทรัพย์สิน) self center (แต่ตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง) ไม่เห็นอกเห็นใจคนอื่น (lack of empathy) ไม่แคร์ว่าแฟน หรือเรย์มอนด์จะรู้สึกยังไง … สิ่งเหล่านี้รวมเป็นลักษณะบุคคลิกภาพอย่างหนึ่งที่เรียกว่า narcissistic personality
สาเหตุที่ชาร์ลีเป็นแบบนี้เพราะ ตั้งแต่เด็กเขารู้สึกว่าเขาไม่ได้รับการยอมรับจากพ่อ สำหรับเด็ก พ่อหรือแม่นั้นเปรียบเสมือนกระจกสะท้อนภาพของเด็ก (Mirroring transference) คือหากพ่อแม่ เห็นว่าลูกตัวเองเก่ง ดี ชื่นชม ให้รางวัลเด็กก็จะเห็นตัวเองเป็นแบบนั้นมี self esteem ที่ดีและเหมาะสม … สำหรับชาร์ลี แม้จะเรียนดียังไงก็ตาม ได้ A หมดทุกวิชา พ่อเขากลับไม่ให้รางวัล ไม่เคยแม้แต่จะชม … เอาใบคะแนนให้ดูก็เพียงมองเฉย ๆ ไม่ได้ว่าอะไร ขอเอารถไปขับฉลองที่สอบได้ ก็ไม่ให้ …. เมื่อแอบเอาไปขับ พ่อกลับไปแจ้งความว่ารถถูกขโมยทำให้เขาถูกจับอีกต่างหาก จนตัดสินใจหนีออกจากบ้าน สิ่งเหล่านี้ทำให้เขาว่าพ่อไม่รักเขาเลย รู้สึกว่าทำดียังไงก็ไม่ได้รับการยอมรับชื่นชม เป็นเหมือนปมด้อย จนต้องชดเชยด้วยการพยายามทำทุกอย่างด้วยตัวเอง อยู่ได้ด้วยตัวเองคนเดียว (จนเอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง) จนเหมือนไม่แคร์คนอื่น ทำทุกอย่างเพื่อให้ตัวเองได้ประโยชน์
แต่ระหว่างการเดินทางที่แสนนานกลับ เรย์มอนด์ เขาก็เริ่มเปลี่ยนไป เหตุการณ์ที่กระทบใจชาร์ลีมากที่สุดคือ การที่เขารู้ว่า rainman เพื่อนในจินตนาการในตอนเด็กที่คอยเป็นเพื่อน คอยมาปลอบเขาเวลาที่เขาหวาดกลัวหรือนอนไม่หลับ ที่จริงแล้วก็คือ เรย์มอนด์นั่นเอง เพียงแต่ตอนเด็กเป็นเขาเองที่ฟันหลอจนออกเสียงเรย์มอนด์ไม่ชัด เพี้ยนไปเป็นเรนแมน ชาร์ลีได้รู้ว่าที่เรย์มอนด์ต้องไปอยู่โรงพยาบาลก็เพราะ เรย์มอนด์เคยที่จะพาเขาตอนยังเล็กอยู่นั้นไปอาบน้ำร้อน จนน้ำลวกชาร์ลี ทำให้พ่อต้องส่งพี่ชายของเขาไปโรงพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของชาร์ลีเอง … จุดนี้เอง ที่ทำให้ชาร์ลีรู้ว่า แท้จริงเขาไม่ได้ไม่มีใคร เขายังมีพี่ชายอยู่ และที่สิ่งสำคัญ เขาได้รู้ว่า …. จริง ๆ แล้วพ่อก็รักเขามาก รักมากพอที่จะส่งพี่ชายเขาไปอยู่โรงพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของเขาเอง …. สิ่งที่เขาเฝ้าแต่คิดว่าพ่อไม่รัก ไม่สนใจ ที่จริงแล้วนั้นไม่จริง แต่เป็นเขาต่างหากที่คิดเอาเองตลอดมา …. สิ่งนี้ทำให้จิตใจเขาอ่อนโยนลง เปิดรับความรู้สึกคนอื่นมากขึ้น เห็นอกเห็นใจคนอื่นมากขึ้น มีความรักและผูกพันกับเรย์มอนด์จริง ๆ จนอยากที่จะอยู่ด้วยกัน
แต่ท้ายสุดภาพยนตร์ก็จบลงอย่างตามเหตุตามผลในชีวิตจริง นั่นคือ แม้ชาร์ลีจะอยากให้พี่ชายอยู่ด้วยเพียงใด แต่สุดท้ายเขาก็รู้ดีว่า ที่ ๆ ดีที่สุด ที่เหมาะกับเรย์มอนด์ที่สุดก็คือที่โรงพยาบาลนั่นเอง ทำให้เขาตัดใจและยอมที่จะให้เรย์มอนด์กลับไป …
สำหรับดัสติน ฮอฟแมน คงไม่ต้องบรรยายถึงความยอดเยี่ยมในการเล่นเป็นผู้ป่วยออทิสติก เพราะต้องบอกว่าสมกับที่ได้รางวัลดารานำชายยอดเยี่ยมแล้ว บทเรื่องนี้เขียนออกมาได้ยอดเยี่ยมมากเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอาการของโรคออทิสติก เพราะมีครบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ภาษาที่ เวลาพูดจะดูเป็นภาษาเขียนมากกว่าภาษาพูด … พูดซ้ำ ๆ ถามคำถามเดิม ๆ … การไม่สบตาคู่สนทนา … การทำมือ (ที่จะเห็นยกมือมาระดับกลางตัว แล้วทำนิ้วเหมือนปั้นอะไรสักอย่างนั่นแหละ ที่เป็นลักษณะเฉพาะที่พบบ่อยของออทิสติก) การทำอะไรซ้ำ ๆ กินอาการก็ต้องกินเหมือนเดิมทุกวัน ใส่กางเกงในก็ต้องยี่ห้อเดิม ๆ ซื่อจากร้านเดิม เปลี่ยนไม่ได้ เวลาขัดใจหรือกลัว ก็จะมีอาการกรีดร้องเอาหัวกระแทกฝา ซึ่งก็เป็นอาการที่พบได้บ่อย ๆ ในโรคออทิสติก
(อาการหลัก ๆ ของ autistic มีอะไรบ้างอ่านได้ในวิจารณ์เรื่อง I am Sam ครับ)
อีกอย่างที่เห็นในเรื่องนี้ก็คือ ผู้ป่วยออทิสติกนั้นจะมีปัญหาในเรื่องการเข้าใจในอารมณ์ (เรียกว่า metallization) คือจะบอกอารมณ์ตัวเองหรืออารมณ์ของคนอื่นไม่ค่อยได้ อย่างในเรื่อง เมื่อแฟนของชาร์ลี จูบเรย์มอนด์ แล้วถามว่ารู้สึกยังไงบ้าง … แต่เรย์มอนด์ตอบกลับมาว่า “เปียก” (คือถามเป็นอารมณ์ว่า รู้สึกดี ไม่ดี ยังไง … แต่ได้คำตอบมาเป็นกายภาพว่า เปียก แทน) ในออทิสติกเอง อย่างหากดูหนังอยู่แล้วถามว่าคน ๆ นั้นในเรื่องน่าจะรู้สึกยังไง (โกรธ ดีใจ เสียใจ) … ผู้ป่วยออทิสติกจะตอบไม่ได้ … เพราะไม่สามารถเข้าใจในเรื่องอารมณ์ได้
กับอีกอาการหนึ่งที่เห็นได้ก็คือ ผู้ป่วยออทิสติกมักจะเข้าใจภาษาหรือประโยค แบบตรงไปตรงมา ไม่สามารถเข้าใจแบบ abstract ได้ …. เช่นตอนที่ เรย์มอนด์เดินข้ามถนน ข้ามไปถึงตรงกลางถนนแล้วสัญญาณไฟให้ข้ามถนน เปลี่ยนจาก “ข้ามได้” เป็น “ห้ามเดิน” เรย์มอนด์ ก็หยุดเดินซื่อ ๆ กันกลางถนน จนรถบีบแตรกันวุ่นวายก็ไม่ยอมขยับ คือรับรู้แบบตรง ๆ บอกว่า “ห้ามเดิน” ก็ห้ามเดิน ไม่ได้มองว่าตัวเองอยู่กลางถนน หรือที่เรย์มอนด์ดูทีวีรายการตลกที่เล่นมุข (ในเรื่องเรย์มอนด์จะพูดบ่อย ๆ เป็นสิบครั้งได้) โดยในทีวีจะมีคนหนึ่งถามว่า “Who is in the first base” … (ใครอยู่ที่ฐานแรก) … ก่อนที่อีกคนตอบว่า “ก็ ‘who’ ไง” เป็นการเล่นมุข แต่ผู้ป่วยจะไม่เก็ตมุข เพราะรับรู้แบบตรง ๆ ก็จะงงอยู่แต่ว่า “ใครอยู่ที่ฐานแรก” (ไม่เข้าใจว่าในรายการเค้าติ๊ต่างใช้ Who เป็นชื่อคน) ก็จะงงอยู่นั่น …
แต่ต้องชมความทุ่มเทของดัสติน เพราะกว่าที่จะแสดงได้แบบนี้ เขาเล่นเข้าไปอยู่ในสถานบำบัดจริง ๆ เพื่อสังเกตอาการของผู้ป่วยออทิสติกเป็นเวลานาน … จนเล่นหนังจบใหม่ ๆ ก็ยังติดวิธีการเดิมวิธีการพูดแบบในหนังไปอยู่หลายเดือนเลย …
นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
Rain Man (1988) ชายชื่อเรนแมน
หนังเกี่ยวกับบุคคลออทิสติกที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปยังคงเป็นหนังปี 1988 เรื่อง Rain Man กำกับการแสดงโดย Barry Levinson นำแสดงโดย Dustin Hoffman และ Tom Cruise
ทอม ครูส รับบท ชาลี แบ็บบิท ที่ต้องมาทำหน้าที่ดูแลพี่ชายซึ่งเป็นบุคคลออทิสติก ดัสติน ฮอฟแมน รับบท เรย์มอนด์ แบ็บบิท เป็นบุคคลออทิสติกที่ทั้งชีวิตอาศัยอยู่ในสถานฟื้นฟูโดยที่
น้องชายไม่ล่วงรู้จนกระทั่งวันที่พ่อของทั้งคู่ตาย
หนังสร้างเป็น road movies เล่าเรื่องการเดินทางและประสบการณ์ของพี่น้องสองคน ระหว่างทาง เป็นช่วงเวลาที่คนสองคนไปจากกันไม่ได้ อย่างไรก็ต้องร่วมทุกข์ร่วมสุขและเรียนรู้ซึ่งกันและกันไปเรื่อยๆจนกว่าใครบางคนจะบรรลุและเติบโตขึ้น
หนังได้ 4 รางวัลออสการ์ หนังยอดเยี่ยม บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม กำกับการแสดงยอดเยี่ยมและนักแสดงนำฝ่ายชายยอดเยี่ยมคือดัสติน ฮอฟฟ์แมน เขาแสดงท่าทางของบุคคลออทิสติกที่สำคัญ 3 ประการ คือ ไม่สบตาคน ไม่แสดงอารมณ์ทางสีหน้า และไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
เรย์มอนด์มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ด้วย การแพทย์เรียกว่าบุคคลออทิสติกที่มีความสามารถพิเศษว่าออทิสติกซาวองท์ (Autistic Savant)
บุคคลออทิสติกเป็นบุคคลที่มีวิธีพัฒนาตนเองในแบบของตนเองชนิดหนึ่ง ถึงปัจจุบันเราไม่คิดหรือไม่เรียกเด็กออทิสติกว่าเป็นเด็กผิดปกติหรือแม้กระทั่งเด็กป่วยอีกต่อไปแล้ว แน่นอนว่าเขาเกิดมาไม่เหมือนคนอื่นและมีพัฒนาการที่ยากลำบากเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับเด็กทั่วไป(ซึ่งมิได้แปลว่าปกติ) แต่อย่างไรก็ตามเขาก็เป็น “บุคคล” คือ a person
บางสถาบันก็ไม่ใช้คำว่า autistic person หรือบุคคลออทิสติกแล้ว แต่เรียกว่า person with autism คือบุคคลที่มีออทิสซึม จะเห็นว่าการเปลี่ยนคำเรียกหาเหล่านี้อาจจะฟังดูเป็นเรื่องไม่มีสาระสำหรับบางคน แต่แท้จริงแล้วเรื่องนี้มีสาระอย่างมากและเป็นประเด็นสำคัญ(essential issue)ของเรื่องอย่างแท้จริง
บุคคลที่มีออทิสซึมให้ความหมายว่าเขาเป็นบุคคลและมิใช่คนป่วย
กรณีเด็กปัญญาอ่อน เด็กสมาธิสั้น เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ถูกเหมารวมเรียกว่า “เด็กพิเศษ” เพื่อลดอคติ(prejudice)และการตีตรา(stigma)ที่มีต่อเด็ก ซึ่งก็ได้ผลชั่วขณะแต่เมื่อสังคมยังไม่เปลี่ยนท่าทีที่มีต่อเด็กปัญญาอ่อน เด็กสมาธิสั้นหรือเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ ความรู้สึกทางลบที่มีต่อเด็กเหล่านี้ก็ยังคงเกิดขึ้นทั่วไป นำไปสู่วิธีปฏิบัติและวิธีจัดการศึกษาที่ไม่สอดคล้องกับวิธีเรียนรู้ของพวกเขา แม้แต่คำว่า “เด็กพิเศษ” ก็ดูเหมือนจะแปดเปื้อน(contaminated)นัยยะทางลบด้วย
เด็กพิเศษซึ่งรวมถึงเด็กออทิสติกด้วยคือ “เด็กที่มีวิธีพัฒนาการในแบบของตนเอง” ไม่ได้ก้าวไปข้างหน้าแล้วขึ้นบันไดไปเรื่อยๆเหมือนเด็กทั่วไป(ซึ่งมิได้แปลว่าปกติ)
พวกเขามีวิธีเรียนรู้เฉพาะตัว ใช้ตารางสอนคนละใบ เช่น เด็กทั่วไป(ซึ่งมิได้แปลว่าปกติ)เรียนบวก ลบ คูณ หาร ตามลำดับ แต่เด็กพิเศษบางคนอาจจะมีสมองที่ต้องการเรียนรู้เรื่องหาร คูณ ลบ บวก เป็นต้น นี่เป็นการยกตัวอย่างเฉพาะเรื่องคณิตศาสตร์เท่านั้น
หากรวมเอาสาขาวิชาอื่นเข้ามาพิจารณาด้วยก็จะเห็นว่าเด็กพิเศษมีวิธีเรียนรู้ที่มีความจำเพาะเฉพาะตัวและซับซ้อนอย่างมาก แต่ในท้ายที่สุดแล้วพวกเขาสามารถไปถึงขั้นบันไดบนสุดได้เหมือนๆกัน หากพวกเราเข้าใจวิธีเรียนรู้ของพวกเขาดีพอ
ไม่ว่าจะเป็นเด็กทั่วไปหรือเด็กพิเศษ แท้จริงแล้วการเรียนรู้ไม่ต่างกัน นั่นคือการศึกษาที่ดีมีหน้าที่ค้นหาให้พบว่าเด็กแต่ละคนทำอะไรได้บ้างแล้วพัฒนาจากจุดนั้น โดยเริ่มที่สิ่งที่เด็กทำได้ เมื่อเด็กทำได้ก็จะมีกำลังใจทำขั้นต่อไป
เปรียบเหมือนการวางเด็กลงบนบันไดให้ถูกขั้น เด็กก็จะก้าวเดินขึ้นไปได้ ถ้าเราวางเด็กพิเศษคนหนึ่งบนบันไดผิดขั้นคือวางสูงเกินไป เสมือนคาดหวังสูงและกดดัน เด็กทำอะไรก็ไม่ได้จิตใจก็จะท้อถอยและเดินถอยหลังลงบันได
เด็กทั่วไปในห้องเรียนต่างๆทุกวันนี้ก็เป็นเช่นเดียวกัน นั่นคือเราจัดให้นักเรียนสี่สิบคนอยู่ห้องเดียวกัน ชั้นปีเดียวกัน เด็กทุกคนถูกเหมาให้มีความสามารถเท่ากันและต้องทำได้เท่ากัน ผลคือเมื่อทำไม่ได้ก็จะท้อถอยและเดินถอยหลังเข้าคลองเหมือนกัน
ดังนั้นเราควรคิดเรื่องใส่ใจเด็กเป็นรายบุคคลดังที่เรียกว่าเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง ทั้งนี้ยังไม่นับว่าเด็กพิเศษใดๆคือเด็กที่มีพัฒนาการเฉพาะตัว หรือใช้ตารางสอนคนละฉบับกับเด็กทั่วไป การวางเด็กให้ถูกขั้นบันไดเท่ากับให้เด็กสามารถเรียนตามตารางสอนในสมองของตนเองได้
พูดง่ายๆว่าถ้าเราให้เด็กคนละสิบปีเท่ากัน และใส่ใจเด็กแต่ละคนอย่างแท้จริง เด็กบางคนทำนั่นได้ก่อน เด็กบางคนทำนี่ได้ก่อน เมื่อสิบปีผ่านไปสุดท้ายทุกคนทำอะไรได้เหมือนกัน ย้ำว่า
ทำ ไม่ใช่ ท่อง
วางบนบันไดให้ถูก เรียนถ่ายรูป เรียนสะสมเหรียญ
ในหนังเรื่อง Rain man ตอน end credit เราจะเห็นภาพถ่ายฝีมือของเรย์มอนด์ที่เดินถ่ายรูปตลอดทั้งเรื่อง ภาพแรกๆแสดงให้เห็นรูปที่มีองค์ประกอบไม่เป็นเรื่องเป็นราว แต่พอถึงตอนท้ายภาพที่ได้มีองค์ประกอบครบสมบูรณ์แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของเรย์มอนด์ที่ดีขึ้นตามลำดับเมื่อมีโอกาสได้เรียนรู้โลกและชีวิตผ่านการปะทะสังสรรค์กับน้องชาย นั่นคือสุดท้ายเขาก็เรียนถ่ายรูปได้สำเร็จ
ยังมีหนังใหม่ปี 2010 เรื่อง Dear John กำกับการแสดงโดย Lasse Hallström สร้างจากงานเขียนของ Nicholas Spark นำแสดงโดย Channing Tatum และ Amanda Seyfried หนังหวานรักซึ้งตามสไตล์สปาร์ก
นักแสดงอาวุโส Richard Jenkins รับบทพ่อซึ่งเป็นบุคคลออทิสติก จะเห็นว่าบุคคลออทิสติกสามารถเติบโต แต่งงาน และมีบุตรได้ เมื่อภรรยาของเขาถึงแก่กรรมเขาอาศัยอยู่คนเดียวโดยมีบุตรชายมาอยู่ด้วยเป็นบางเวลา เขามีงานอดิเรกคือสะสมเหรียญและเรียนรู้เรื่องราวต่างๆนานาผ่านเหรียญเหล่านั้น เหรียญเป็นเครื่องมือที่เขาใช้เรียนรู้เป็นเครื่องมือส่วนตัวของเขาเอง เหมือนที่เรย์มอนด์ใช้กล้องถ่ายรูป
ต่างกันที่เขามีโอกาสสะสมเหรียญตั้งแต่แรก ขณะที่เรย์มอนด์เพิ่งจะได้ใช้กล้องตามที่เห็นในหนัง
ภาพยนตร์ที่คล้ายกัน
A Few Good Men (1992) เทพบุตรเกียรติยศ
Jerry Maguire (1996) เทพบุตรรักติดดิน
7.1