Inside out (2015) มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง
เรื่องย่อ
ในศูนย์บัญชาการ ซึ่งเป็นศูนย์ควบคุมภายในความคิดของไรลีย์ เด็กหญิงวัย 11 ขวบ อารมณ์ทั้งห้ากำลังทำงานอย่างหนัก พวกเขานำทีมโดย ความสุข ผู้มองโลกในแง่ดี ภารกิจของเธอคือการทำให้แน่ใจว่าไรลีย์จะมีความสุขอยู่เสมอ ความกลัวคอยดูแลเรื่องความปลอดภัย ความโกรธคอยรับประกันความยุติธรรม และความรังเกียจที่คอยป้องกันไม่ให้ไรลีย์ต้องบอบช้ำ ทั้งทางร่างกายและสังคม ความเศร้าไม่ค่อยแน่ใจว่าหน้าที่ของเธอคืออะไร และพูดตรงๆ เลยว่า คนอื่นก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน
ขอให้สนุกกับการดูหนังออนไลน์ หนังการ์ตูน เรื่อง Inside out (2015) มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง หนังประเภท Adventure ผจญภัย เว็บดูหนัง KUBHD.COM ดูหนังออนไลน์ฟรี หนังไทย หนังต่างประเทศมากมายกว่า 10,000 เรื่อง หนังใหม่ ดูหนัง ออนไลน์ ดูฟรี หนังไม่กระตุก ดูหนังชัดชนโรง หนังพากย์ไทย ซับไทย เต็มเรื่องHD หนังใหม่อัพเดททุกวัน หนังอัพเดทตลอด 24 ชั่วโมง ดูหนัง 2023 ดูหนังบนมือถือ Android iOS
ผู้กำกับ
พีต ดอกเตอร์
บริษัท ค่ายหนัง
- Walt Disney Pictures
- Pixar Animation Studios
นักแสดง
- Amy Poehler
- Phyllis Smith
- Bill Hader
- Lewis Black
- Mindy Kaling
โปสเตอร์หนัง
รีวิวหนัง
Wasant Tong Suthanyaphruet
[Movie Review] – Inside Out (2015)
คะแนน A
ก่อนอื่นต้องบอกว่าน่าทึ่งมาก Inside Out หากดูผ่านๆก็เหมือนจะแค่งานขายไอเดียที่โดดเด่นเรื่องหนึ่ง แต่หากรับชมแบบเก็บรายละเอียดแล้ว นี่คือแอนิเมชั่นที่เล่าเรื่องได้ดีและสอดแทรกแง่มุมค่อนข้างยอดเยี่ยมเอามากๆ Pete Docter นอกจากความสามารถในด้านการกำกับ Monsters, Inc. (2001) และ Up (2009) ยังเป็นครีเอทีฟที่หาตัวจับยากของค่าย Pixar มีส่วนร่วมในความสำเร็จของผลงานมากมาย Inside Out เป็นงานสุดหินและแสนสาหัส ถึงขนาดเคยตัดสินใจลาออกมาแล้ว เพียงเพราะรุ้สึกว่าองค์สามของเรื่องยังไม่ดีพอ ซึ่งในช่วงแห่งความ Sad(ness) เขาจึงค้นพบว่าอารมณ์ดังกล่าวสำคัญไม่แพ้ Fear, Disgust, Anger หรือ Joy ในการผลักดันชีวิตคนเราให้ดีขึ้น อันเป็นที่มาของบทสรุปอันน่าประทับใจของ Inside Out ในที่สุด ?!!!
แม้ว่าจะเป็นแอนิเมชั่นที่ฉาบความน่ารักสดใสไว้ภายนอก แต่โครงสร้างภายในของหนังนั้น Pete Docter นำเสนอกลไกการทำงานในหัวมนุษย์ ผ่านตัวละครทั้ง 5 ที่ทำหน้าที่กำหนดพฤติกรรม และจัดการรักษาความทรงจำต่างๆ โดยใช้อารมณ์เป็นตัวรองรับในการรับรุ้ และพัฒนาสติปัญญาและร่างกาย บทหนังสื่อสารในจุดนี้ได้ถุกต้องตามหลักจิตวิทยา ที่แท้จริงแล้วอารมณ์เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ใช้ตัดสินความถูกและผิดในสิ่งต่างๆ ก่อนจะประมวลค่าออกมาเป็นเหตุผลในลำดับถัดมา กล่าวคือเหตุผลจะไม่มีทางเกิดหากปราศจากอารมณ์ นอกจากนี้ยังเป็นปลายทางในการตอบสนองที่เหมาะสมจนมีคุณค่าขึ้นมา กระทั่งคนส่วนใหญ่เกิดความเข้าใจผิดว่าอารมณ์คือสิ่งที่แย่กว่าเหตุผลเสมอ ทั้งที่สองสิ่งเป็นอะไรที่ต้องเกื้อกูลกันตลอดเวลาเสมือนขาดกันไม่ได้แยกกันไม่ออก ดังเช่นในฉากมากมายที่หนังถ่ายทอดให้ดูน่ารักขบขัน แต่กลับให้เห็นชัดเจนในทฤษฏีข้างต้นที่คนเขียนบทศึกษามาอย่างรอบคอบ
นอกจากนั้นการเลือกใช้อารมณ์ที่(วางตนเอง)เป็นศูนย์กลางอย่าง Joy ก็เป็นอะไรที่เหมาะสมและยอกย้อนสุดๆ เพราะมุมหนึ่งความสุขเป็นอะไรที่น่าถวิลหาต้องการอยู่แล้ว แต่บทหนังก็แสบสันต์ด้วยการให้เห็นว่าอารมณ์อื่นๆก็ยังมีประโยชน์แก่ Riley ด้วยเช่นกัน อาทิ Fear ปกป้องเธอจากอันตราย รวมถึงลดทอนความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น, Disgust ช่วยให้เธอออกห่างต่อสิ่งที่จะนำพาความเจ็บป่วยทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ, Anger คอยสร้างความมุ่งมั่นและเรียกร้องความยุติธรรม จนผุ้ชมคล้อยตามได้ไม่ยากว่า Sadness คืออารมณ์ที่ไร้ค่าและไม่มีประโยชน์ใดๆ ..ทั้งที่ทางจิตวิทยาการมองโลกในแง่บวกเกินไป ก็ส่งผลกระทบด้านลบได้ไม่แพ้กัน เช่น ความเพียรในการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อฟันฝ่าอุปสรรค ย่อมน้อยกว่า บุคคลที่มองโลกแง่ร้าย มักคอยระแวดระวัง ใคร่ครวญก่อนการตัดสินใจ และเตรียมตัวเองให้พร้อมอยู่เสมอ ดังนั้นอารมณ์เชิงบวกอย่าง Joy ไม่สามารถใช้สร้างวุฒิภาวะและผลักดันชีวิตคนเราโดยลำพัง แต่เป็นอารมณ์ด้านลบอื่นๆต่างหาก ที่เป็นตัวแปรให้มนุษย์ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงตัวเอง
ด้านรายละเอียดอื่นๆ Inside Out นอกจากให้เห็นการทำงานในหัวเราแล้ว หนังยังเล่นประเด็นเกี่ยวกับอัตลักษณ์ที่บ่มเพาะจากความทรงจำหลักในชีวิตครั้งยังเป็นเด็ก ซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตไปเป็นวัยรุ่นหรือผุ้ใหญ่อย่างไรอีกด้วย.. บทหนังเข้าใจถ่องแท้ว่าความทรงจำในอดีตคือสิ่งที่เปราะบางและสามารถแปรสภาพได้ หากตัวละครไปพบเจอเหตุการณ์ดี-ร้ายที่ผ่านเข้ามาในปัจจุบันขณะ ตลอดเรื่องจึงเห็นว่า Joy พยามปกป้องลุกบอลสีทองอย่างสุดชีวิต ไม่ให้มันสูญหายหรือโดน Sadness มาแตะให้ต้องเปลี่ยนสี ทั้งที่ในโลกความเป็นจริงแล้วไม่มีทางเลย ที่เด็กๆจะคุ้มครองความทรงจำเหล่านั้นของตนเองให้คงทนถาวรจนเติบใหญ่ ความทรงจำอันน่าประทับใจในวันนึงอาจเป็นเพียงความทรงจำธรรมดาๆทั่วไป (เช่น Bing Bong ตัวละครเพื่อนในจินตนาการ) หรือความทรงจำแสนสวยงามอาจกลายเป็นความทรงจำที่ปวดร้าวน่าลืมเลือน เหล่านั้นเป็นสัจธรรมชีวิตที่ Riley และ Joy ต้องเรียนรุ้ไปด้วยกัน
บทสรุปในความเห็นคือ Inside Out เป็นแอนิเมชั่นที่ก้าวข้ามการเป็นแค่ผลงานเรื่องหนึ่งของค่าย Pixar ไปแล้ว.. โดยรวมมาตราฐานในคุณภาพจัดอยู่หมวดท็อปของสตูดิโอร่วมกับ Toy Story, Monsters Inc, The Incredibles, Up, Toy Story 3 ได้อย่างสบายๆ ..แม้ว่าข้อเสียเล็กๆคือเนื้อหาสำคัญอาจเข้าไม่ถึงกลุ่มผุ้ชมที่เป็นเด็ก แต่แลกกับการขึ้นหิ้งและเป็นตัวเต็งในการเข้าชิงรางวัลหลายสาขา ที่จะประกาศต้นปี 2016 เพื่อเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการภาพยนตร์ มันก็เป็นอะไรที่คุ้มเสียยิ่งกว่าคุ้มอีกครับ ^^
หนังโปรดของข้าพเจ้า
Inside Out (2015)
ถ้ามองกันด้วยพล็อตอย่างเดียวเราจะบอกว่ามันค่อนข้างธรรมดามาก ที่จริงมันคือหนังแนว coming of age ประเภทที่ว่าเด็กหญิงวัย 11 ปีต้องรับมือกับปัญหาใหม่ที่เข้ามาในชีวิตหลังจากย้ายบ้าน แต่ Inside Out มันโคตรเจ๋งในการนำเสนอวิธีรับมือด้วยการพาคนดูเข้าไปสำรวจความคิด, บุคลิก, อารมณ์และความทรงจำที่หล่อหลอมตัวตนเราจนนำไปสู่การเติบโตอีกขั้นอันเกิดจากการจัดการวิธีคิดของเราล้วน ๆ เพราะการขังความทุกข์เอาไว้ไม่ยอมระบายจะทำให้เราเก็บกดจนนำมาซึ่งการตัดสินใจที่ผิดพลาด
‘ไรลีย์’ เด็กหญิงวัย 11 ปีที่ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขมาตลอด ครอบครัว, มิตรภาพ, ฮ็อกกี้, การเล่นติงต๊อง ล้วนเป็นความทรงจำที่สร้างความสุขให้เธอจนกระทั่งครอบครัวต้องย้ายบ้านจึงทำให้ความกังวลเข้ามามีบทบาทให้เธอเปิดเผยบุคลิกด้านอื่น ๆ นอกเหนือไปความสนุกสนาน ซึ่งหนังเล่าผ่าน 5 อารมณ์ได้แก่ Joy ลัลล้า, Sadness เศร้าซึม, Anger ฉุนเฉียว, Fear กลั๊วกลัว และ Disgust หยะแหยง
Inside Out นำเสนอภาพในหัวคนเราให้เป็นรูปธรรมได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งโดยหลักแล้วหนังพูดถึงวิธีการมองโลกแง่บวกและแง่ลบอย่างสมดุลกัน เริ่มจากให้คนดูเห็นภาพชีวิตคน ๆ นึงที่ถูกสร้างเป็นตัวตนด้วยความทรงจำตั้งแต่วัยเด็ก โดยในเคสของไรลี่ย์นั้นชีวิตเต็มไปด้วยความลั้ลลา ดังนั้นเมื่อเจอปัญหาใหม่เข้ามาเราจึงได้เห็นวิธีการจัดการปัญหาผ่านแท่นควบคุมในแบบบุคลิกของเธอ อย่างเช่นตอนเห็นสภาพบ้านหลังใหม่ซึ่งแต่ละอารมณ์พยายามเข้ามามีบทบาททั้งความรังเกียจสภาพบ้าน, ความกลัวจะอยู่ในบ้านหลังนี้ แต่ท้ายที่สุดความทรงจำแสนสุขของเธอยังคงมีบทบาทเป็นผู้ชี้นำให้เธอแก้ปัญหาในแง่บวก (think positive) โดยการเล่นฮ็อกกี้กระดาษในบ้านหลังโทรม และถึงแม้พ่อของเธอจะติดธุระอันเป็นปัญหาที่เข้ามาต่อเนื่องกันเราก็ยังได้เห็นว่าลั้ลลายังมีบทบาทในการให้เธอชวนแม่ออกไปหาพิซซ่ากิน ทั้ง ๆ ที่ในใจเธอเริ่มรู้สึกเศร้าซึมแต่กลับถูกลั้ลลาขังเอาไว้ไม่ให้ระบายออกมาจนเธอเก็บกดอันนำมาสู่ความสับสน ซึ่งหนังนำเสนอผ่านการให้ลั้ลลาและเศร้าซึมหลงเข้าไปติดอยู่ในความทรงจำ
การเติบโตของไรลี่ย์บอกเล่าเป็นรูปธรรมเด่นชัดตั้งแต่ลูกแก้วความทรงจำหลักที่เป็นการผสมลั้ลลาและเศร้าซึมเข้าด้วยกันอันบอกถึงการได้ปลดปล่อยความอึดอัดในใจได้นำมาสู่ความทรงจำภาพครอบครัวที่อบอุ่นปลอบประโลมกันแต่ก็มีความเสียใจจากสิ่งที่ได้กระทำลงไปปนอยู่ในนั้นด้วย และนำมาสู่แผงควบคุมที่ใหญ่ขึ้นและมอบบทบาทให้ทั้ง 5 อารมณ์ได้เข้ามาบริหารจัดการบุคลิกตัวตนของเธอโดยที่ยังมีลั้ลลาเป็นแกนหลักที่จะอธิบายภาพเดี่ยวว่าไรลี่ย์พร้อมจะมองสิ่งต่าง ๆ ด้วยความคิดเชิงบวกโดยไม่ลืมความสำคัญของอารมณ์ต่าง ๆ ที่จะมาช่วยรักษาสมดุล
บางทีการกำจัดความเศร้าอาจไม่ใช่การย้อนหาความทรงจำแสนสุขมาปลอบประโลมหัวใจ สิ่งที่ควรทำคือการปลดปล่อยระบายความเสียใจและเรียนรู้ที่จะก้าวข้ามปัญหานั้นไป
ฉันชอบดูหนัง
Inside Out (2015)
เรื่องราวของ ริลีย์ เด็กหญิงวัย 11 ปี ที่เติบโตขึ้นมาในชีวิตแบบตะวันตกตอนกลาง และจำต้องย้ายบ้านตามพ่อแม่มายังเมืองซาน ฟรานซิสโก หลังจากพ่อของต้องมาเริ่มงานที่ใหม่ ณ เมืองที่ริลีย์ไม่คุ้นเคย
ชีวิตของริลีย์ต้องเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง เธอต้องปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ที่แตกต่างออกไปจากเดิม และต้องเผชิญกับอารมณ์มากมายที่เข้ามาหลังจากการเปลี่ยนแปลงชีวิตครั้งนี้ของเธอ จนนำมาสู่การแสดงออกทางอารมณ์ต่างๆ ทั้ง 5 ได้แก่ ความสุข (Joy), ความกลัว(Fear), ความโกรธ (Anger ), ความน่ารังเกียจ (Disgust) และความเศร้า (Sadness)
เมื่ออารมณ์ทั้งหมด ล้วนอาศัยอยู่ในศูนย์บัญชาการใหญ่ ภายใต้การควมคุมของจิตใจไรลีย์ คำแนะนำของพวกเขาจะช่วยเหลือเธอให้ผ่านชีวิตในแต่ละวันได้ไปได้อย่างไร? เมื่อบทสรุปของความขัดแย้งทางอารมณ์เป็นเหมือนเข็มทิศชี้นำแนวทางให้ริลีย์ผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านนี้ได้
ภาพยนตร์ที่คล้ายกัน
The Croods A New Age (2020) เดอะ ครู้ดส์ ตะลุยโลกใบใหม่
Elemental (2023) เมืองอลวนธาตุอลเวง
6.2