Liz and the Blue Bird (2018)
เรื่องย่อ
Liz and the Blue Bird (2018) ในปีสุดท้ายของการเรียนมัธยมปลาย เด็กผู้หญิงสองคนในชมรมวงดนตรีทองเหลืองแสดงเพลงที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเทพนิยายที่สอดคล้องกับมิตรภาพของพวกเธอ
Liz and the Blue Bird ลิซแอนด์เดอะบลูเบิร์ด (ญี่ปุ่น: リズと青い鳥; โรมาจิ: Liz to Aoi Tori) เป็นภาพยนตร์อนิเมะแนวชีวิตจากประเทศญี่ปุ่นใน ค.ศ. 2018 ที่ผลิตโดยเกียวโตแอนิเมชัน กำกับโดยนาโอโกะ ยามาดะ และเขียนบทโดยเรโกะ โยชิดะ ซึ่งได้โครงเรื่องจากชุดนวนิยายเรื่อง ฮิบิเคะ! ยูโฟเนียม ที่ประพันธ์โดย Ayano Takeda ภาพยนตร์ได้โครงเรื่องจากนวนิยายเรื่อง Hibike! Yūfoniamu Kitauji Kōkō Suisōgaku-bu, Haran no Dainigakushō Kōhen ที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 2017 ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาคต่อแยกจากอนิเมะโทรทัศน์ ฮิบิเคะ! ยูโฟเนียม โดยจะมุ่งเน้นไปยังเนื้อเรื่องของมิโซเระ โยโรอิสุกะ และ โนโซมิ คาซากิ ตัวละครรองจาก ฮิบิเคะ! ยูโฟเนียม
ภาพยนตร์เข้าฉายเมื่อวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 2018 ในประเทศญี่ปุ่น โดยในสหรัฐภาพยนตร์เข้าฉายแบบจำกัดรอบในวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018 และฉายรอบปฐมทัศน์ในแคนาดาในวันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 2019 ภาพยนตร์ได้รับเสียงชื่นชมจากนักวิจารณ์ในแง่บวกโดยส่วนใหญ่ได้ยกย่องความสัมพันธ์และบุคลิกของตัวละครหลักทั้งสอง เพลงประกอบ และแอนิเมชัน ดูหนังออนไลน์
ผู้กำกับ
นาโอโกะ ยามาดะ
บริษัท ค่ายหนัง
เกียวโตแอนิเมชัน
บันไดนัมโคอาตส์
โพนีแคนยอน
นักแสดง
อัตสึมิ ทาเนซากิ
นาโอะ โทยามะ
โปสเตอร์หนัง
รีวิวหนัง
จิบชา กินเค้ก ให้อาหารตะพาบน้ำ
Liz and the Blue Bird ขวบปีสุดท้ายของช่วงชีวิตนักเรียน ม.ปลาย คงเปรียบได้กับสัญญาณเตือนที่พร่ำบอกว่าหลายสิ่งใกล้ถึงจุดจบ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนที่ต้องลาจาก กิจกรรมชมรมที่ต้องเลิกรา หรือสายสัมพันธ์ระหว่างกันที่เริ่มแยกทาง สิ่งเหล่านี้ช่างเหมือนลมฤดูไม้ใบผลิที่พัดวูบผ่าน เพื่อบอกว่าฤดูหนาวใกล้สิ้นสุดแล้ว และเมื่อไม่มีกรงขังที่ชื่อว่าโรงเรียน-ชมรมอยู่อีกต่อไป เหตุผลอะไรจะยังเหลือไว้เพื่อรั้งเราให้ใกล้กัน?
.
ความสัมพันธ์ระหว่าง Nozomi กับ Mizore กำลังอยู่ในสภาวะเช่นนั้น พวกเธอพยายามเกาะเกี่ยวตัวตนของตัวเองเข้ากับอีกคนไว้ ไม่ให้หนีห่าง แต่ความพยายามนั่นก็ทำได้แค่เพียงผิวเผิน เพราะครั้นจะให้พูดความรู้สึกในใจออกมาตรงๆ ก็คงเกินเลย จนเผลอเปิดเผยเนื้อแท้ข้างในที่ปะปนอารมณ์เห็นแก่ตัวออกไปด้วย บรรยากาศโดยรวมของหนังจึงเคล้าคลอไปด้วยความนิ่งเนิบ ปิดบัง ชวนอึดอัด
.
และด้วยเหตุที่ตัวละครไม่พูดความนัยออกมานี่เองล่ะมั้ง หนังจึงจัดแจงแบ่งเส้นเรื่องที่จะเล่าออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือเรื่องราวในโลกจริงอันมีจุดโฟกัสอยู่ที่ Nozomi กับ Mizore จำกัดสถานที่เฉพาะในโรงเรียน-ห้องชมรมดุริยางค์ และส่วนที่ 2 คือเส้นเรื่องของ ‘ลิซกับนกสีฟ้า’ ซึ่งเป็นเนื้อเรื่องในหนังสือที่พวกเธออ่าน โดยเส้นเรื่องทั้ง 2 นี้ เต็มไปด้วยสิ่งที่ขัดแย้งกันมากมาย ไล่เรียงตั้งแต่ด้านดีไซน์ของโลก, ลายเส้น-สีสัน, และที่สำคัญคือการกักเก็บ-แอบซ่อนความนัยของตัวละคร
.
Liz and the Blue Bird เพราะว่าตัวละครใน ‘ลิซกับนกสีฟ้า’ ดูจะพูดความรู้สึกของตนออกมาได้อย่างตรงไปตรงมา ไม่ปิดบัง ตรงกันข้ามกับเส้นเรื่องแรก ซึ่งในความเป็นเรื่องแต่งที่อยู่ในเรื่องแต่งอีกทีของตัวมันเอง ทำให้อาจมองได้ว่าเส้นเรื่องของ ‘ลิซกับนกสีฟ้า’ ที่มีลักษณะ ‘พูดออกมาเยอะ’ นั้น แท้จริงแล้วคือการเปรียบเปรยถึงความสัมพันธ์ของ Nozomi กับ Mizore ในเส้นเรื่องหลักที่มีลักษณะ ‘พูดออกมาน้อย’ ไปโดยปริยาย
.
แต่หากจะบอกว่าเส้นเรื่องของ Nozomi กับ Mizore ที่มีลักษณะ ‘พูดออกมาน้อย’ นั้น ‘แสดงออกมาน้อย’ ด้วยก็คงจะผิดฝาผิดตัวไปหน่อย เพราะเอาเข้าจริงอารมณ์-ความรู้สึกส่วนใหญ่ภายในเส้นเรื่องของ Nozomi กับ Mizore ไม่ได้ถูกนำเสนอออกมาผ่านบทพูดสนทนาสักเท่าไหร่ หากแต่ถูกแสดงออกมาผ่านเทคนิควิธีการทางภาพยนตร์ต่างๆ ทางงานภาพหรือเสียง เช่นการจับจ้องไปที่อากัปกิริยาท่าทางเล็กๆ น้อยๆ โดยเฉพาะส่วนขา-เท้าในจังหวะก้าวเดิน, การจัดองค์ประกอบภาพ, สิ่งของที่ปรากฎ, เสียงประกอบฉาก (Foley), และดนตรีที่พวกเธอเล่นบรรเลง ในแง่นี้ อารมณ์ความรู้สึกที่ตัวละครไม่เอ่ยปากพูด จึงถูกโอนย้ายไปอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ ภายในจอภาพแทน
.
และเมื่อลองพิจารณา 2 เส้นเรื่องข้างต้นรวมกัน ก็อาจทำให้ตีความได้ว่า ใครสักคนในวงความสัมพันธ์นี้คงมีตำแหน่งแทนเป็น ‘นกสีฟ้า’ ที่ถึงฤดูกาลต้องออกโผบิน ส่วนใครอีกคนคงจะแทนเป็น ‘ลิซ’ ผู้ต้องการเหนี่ยวรั้งนกตัวนั้นไว้สุดหัวใจ
.
ความสัมพันธ์ในเรื่องจึงมีความหมายใกล้เคียงกับการพันธนาการ Liz and the Blue Bird เป็นกรงนกที่กักขังอิสระภาพไว้ไม่ให้บินหนีไปไหน ซึ่งต่อมา ตัวหนังก็ได้เสนอความหมายของความสัมพันธ์อีกรูปแบบหนึ่ง อันเป็นฉากจบของหนังสือ นั่นคือการที่ลิซยอมเปิดกรงให้นกสีฟ้า ได้สยายปีกโบยบินสู่โลกกว้างอย่างเสรี
.
ใจความของ Liz and the Blue Bird จึงดูเป็นเรื่องของการปะทะกันระหว่างการพันธนาการและการปลดปล่อย ว่าหนทางไหนจะเป็นคำตอบสุดท้ายของวงความสัมพันธ์นี้ พร้อมกันก็ได้เสนออีกหนึ่งประเด็นชวนคิด ต่อเนื่องจากบทสนทนาในฉากไคลแมกซ์ ที่ได้เปิดเผยว่าทั้ง Nozomi และ Mizore ต่างต้องการกักขังและปลดปล่อยกันและกันไปพร้อมๆ กันตลอดมา
.
มันจึงไม่ได้มีใครถูกเจาะจงให้เป็น ‘ลิซ’ หรือ ‘นกสีฟ้า’ แบบแน่นอนตายตัว หากแต่ทั้งสองล้วนเป็นทั้ง ‘ลิซ’ และ ‘นกสีฟ้า’ ของกันและกันมาโดยตลอดต่างหาก
.
และด้วยความที่ตัวหนังไม่ได้ให้คำตอบอะไรที่แน่นอน ว่าแต่ละฉาก, แต่ละตอน, แต่ละการกระทำนั้นมีความหมายแอบแฝงอะไร หรือว่าสุดท้ายแล้วความสัมพันธ์ของพวกเธอทั้งคู่ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบไหน คำถามที่ไม่มีคำตอบตายตัวเหล่านี้เอง จึงเปรียบเสมือนพื้นที่ว่างทางความคิด ที่หนังเปิดโล่งไว้ให้ผู้ชมได้เติมเต็มความหมายใส่เข้าไปด้วยตนเอง แล้วแต่ชีวิต ประสบการณ์ และมุมมองต่อโลกที่แตกต่างกันของใครแต่ละคน
.
จากทั้งหมดทั้งมวลที่ว่าไป ทำให้กล่าวอย่างไม่เคอะเขินได้เลยว่า Liz and the Blue Bird คือผลงานการกำกับของคุณ Yamada Naoko (K-ON!, A Silent Voice, Heike Monogatari) ที่เธอได้แสดงฝีมือออกมาอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ผ่านการหยิบจับเรื่องราวความสัมพันธ์เล็กๆ (หากแต่ซับซ้อน) ของ 2 ตัวละครรองจากอนิเมะซีรี่ย์ Hibike! Euphonium มาเปลี่ยนเลนส์ ปรับจุดโฟกัส และขยับขยายเนื้อหาใหม่ จนสามารถเล่ามันออกมาได้อย่างแพรวพราว ทั้งในทางเทคนิคภาพยนตร์อันปรากฎเป็นรูปธรรม และในทางหัวใจนามธรรมที่อาจไม่ปรากฎ แต่ทั้งหมดกลับแผ่พลังออกมาให้สัมผัสรับรู้ได้อย่างแจ่มชัดโดยทั่วกัน
.
Liz and the Blue Bird ปล. ในขณะที่ Liz and the Blue Bird เป็นหนังประเภทที่จะหาคนพูดความในใจออกมาตรงๆ แทบไม่ได้ สิ่งเดียวที่เปิดปากพูดอย่างเสียงดังฟังชัดที่สุดเห็นจะเป็นเครื่องดนตรีที่พวกเธอเล่น ดนตรีเท่านั้นที่ไม่มีลับลมคมใน ดนตรีเท่านั้นที่ไม่เคยโกหก มันแสดงออกอย่างตรงไปตรงมาตามแต่หัวใจของผู้เล่นบรรเลง ในแง่นี้ ธีมที่เป็น ‘วงดนตรี’ ตั้งแต่ Hibike! Euphonium จึงยังคงถ่ายทอดมาสู่ Liz and the Blue Bird ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
ภาพยนตร์ที่คล้ายกัน
Nausicaa of the Valley of the Wind (1984) มหาสงครามหุบเขาแห่งสายลม
Ocean Waves (1993) โอเชียน เวฟส์ สองหัวใจ หนึ่งรักเดียว
Porco Rosso (1992) พอร์โค รอสโซ สลัดอากาศประจัญบาน
7.7