KUBHD ดูหนังออนไลน์ Ex Machina (2015) เต็มเรื่อง
เรื่องย่อ
เรื่องราวเกี่ยวข้องกับโปรแกรมเมอร์หนุ่มที่ไปพักผ่อนในยังบ้านพักตากอากาศส่วนตัวกับเจ้านาย โดยไม่รู้ตัวเลยว่ากำลังจะเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองหุ่นยนต์เอไอรุ่นแรก
ขอให้สนุกกับการดูหนังออนไลน์ หนังฝรั่ง เรื่อง Ex Machina (2015) หนังประเภท Sci-Fi วิทยาศาสตร์ เว็บดูหนัง KUBHD.COM ดูหนังออนไลน์ฟรี หนังไทย หนังต่างประเทศมากมายกว่า 10,000 เรื่อง หนังใหม่ ดูฟรี หนังไม่กระตุก ดูหนังชัดชนโรง หนังพากย์ไทย ซับไทย เต็มเรื่องHD หนังใหม่อัพเดททุกวัน ดูหนังออนไลน์ หนังอัพเดทตลอด 24 ชั่วโมง ดูหนัง 2023 ดูหนังบนมือถือ Android iOS
ผู้กำกับ
- Alex Garland
บริษัท ค่ายหนัง
- Film4
- DNA Films
นักแสดง
- Domhnall Gleeson
- Alicia Vikander
- Oscar Isaac
โปสเตอร์หนัง
รีวิวหนัง
MovieMood
[CR] [Movie Review] Ex Machina (2015) …ไซไฟหุ่นยนต์ชั้นดี กับอันตรายของการเล่นเป็นพระเจ้า
Ex Machina (2015)
กำกับโดย Alex Garland
8/10
(ดูจากเมืองนอกแล้วมารีวิว ไม่สปอยล์)
หลังจากชนะรางวัลในอินเตอร์เน็ต โปรแกรมเมอร์ Caleb (Domhnall Gleeson) ได้ถูกเชิญให้ไปอยู่ที่รีสอร์ตส่วนตัวในภูเขาเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งเจ้าของรีสอร์ตนี้คือ Nathan (Oscar Isaac) ผู้เป็น CEO ของบริษัทที่ Caleb ทำงานอยู่ เขาเผยว่าเหตุผลที่แท้จริงของรางวัลนี้คือเพื่อค้นหาบุคคลที่จะมาเข้าร่วมการทดลองปฏิสัมพันธ์กับหุ่นยนต์เอไอเครื่องแรกของโลก (Alicia Vikander) แต่การเล่นเป็นพระเจ้าครั้งนี้กลับมีผลที่คาดไม่ถึง…
หลังจากเขียนบทหนังดังหลายเรื่อง ทั้ง Dredd, Sunshine, Never Let Me Go, และหนังชุดซอมบี้ 28 Days/Weeks Later ก็เป็นครั้งแรกที่ Alex Garland เข้ามาอยู่ในเก้าอี้ผู้กำกับ ซึ่งเขาก็ทำดีเกินระดับผลงานกำกับเรื่องแรกมากอยู่ ความเป็นวิทยาศาสตร์ในสถานที่ของหนังถูกนำออกมาใช้ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มเหนี่ยว ทั้งกระจกใสกั้นคนกับหุ่นยนตร์ แสงตามทางเดิน กระจกเงา และธรรมชาติในภูเขา มีการจัดวางองค์ประกอบภาพให้ดูไซไฟคลาสสิค และเน้นสถานะของเนื้อเรื่อง พร้อมทั้งสภาพและความสัมพันธ์ของตัวละคร ณ เวลานั้นในหนังได้ดีมาก ผกก.ยังสามารถสร้างบรรยากาศหวาดระแวงได้อย่างเชี่ยวชาญ เข้ากันได้ดีกับดนตรีที่ความหลอนระดับน้องๆ Under the Skin เลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม สไตล์กำกับของ Garland อาจจะเย็นชาจนความเป็นมนุษย์ของบทมันไม่เต็มที่ไปเสียหน่อย ความเย็นยะเยือกในหนังไซไฟมันเวิร์คมากๆ กับการเน้นภาพตื่นตาในความเล็กจ้อยของมนุษย์ท่ามกลางจักรวาล (เช่น 2001) หรือ เน้นอารมณ์แปลกแยกของมนุษย์ต่างดาวอันน่าพรั่นพรึง (เช่น Under the Skin) แต่ในหนังที่มีแรงขับเคลื่อนหลักเป็นเส้นทางอารมณ์ของพระเอกในการปฏิสัมพันธ์กับหุ่นยนต์ ความห่างเหินนี้ทำให้ไม่อินไปกับความรู้สึกของพระเอกเท่าที่ควร จนช่วงเนื้อเรื่องตอนปลายที่ควรจะอินกับ Caleb ไปมากๆ กลับพาเราเหมือนแค่ผู้ดูเหตุการณ์เสียมากกว่า
อย่างไรก็ดี นักแสดงหลักทั้งสามคนทำหน้าที่ได้ดีมากจนพอจะกล้อมแกล้มช่องว่างของหนังได้อยู่ Domhnall Gleeson เล่นเป็นตัวแทนผู้ชมได้อย่างเป็นกลางและพอเหมาะ ส่วน Oscar Isaac เองก็โชว์ความกว้างในทักษะการแสดงของเขา หลังจากบทคอนโทรลมากๆในสไตล์ Al Pacino จาก A Most Violent Year มาถึงเรื่องนี้ ที่เล่นเป็นนักวิทยาศาสตร์ดาร์ค เถื่อน และเรื้อนได้ถึงใจสุดๆ (ฉากที่อยู่ดีๆเขาเต้นขึ้นมา แทบอยากปรบมือ และคนหัวเราะแบบไม่คาดคิดกันทั้งโรง) แต่การแสดงเด่นสุดตกเป็นของ Alicia Vikander ที่ต้องบาลานซ์ให้อยู่หมัดระหว่างการเล่นเป็นตัวละคร และความคลุมเครือของหุ่นยนต์ ซึ่งเธอทำออกมาให้เราคอยจับตามองและคิดตามไปทั้งเรื่อง
แน่นอนว่าจุดที่แข็งแรงที่สุดของหนังคือบทของมันนั่นเอง คอนเซ็ปต์และธีมของมันไม่ใช่อะไรใหม่เลย ยิ่งเมื่อหลังหนังจบแล้วเรามองย้อนกลับมาที่เนื้อเรื่อง แต่หนังทุ่มเทกับการอิงวิทยาศาสตร์แน่นๆโดยตลอด โดยเชื่อถือคนดูและไม่คอยหยุดอธิบายจนเกินงาม ทำให้ถึงแม้ฝั่งมนุษย์จะไม่สมบูรณ์นัก แต่ฝั่งหุ่นยนต์ทำออกมาได้ดีมากทีเดียว โดยตั้งคำถามให้เราครุ่นคิดและอยากรู้สงสัยไปพร้อมกับพระเอกจนจบ จนเป็นหนังที่ความเป็นไซไฟของมันฮาร์ดคอร์อย่างนานๆทีจะมีสักเรื่องจริงๆ
สิ่งที่ดีสุดคือ บทหนังสอดแทรกประเด็นการเล่นเป็นพระเจ้าได้อย่างไม่มีการพูดโต้งๆเกี่ยวกับมันเลย เพราะทุกอย่างแฝงอยู่ในเนื้อเรื่องและตัวละครตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว ทำให้ความเปลี่ยนแปลงในช่วงท้ายกระแทกใจและความคิดในแง่นี้ได้เต็มที่มาก มีโควตจากหนังที่ Nathan พูดว่า “สักวันหนึ่ง พวกเอไอจะนึกย้อนมาถึงเราแบบเดียวกับที่เรามองซากฟอซซิลอยู่ตอนนี้” แต่สิ่งที่หนังบอกคือ ไม่จำเป็นต้องรอถึงอนาคต แค่เราสร้าง ทำลาย สร้าง ทำลาย วนเวียนไปมาอย่างหยิ่งทะนงในความเป็นมนุษย์โดยไม่คิดถึงผลกระทบที่ตามมา สิ่งที่ถูกเตือนก็จะกลายเป็นจริงขึ้นมาได้ง่ายดาย ในปัจจุบัน อย่างไม่ต้องรอนาน
สมาชิกหมายเลข 2593090
[CR] [Review ภาพยนตร์] : Ex Machina (United Kingdom , 2015) พิศวาสจักรกลอันตราย
Ex Machina (2015) : พิศวาสจักรกลอันตราย , Directed by Alex Garland
ผลงานกำกับแรกของ Alex Garland ผู้มีชื่อเสียงจากการเขียนบทภาพยนตร์และหนังสือนิยายแนว Sci-Fi มาแล้วมากมาย อาทิเช่น 28 Days Later , Sunshine , Never Let Me Go และ Later Dredd . . โดยงานนี้ได้นักแสดงนำอย่าง Domhnall Gleeson (จาก About Time) , Oscar Isaac (จาก Inside Llewyn Davis) และนักแสดงนำสาวอย่าง Alicia Vikander (จาก A Royal Affair) อีกด้วย !!
เรื่องราวเกี่ยวกับโปรแกรมเมอร์คอมพิวเตอร์อย่าง Caleb (รับบทโดย Domhnall Gleeson) ถูกเลือกให้ไปทดสอบโครงการลับของ CEO กูรูเทคโนโลยี Search Engine ผู้ปราดเปรื่องและร่ำรวยระดับโลก . . มันเป็นงานออกแบบ A.I. หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ที่ Caleb ได้รับเลือกให้มาร่วมทดสอบโปรเจคนี้ ในขั้นตอนของการตั้งคำถามและพิสูจน์ว่า ปัญญาประดิษฐ์มีความรู้สึกนึกคิดเป็นของตัวเองหรือไม่ . . แต่เริ่มนานวันเข้า Caleb ก็เริ่มเกิดคำถามกับตัวเองขึ้นมากมาย และรู้สึกเคลือบแคลงใจกับผู้ออกแบบและคิดค้นโปรเจคนี้ จนในที่สุดเค้าก็ไปรู้ความลับอะไรบางอย่าง ที่มันทำให้ชีวิตของเค้า ชักอยู่ยากขึ้นแล้วสิ . . หึหึ
หนังเปิดประเด็นขึ้นมาได้อย่างน่าสนใจ กับการใช้สถานที่และบรรยากาศอันแสนลี้ลับ ตัวละครที่ต้องมาอยู่ท่ามกลางป่าเขา และสัญญากับโปรเจคที่ห้ามเปิดเผยข้อมูล เรื่องราวจึงเปรียบเสมือนการค่อยๆนวดคนดูอย่างช้าๆ อย่างน่าติดตามอยู่ทุกฝีก้าว จนกระทั่งการเริ่มแบบทดสอบกับปัญญาประดิษฐ์ ที่มีการตั้งคำถามและวิเคราะห์ให้เห็นลงลึกต่างๆนาๆ ความรู้สึกที่ได้รับ มันจึงกลายเป็นหนัง Sci-Fi ระทึกขวัญ ที่ชวนคนดูสงสัยในทุกแง่มุมอยู่ตลอดเวลา และเดาไม่ถูกเลยว่าในตอนถัดไปนั้น มันจะเป็นยังไง!! . . . สิ่งที่น่าทึ่งและโดดเด่นที่สุดของภาพยนตร์เรื่องนี้เลยก็คือ การตั้งคำถามของตัวละคร ที่มักมีประโยคสนทนาที่ชาญฉลาด และโต้ตอบกันกับตัวละครอื่นอยู่เสมอ . . การดำเนินเรื่องที่เปรียบเสมือนนำพาผู้ชมค่อยๆย่องเบา
คล้ายกับการค่อยๆเปิดเผยข้อมูล และไปรู้ความลับอะไรบางอย่างโดยบังเอิญ แบบไม่น่าเชื่อ . . ตลอดเส้นทางนั้นเราจึงตั้งคำถามอยู่ในหัว เกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นต่างๆนาๆ และทำให้เราไขว้เขวได้อยู่ตลอดเวลา . . จากที่เนื้อเรื่องเหมือนจะไม่มีอะไรมาก และดูเหมือนเรียบง่าย แต่เมื่อหนังย่างก้าวเข้ามาถึงกลางเรื่อง และทำทีท่าว่าพร้อมจะเฉลยปมทุกอย่าง การตั้งคำถามที่มีอยู่ในหัวของเราก็ยังคงไม่หมดไป และสุดท้ายเมื่อเรื่องราวดำเนินมาถึงบทสรุป ทั้งหมดก็พลิกล็อคได้อย่างเยือกเย็นและน่าทึ่ง . . . สิ่งที่ชอบเลยก็คือ การที่หนังสามารถนำพาความรู้สึกผู้ชมได้ตลอดเวลา และการเข้าถึงสิ่งที่เรียกว่าปัญญาประดิษฐ์ได้อย่างลงลึก เราจึงรู้สึกเหมือนกับว่ากำลังนั่งมองการทดสอบ A.I. ที่แท้จริง ของประวัติศาสตร์มวลมนุษยชาติอยู่ ณ ตรงนั้น . . การเล่าเรื่องด้วยภาพ ความสงสัย ความเหงา และความกลัว ถูกถาโถมเข้ามาพร้อมกันอย่างบอกไม่ถูก การแสดงสีหน้า แววตา และความรู้สึกของมนุษย์และปัญญาประดิษฐ์ผ่านกระจก หลายๆสิ่งมันจึงให้ความรู้สึก และคำถามเกิดขึ้นมาว่า ถ้าซักวันหนึ่งมีปัญญาประดิษฐ์ที่ล้ำเลิศขนาดนี้เกิดขึ้นมาแล้ว มันก็ไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะทำให้มนุษย์รู้สึกไขว้เขว แต่เมื่อทั้งเราแตกต่างกัน อารมณ์และความยับยั้งชั่งใจจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง กับการเผชิญหน้ากับปัญญาประดิษฐ์ที่อาจแฝงมาในรูปแบบใดก็ได้ . .
Ex Machina จึงเป็นอีกหนึ่งผลงานที่พูดถึงปัญญาประดิษฐ์ได้อย่างชาญฉลาด และวิธีถ่ายทอดก็ถูกนำเสนอออกมาได้อย่างลงลึกและยอดเยี่ยม สมกับประเด็นของหนังที่พูดถึงและตั้งคำถาม ต่างๆนาๆไว้มากมาย !!
ผู้เขียน C. Non
หนังโปรดของข้าพเจ้า
รีวิว Ex Machina (2015) | จะรู้ได้อย่างไรว่า AI เป็น AI จริง ๆ #หนังโปรดโคตรเชียร์
ความเห็นสั้น ๆ สำหรับคนขี้เกียจอ่านยาว ๆ คือ “ถ้าชอบหนังไซไฟอยู่แล้ว ไม่ควรพลาดเด็ดขาด เป็นอีกหนึ่ง rare item ของหนังเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์เลย” ส่วนใครจะอ่านความเห็นเพิ่มเติมมาเริ่มกันเลย
Ex Machina เริ่มต้นพูดถึงปัญญาประดิษฐ์ง่าย ๆ (แต่ทำออกมายาก) ด้วยการตั้งคำถามว่า ‘จะพิสูจน์อย่างไรว่าปัญญาประดิษฐ์มีความรู้สึกนึกคิดเป็นของตัวเอง’ ซึ่งต้องชมคนเขียนบทเลยว่ามีคอนเซปการเล่าเรื่องที่ฉลาดและอธิบายสิ่งที่ดูจะพิสูจน์ได้ยากให้เข้าใจได้โดยง่าย
หนังเริ่มต้นด้วยการพูดถึงแบบทดสอบทัวริ่ง (เป็นวิธีการทดสอบเครื่องจักร/หุ่นยนต์ว่ามีความสามารถในการคิดเหมือนมนุษย์หรือไม่ โดยให้มนุษย์ทำการสนทนาโต้ตอบแบบไม่เห็นอีกฝ่ายที่มีทั้งคนและเครื่องจักรปะปนกัน แล้วดูว่าสามารถแยกคนออกจากเครื่องจักรได้หรือไม่ วิธีการทดสอบนี้คิดค้นโดย ‘อลัน ทัวริ่ง’ คนเดียวกับที่ถอดรหัสอีนิคม่าใน The Imitation Game น่ะแหละ) แต่ ‘เอวา’ (หุ่นยนต์ในหนังแสดงโดย Alicia Vikander) ไปไกลกว่าขั้นนั้นแล้ว โดย ‘คาเล็บ’ (Domhnall Gleeson) ต้องทดสอบว่าเอวาที่เห็นชัด ๆ ว่าเป็นหุ่นยนต์มีความรู้สึกนึกคิดแบบเดียวกับมนุษย์หรือไม่ ซึ่งขั้นตอนนี้แหละที่มันยากมากที่จะทำให้คนดูเห็นภาพว่าเอวาสามารถคิดอะไรเองได้หรือไม่ แต่หนังสามารถทำให้คนดูทึ่งได้โดยการเล่าเรื่องทั้งหมดปูทางไปเพื่อไคลแม็กซ์โค้งสุดท้ายที่หนังเฉลยทุกอย่าง!
*** เปิดเผยเนื้อหาของหนัง ***
ชอบความที่ ‘นาธาน’ (Oscar Isaac) ผู้ประดิษฐ์ AI วางแผนการทดสอบเอวาไว้หมดแล้ว โดยเขาเลือกคาเล็บมาเป็นผู้ทดสอบเฉพาะเจาะจงโดยใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลการค้นหา (นึกภาพว่ามีคนรู้ทุกอย่างว่าเราใช้ google ค้นหาอะไรบ้าง) ใช้ประวัติส่วนตัวของเขาที่เป็นคนโสดตัวคนเดียวที่พ่อแม่เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก รวมถึงสิ่งที่ช่วยยืนยันว่าเขาเป็นคนดี เพื่อสร้างความไว้วางใจให้แก่เอวา สรุปง่าย ๆ ว่าเขาเพียงต้องการทดสอบว่าเอวาจะวางแผนหนีออกจากที่นี่ได้หรือไม่ ถ้าหากว่าการหนีสามารถทำได้เพียงวิธีเดียวเท่านั้นคือชักใยคนอื่นให้ทำตามความประสงค์ของตัวเอง (นึกภาพมารยาผู้หญิง) ซึ่งเอวาสามารถทำได้ทั้งหมด ตั้งแต่การตระหนักรู้ความต้องการของตัวเองที่จะหนีออกจากที่นี่, เริ่มจินตนาการถึงแผนการ, ใช้เสน่ห์แกล้งทำเป็นตกหลุมรักคาเล็บ สุดท้ายก็ล่อลวงชายหนุ่มให้ใช้ความเห็นอกเห็นใจเป็นตัวตัดสินใจช่วยเหลือเธอ ซึ่งทั้งหมดนี้หากไม่ใช่ข้อพิสูจน์ถึงความรู้สึกนึกคิดของ ‘ปัญญาประดิษฐ์’ ก็ไม่รู้จะเอาไรมาพิสูจน์แล้วล่ะ
ฉากหนึ่งที่ชอบมาก ๆ ในบรรดาหนังเกี่ยวกับ AI ทั้งหลายเลยก็คือตอนที่คาเล็บสับสนว่าตัวเองเป็นมนุษย์จริง ๆ หรือเป็นเพียงหุ่นยนต์จึงลงมือกรีดแขนตัวเองดูว่าข้างในเป็นจักรกลหรือไม่ จังหวะของหนังมันปูทางมาให้ฉากนี้พีคมาก ๆ เพราะขนาดเคียวโกะที่ผมนึกว่าเป็นเพียงมนุษย์สาวใช้ธรรมดายังกลายเป็นจักรกลซะได้ หนังสร้างความคลุมเครือ ความสับสนจนตัวคาเล็บปั่นป่วนต้องพิสูจน์ด้วยการกรีดแขนตัวเอง
และก็อดจะเขียนเชียร์ Transcendence ไม่ได้ ในขณะที่ Ex Machina พูดถึงการพิสูจน์ว่า AI สามารถคิดเองได้จริง ๆ หรือไม่ แต่ Transcendence กลับพูดถึงการพิสูจน์ว่า AI ยังคงเหลือจิตวิญญาณของมนุษย์ที่ฝังอยู่ในระบบหรือไม่ ซึ่งหนังทั้งสองเรื่องเป็น hard sci-fi ที่มีประเด็นยอดเยี่ยมทั้งคู่ เพียงแต่ Transcendence อาจจะเป๋ ๆ การเล่าเรื่องไปหน่อยด้วยสเกลหนังใหญ่ดาราดัง ส่วน Ex Machina สเกลเล็กและมุ่งประเด็นเดียวจนถ่ายทอดออกมาได้หนักแน่นกว่า ถ้าใครชอบเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ไม่ควรพลาดอีกเรื่องนะครับ
ดูทรงแล้ว Ex Machina คงติดอันดับต้น ๆ หนังโปรดของปี 2015 ในใจผมแน่ ๆ และเป็นหนังไซไฟเรื่องโปรดอีกเรื่องเรียบร้อยครับ
Director: Alex Garland
writer: Alex Garland (เขียนบท Sunshine, 28 Days Later)
Genre: drama, sci-fi
8.5/10
ภาพยนตร์ที่คล้ายกัน
Robot Riot (2020) ปฏิบัติการฆ่าหุ่นยนต์นรก
Code 8 Part 2 (2024) ล่าคนโคตรพลัง ภาค 2
6.2