James Bond 007 Goldfinger (1964) เจมส์ บอนด์ 007 ภาค 3: จอมมฤตยู 007
เรื่องย่อ
เจมส์ บอนด์ (Sean Connery) จะต้องประมือกับศัตรูที่ชื่อ ออริก โกลด์ฟิงเกอร์ (Gert Frobe) ที่มีแผนจะปั่นราคาทองคำของตนให้สูงขึ้น โดยนำระเบิดรังสีไปถล่มที่ฟอร์ด น็อกซ์ แหล่งเก็บทองคำของอเมริกา บอนด์จึงต้องหยุดมัน พร้อมทั้งได้เจอกับ James Bond 007 Goldfinger พุซซี่ กาลอร์ (Honor Blackman) สาวบอนด์ที่มีชื่อประหลาดที่สุด เจมส์ บอนด์ (ฌอน คอนเนอรี่) ได้รับมอบหมายให้สืบสวน ออริก โกลด์ฟิงเกอร์ (Gert Fröbe) นักธุรกิจผู้มั่งคั่งที่ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการลักลอบขนทองคำผิดกฎหมายทั่วโลก
บอนด์เริ่มภารกิจด้วยการตามรอยโกลด์ฟิงเกอร์ไปยังไมอามี ซึ่งเขาได้ใช้เล่ห์กลเอาชนะเจ้าพ่อทองคำรายนี้ในเกมไพ่ ทำให้โกลด์ฟิงเกอร์ไม่พอใจ และบอนด์ก็ได้พบกับ จิล มาสเตอร์สัน (Shirley Eaton) ผู้ช่วยสาวของโกลด์ฟิงเกอร์ อย่างไรก็ตาม ไม่นานเธอกลับถูกฆาตกรรมอย่างโหดเหี้ยมโดยถูกเคลือบด้วยสีทองทั้งตัว ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในฉากที่โด่งดังที่สุดของภาพยนตร์ เมื่อบอนด์ติดตามโกลด์ฟิงเกอร์ต่อไป เขาได้ค้นพบแผนการที่อันตรายยิ่งกว่าการลักลอบขนทองธรรมดา—”Operation Grand Slam” ซึ่งเป็นแผนการที่จะวางระเบิดนิวเคลียร์ใน Fort Knox (คลังทองคำแห่งชาติของสหรัฐฯ) เพื่อทำให้ทองคำของสหรัฐฯ ปนเปื้อนรังสีและไร้ค่า ส่งผลให้ราคาทองคำของโกลด์ฟิงเกอร์พุ่งสูงขึ้นมหาศาล ตลอดการผจญภัย บอนด์ต้องเผชิญหน้ากับศัตรูที่ทรงพลัง
ผู้กำกับ
- Guy Hamilton
บริษัท ค่ายหนัง
- Eon Productions
นักแสดง
- Sean Connery
- Honor Blackman
- Gert Fröbe
- Shirley Eaton
- Tania Mallet
- Harold Sakata
- Bernard Lee
- Martin Benson
โปสเตอร์หนัง
รีวิว
ตอนจบของ From Russia with Love (1963) ได้ทิ้งท้ายไว้ว่าเจมส์ บอนด์จะกลับมาในตอน Goldfinger James Bond 007 Goldfinger แค่นี้ก็ทำให้แฟนๆ ตั้งตารอคอยเต็มที่ แม้ช่วงแรกของการสร้างจะมีเรื่องให้ทีมงานเหนื่อยกันนิดหน่อยก็ตาม ความเหนื่อยแรกคือคดีความระหว่าง Kevin McClory กับ Ian Fleming ที่ยังไม่จบสิ้น ซึ่งก็ขอย้อนเล่าเล็กน้อยครับ อย่างที่ทราบกันว่าก่อนที่บอนด์จะได้รับการสร้างเป็นหนังโดย Harry Saltzman และ Albert R. Broccoli นั้น Fleming เองเคย “เกือบได้ทำหนังบอนด์” โดยเขาได้รู้จักกับ McClory และ Jack Whittingham
ก่อนจะคุยกันถูกคอแล้วตกลงว่าจะทำหนังบอนด์กัน โดยทั้ง 3 ต่างพยายามหาทางหาทุนและสร้างบทหนังที่ชื่อ Thunderball ขึ้นมา แต่ปรากฏว่าตอนนั้นทำได้แค่ “จะ” ก่อนจะลงเอยที่ไม่ได้สร้าง จากนั้นก็แยกทางกันไป แล้ว Fleming ก็ตัดสินใจเอาบทหนังที่ไม่ได้สร้างนั้นแปลงเป็นนิยายแทน ทีนี้พอ McClory รู้เข้าเลยพยายามอ้างสิทธิ์ในฐานะผู้ร่วมสร้างสรรค์เนื้อเรื่องของบอนด์ตอน Thunderball ถึงขั้นขอให้ศาลยับยั้งการตีพิมพ์นิยายตอนที่ว่าเลยทีเดียว แต่ศาลก็ตัดสินให้นิยายตีพิมพ์ออกมาได้
จากนั้นพอหนังบอนด์ออกมาดัง เขาเลยตามทวงสิทธิ์ในหนังบอนด์อันนำมาสู่คดีความที่ยืดยาวระหว่าง McClory กับ Fleming ที่ในตอนนั้นยังไม่เสร็จสิ้น ทำให้ความหวังที่ทีมงานจะเอา Thunderball มาทำเป็นหนังตอนที่ 3 ต้องเป็นหมันลงไป แล้วก็ตัดสินใจเข็น Goldfinger มาขึ้นจอใหญ่แทน กระนั้นหนังก็มีปัญหาระลอก 2 เมื่อ Terence Young ผู้กำกับจาก 2 ภาคแรก ตัดสินใจถอนตัวหลังจากการเจรจาเรื่องเงินไม่เป็นไปตามที่เขาเห็นสมควร เขาเลยโบกมืออำลาไปกำกับหนัง The Amorous Adventures of Moll Flanders ที่มี Kim Novak แสดงนำแทน (ซึ่งหนังเรื่องนี้ก็ประสบความสำเร็จ ได้ชื่อว่าเป็นหนังอังกฤษที่ได้รับความนิยมสูงเรื่องหนึ่งประจำปี 1965)
แม้เก้าอี้ผู้กำกับจะว่างลง แต่โชคดีที่ตอนนั้น James Bond 007 Goldfinger Fleming ได้คุยกับ Guy Hamilton ผู้กำกับชาวอังกฤษที่รู้จักกับ Fleming มาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 และยังเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่ Fleming อยากให้มาทำหนังบอนด์ตอน Dr.No ด้วย แต่ตอนนั้นเขาปฏิเสธไปน่ะครับ แต่ลองว่าหนังบอนด์ดังขนาดนี้ เขาย่อมตบปากมาทำให้แบบไม่ยาก โดย Hamilton เองมีไอเดียมาเสมอ Fleming ด้วยครับ ว่าเขาอยากลดความเป็นซูเปอร์แมนของเจมส์ บอนด์ลง ไม่อยากเน้นที่ตัวเอกให้มากเกินไปแบบ 2 ภาคแรก แต่จะหันไปเน้นถึงการแสดงอำนาจกับความร้ายกาจของฝ่ายผู้ร้ายให้ถึงใจแทน ซึ่ง Fleming ก็เห็นด้วยครับ จึงเชิญ Hamilton มาทำ Goldfinger ทันที ด้านบทนั้น Richard Maibaum เจ้าเก่าก็กลับมาแปลงบทจากนิยายให้ ซึ่งเขาได้ทำการนั่งอ่านนิยายอย่างละเอียดและอุดทุกรูรั่วที่มี ไม่ว่าจะความไม่สมเหตุสมผลหรือการตัดประเด็นที่ไม่ใช่สาระออกไปบ้าง เรียกว่าใส่ใจทุกรายละเอียดเต็มที่
แต่ผลที่ได้กลับทำให้ Maibaum งงเต็กครับ เพราะ Harry Saltzman ดันไม่ปลื้ม แล้วจ้าง Paul Dehn นักเขียนบทมือรางวัลออสการ์จากเรื่อง Seven Days to Noon มาร่างบทแทน ทีนี้ปรากฏว่า Connery ก็ไม่ชอบบทร่างนี้ แต่เขาชอบบทของ Maibaum มากกว่า ทำให้ Maibaum ถูกตามตัวกลับมา แล้วก็มาร่วมงานกับ Dehn ว่าง่ายๆ คือให้ทั้งสองช่วยกันเกลาบทดีกว่า เพราะจะว่าไปแล้วบทที่ทั้งคู่เขียนก็มีดีคนละแบบ เลยจับเอาจุดดีของแต่ละบทมาเขย่าให้เข้ากัน แล้วก็กำจัดจุดอ่อนที่มีในนั้นให้หมด แล้วความทุ่มเทของทั้งคู่ก็ก่อให้เกิดบทภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ 007 เรื่อง Goldfinger ขึ้นมา ซึ่งบทนี้ไม่ได้เพียงแต่ยอดเยี่ยมเท่านั้นนะครับ แต่ยังเป็ยบทภาพยนตร์ที่กลายเป็นต้นแบบให้หนังบอนด์แทบทุกตอนต่อจากนี้ต้องเดินตามกันเป็นแถว
คราวนี้ เจมส์ บอนด์ (Sean Connery) ต้องเผชิญกับวายร้ายผู้คลั่งไคล้ทองคำนามว่าออริก โกลด์ฟิงเกอร์ (Gert Frobe) ที่หมายใช้ทองสร้างความปั่นป่วนและทำเงินให้ตัวเอง งานนี้บอนด์เลยต้องยับยั้งแผนชั่ว แต่ไม่ง่ายครับเพราะโกลด์ฟิงเกอร์มีสมุนทรงพลังอย่างอ๊อดจ๊อบ (Harold Sakata) และหัวหน้านักบินสาวชื่อพุซซี่ กาลอร์ (Honor Blackman) ที่เย็นชาต่อบอนด์เหลือเกิน (แต่คงเดาได้ใช่ไหมครับว่าไม่พ้นเสน่ห์บอนด์ไปได้หรอก) แต่อย่างน้อยงานนี้บอนด์ก็มีพันธมิตรอย่างเฟลิกซ์ ไลเตอร์ (Cec Linder) มาช่วยรับมือมันอีกแรงหนึ่ง
ภาคนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นต้นแบบสูตรสำเร็จแห่งหนัง 007 และหนังแอ็กชันแนวตลาดทั้งมวล ไล่มาตั้งแต่พระเอกฉลาดหัวไว ตัวร้ายมีแผนระดับโลก พร้อมมือขวาที่แกร่งสุดขีด มีนางเอกสวย อัดแน่นด้วยแอ็กชัน มุกตลก ตามด้วยฉากบู๊อลังการ ก่อนปิดเรื่องด้วยไคลแม็กซ์ชวนลุ้น มิหนำซ้ำยังพ่วงขายซาวน์แทร็กอีกด้วย เพราะนี่คือ 007 ตอนแรกที่มีเพลงเปิดเรื่องแบบเป็นทางการ ขับร้องอย่างทรงพลังโดย Shirley Bassey ลองหาฟังดูครับ เพราะมากจริงๆ
นี่ยังเป็นตอนที่ Q (Desmond Llewelyn) เริ่มมีบทบาทและคาแรคเตอร์เด่นไม่แพ้ M (Bernard Lee) และ มิสมันนี่เพนนี (Lois Maxwell) ฉากที่แฟนๆ ชื่นชอบหนีไม่พ้นตอน Q สาธยายว่ารถแอสตัน มาร์ติน ดีบี5 รถที่เต็มไปด้วยเขี้ยวเล็บมันทำงานอย่างไร James Bond 007 Goldfinger แล้วบอนด์ก็คอยกวนประสาทเป็นพักๆ จน Q ต้องพูดประโยคติดปากว่า “ตั้งใจฟังหน่อย 007” และ “กรุณาคืนของกลับมาในสภาพเดิมด้วยนะ” และมันก็ไปแล้วไปลับ กลับมาแต่ซากทุกที จัดว่าเป็นบอนด์ตอนที่ยอดเยี่ยมไร้เทียมทานครับ มันส์มาก สนุก ตื่นเต้น มีขำเป็นพักๆ และตัวร้ายอย่างโกลด์ฟิงเกอร์ก็ร้ายจัด ตอนแรกบอนด์นึกว่าพี่แกจะวางแผนขโมยทองจากฟอร์ดน็อกซ์ (คลังเก็บทองของอเมริกา) แต่ที่ไหนได้ แผนหมอนี่เหนือเมฆกว่านั้นมากครับ เป็นอะไรต้องไปชมกัน บอกได้แค่ว่าด้วยความฉลาดความเหี้ยม และแผนการของนายคนนี้ แฟนๆ เลยยกให้เป็นหนึ่งในวายร้ายชั้นยอดที่เกือบสังหารบอนด์สำเร็จ
อันว่าความร้ายแบบน่ายกนิ้วของโกลด์ฟิงเกอร์นั้น เริ่มจากแผนก่อการโฉดที่ดูแฟนตาซีเกินไปหรือเอาแต่หมายจะครองโลกอย่างเดียว ทว่าสิ่งที่เขาต้องการกลับเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ มันคือความโลภที่ใครๆ ก็อาจเป็นได้ ทำให้นายคนนี้ดูร้ายได้สมจริง ไม่โอเวอร์ ยิ่งไปกว่านั้น แฟนบอนด์พอมาดูบอนด์ตอนหลังๆ อาจมีบางตอนที่ชวนให้บ่นว่า “หัวหน้าผู้ร้ายมันก็เจอบอนด์ตั้งแต่ตอนต้นเรื่องนี่หว่า ทำไมไม่สอยมันซะเลยเล่า จะได้หมดเรื่องไม่มีใครมาขัดขวางแผนการณ์” แต่กับบอนด์ตอนนี้ การที่บอนด์ไม่ถูกโกลด์ฟิงเกอร์เก็บนั้น มันมีสาเหตุที่น่าฟังครับ… ถ้าไม่อยากทราบก็ข้ามย่อมหน้าถัดไปเลยนะครับ
การที่โกลด์ฟิงเกอร์นอกจากจะไม่เก็บบอนด์แล้วยังจับตัวไว้อีกต่างหาก ก็เพราะ โกลด์ฟิงเกอร์รู้ดีครับว่า ตอนนี้ทางการส่งสายลับมาสืบเพราะสงสัยเขา แต่ก็ยังไม่มีหลักฐาน บอนด์เลยมีหน้าที่ต้องหาหลักฐานไปยืนกราน แต่ปะเหมาะเคราะห์ร้าย บอนด์โดนจับได้ โกลด์ฟิงเกอร์ก็คิดจะสังหารบอนด์ซะ แต่บอนด์ก็ใช้เหตุผลว่า “หากโกลด์ฟิงเกอร์ฆ่าเขา ทางการจะแน่ใจทันทีว่าโกลด์ฟิงเกอร์มีแผนร้าย และจะส่งสายลับคนใหม่มาขัดขวางแบบเต็มรูปแบบ” ด้วยเหตุนี้เอง โกลด์ฟิงเกอร์จึงไม่สังหารบอนด์ครับ เป็นการมองการณ์ไกลทีเดียว เพื่อกันไม่ให้ทางการมีหลักฐานและส่งคนมาขัดขวางได้ และยังเป็นการประวิงเวลา เลี้ยงบอนด์ไว้ (แบบไม่ให้ติดต่อกับทางการ) ทางการก็ไม่สามารถขยับตัวได้ แบบนี้เรียกว่าเดินหมากได้ฉลาดดีแท้ แต่แล้วใครจะนึกว่า โกลด์ฟิงเกอร์ต้องมาแผนล้มเพราะเสน่ห์ของบอนด์ที่มีต่อผู้หญิง!
เป็นภาพยนตร์เจมส์ บอนด์เรื่องที่สาม และเมื่อออกฉายในปี 1964 James Bond 007 Goldfinger ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นภาพยนตร์ทำเงินเรื่องแรกของซีรีส์นี้ ทำให้ OO7 กลายเป็นภาพยนตร์ขวัญใจคนดูอย่างมั่นคง ทั้ง Dr No และ From Russia with Love ต่างก็ประสบความสำเร็จ แต่ Goldfinger กลับทำรายได้แซงหน้าทั้งสองเรื่องในบ็อกซ์ออฟฟิศ และในขณะเดียวกันก็วางแนวทางให้กับภาพยนตร์เจมส์ บอนด์เกือบทุกเรื่องที่ตามมาหลังจากนั้น ภาพยนตร์เรื่องนี้มีสิ่งที่น่าชื่นชมมากมายอย่างไม่ต้องสงสัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงประกอบที่น่าจดจำของเชอร์ลีย์ บาสซีย์ ซึ่งยังคงเป็นหนึ่งในเพลงที่ดีที่สุด กาย แฮมิลตันกำกับได้อย่างมั่นใจ โลเคชันก็ยอดเยี่ยม
และฌอน คอนเนอรี่ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของความเท่ในบทเจมส์ บอนด์อีกครั้ง แม้ว่าเขาจะไม่ได้ดูคุกคามเหมือนในสองภาคแรกก็ตาม อย่างไรก็ตาม เขายังคงเป็นตัวละครที่น่าเชื่อถือ และพบว่าตัวเองตกอยู่ในอันตรายอย่างแท้จริงในภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยต้องอาศัยไหวพริบเพื่อเอาชีวิตรอด โกลด์ฟิงเกอร์เป็นหนึ่งในตัวร้ายของเจมส์ บอนด์ที่รับบทโดยเกิร์ต โฟรบ ซึ่งแสดงได้อย่างเป็นกันเองและประสบความสำเร็จในการสร้างตัวละครที่มีความสมบูรณ์มากกว่าตัวร้ายมิติเดียวหลายๆ ตัวจากภาพยนตร์ในภายหลัง ในขณะเดียวกัน พุสซี่ กาลอร์ ที่มีชื่อที่ไพเราะก็เป็นหนึ่งในสาวเจมส์ บอนด์ที่ดีที่สุด ฮอนเนอร์ แบล็กแมนรับบทเป็นผู้หญิงที่มีจิตวิญญาณและสติปัญญาที่แท้จริง และเป็นเรื่องน่าเสียดายที่เธอไม่ได้ออกจอบ่อยกว่านี้
โกลด์ฟิงเกอร์ยังได้แนะนำองค์ประกอบหลายอย่างซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสิ่งที่ซ้ำซากจำเจในซีรีส์เจมส์ บอนด์ เป็นครั้งแรกที่บอนด์ไปเยี่ยมเวิร์กช็อปของคิวเพื่อไปรับอุปกรณ์ของเขา และเป็นครั้งแรกที่เขาได้รับอุปกรณ์สุดเก๋ไก๋ที่บรรจุอยู่ในรถแอสตัน มาร์ตินอันโด่งดังและมีสไตล์ นอกจากนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังแทรกอารมณ์ขันเข้าไปมากกว่าภาคก่อนๆ อีกด้วย โดย OO7 มักจะพูดประโยคเด็ดๆ บ่อยขึ้น และมีการใช้โทนที่ค่อนข้างจะแปลกประหลาดในการดำเนินการ ในบทของอ็อดจ็อบ ฮาวเวิร์ด ซาคาตะเป็นคนแรกในบรรดาลูกน้องที่เงียบขรึมแต่มีพลังทำลายล้างสูงหลายต่อหลายคน เขาไม่เก่งเท่า Red Grant ใน From Russia with Love (ผู้พูด) แต่หมวกมรณะของเขาน่าจดจำ และเขาเป็นคู่ต่อสู้ที่น่าเกรงขามของบอนด์
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะดี แต่ก็อาจโต้แย้งได้ว่า Goldfinger มีอิทธิพลเชิงลบต่อผู้สืบทอดหลายราย เนื่องจากประสบความสำเร็จอย่างมาก ผู้สร้างบอนด์จึงเชื่อมั่นว่าภาพยนตร์ OO7 ที่จะออกฉายในภายหลังควรดำเนินตามแนวทางที่นำโดยอุปกรณ์และเสียดสีแบบเดียวกัน แต่ในขนาดที่ยิ่งใหญ่กว่า เป็นผลให้ Goldfinger เริ่มเปลี่ยนจากโทนที่ค่อนข้างจริงจังและแข็งกร้าวของสองภาคแรกไปสู่ภาพที่สวยงามและเบาสมองซึ่งจะมาครอบงำแฟรนไชส์ในช่วงทศวรรษ 1970 อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในแง่มุมของตัวเอง Goldfinger ถือเป็นหนึ่งในภาพยนตร์บอนด์ที่ดีที่สุด และดีกว่าภาพยนตร์หลังๆ ที่พยายามเลียนแบบและเอาชนะมากที่สุด ส่วนตัวแล้ว ฉันชอบภาพยนตร์ที่เข้มข้นกว่าในแฟรนไชส์มากที่สุด โดยเฉพาะ From Russia with Love แต่ Go
ดูหนังออนไลน์ ภาพยนตร์ที่คล้ายกัน
James Bond 007 Goldfinger (1964) เจมส์ บอนด์ 007 ภาค 3: จอมมฤตยู 007
James Bond 007 Thunderball (1965) เจมส์ บอนด์ 007 ภาค 4: ธันเดอร์บอลล์ 007
For Your Eyes Only 007 (1981) เจมส์ บอนด์ 007 ภาค 12: เจาะดวงตาเพชฌฆาต
James Bond 007 Moonraker (1979) เจมส์ บอนด์ 007 ภาค 11: พยัคฆ์ร้ายเหนือเมฆ
JAMES BOND 007 THE SPY WHO LOVED ME (1977) เจมส์ บอนด์ 007 ภาค 10: พยัคฆ์ร้ายสุดที่รัก
6.9