Burn (2008) คนไฟลุก
เรื่องย่อ
อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าร่างกายเราลุกเป็นไฟได้เอง…โดยไม่ทราบสาเหตุ!!! ปรากฏการณ์คนลุกเป็นไฟฉับพลัน…เป็นไปได้อย่างไร เรื่องจริง หรือ พิธีกรรม คุณเท่านั้น!!! ต้องเป็นผู้ร่วมพิสูจน์และหยุดยั้งมัน ก่อนที่ ไฟสยอง นี้ จะลุกลามมาสู่…ตัวคุณ ในภาพยนตร์ลึกลับ-ระทึกขวัญแห่งปีที่มีแรงบันดาลใจมาจากเหตุการณ์จริง คนไฟลุก (Burn) ดูหนังออนไลน์
อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าร่างกายเราลุกเป็นไฟได้เองโดยไม่ทราบสาเหตุ!!!“ปรากฏการณ์คนลุกเป็นไฟฉับพลัน” เป็นไปได้อย่างไรอาถรรพ์ ไสยศาสตร์ ฆาตกรรม หรืออะไรกันแน่คุณเท่านั้น!!! ต้องเป็นผู้ร่วมพิสูจน์และหยุดยั้งมันก่อนที่ “ไฟมรณะ” นี้ จะคืบคลานมาสู่…ตัวคุณในภาพยนตร์ลึกลับ-ระทึกขวัญแห่งปีที่มีแรงบันดาลใจมาจากเหตุการณ์จริง
เหตุการณ์ระทึกขวัญนี้เกิดขึ้นโดยไม่มีลางบอก เมื่อจู่ๆ ไฟประหลาดก็ลุกท่วมร่างของผู้หญิงคนหนึ่งจนเสียชีวิต และเธอคือหญิงไทยรายแรกที่เกิดปรากฏการณ์ไฟลุกท่วมตัวโดยฉับพลันนี้“โมนา” (บงกช คงมาลัย) ลูกสาวของผู้ตาย เป็นนักค้าหุ้นสาวผู้ทะเยอทะยานต้องเข้ามาพัวพันกับเหตุการณ์นี้อย่างไม่ทันตั้งตัว และเธอไม่อาจทำใจได้ที่อยู่ๆ แม่ก็มาตายจากไป ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ปรับความเข้าใจกัน
เหตุการณ์นี้ทำให้เธอได้พบกับ “พลอย” (อาชิรญาณ์ ภีระภัทร์กุญช์ชญา) พยาบาลสาวซึ่งแม่ของเธอก็ต้องชะตากรรมถึงตายด้วยไฟลุกท่วมตัวโดยไม่ทราบสาเหตุอย่างไม่ผิดแผกกันเลย นี่เป็นสิ่งที่ทำให้โมนาและพลอยต้องพยายามสืบหาสาเหตุที่แท้จริงให้ได้ว่า อะไรกันแน่ที่เกิดขึ้นกับแม่ของพวกเธอในขณะที่ทั้งคู่กำลังตามล่าหาความจริงอยู่นี้ พวกเธอก็ได้รับความช่วยเหลือด้านข้อมูลจาก “ขวัญ” (ปรางทอง ชั่งธรรม) นักข่าวสาวที่ตามติดข่าวนี้อย่างจิกไม่ปล่อยมาตั้งแต่แรก ตามสัญชาตญาณของอาชีพนักข่าว เธอมั่นใจว่าเหตุการณ์นี้ต้องมีอะไรเคลือบแฝงอยู่เบื้องหลังเป็นแน่
รวมถึง “ดอน” (ชลัฏ ณ สงขลา) นายตำรวจหนุ่มเจ้าของคดีนี้ แม้จะได้รับคำสั่งจาก “วัง” (สุธีรัชย์ ชาญนุกูล) หัวหน้าของเขาให้ปิดคดีนี้ว่าเป็นอุบัติเหตุไปแล้วก็ตาม แต่ด้วยความสงสัยและยึดมั่นในความถูกต้องยุติธรรม เขาจึงต้องร่วมสืบหาความจริงของเหตุการณ์ลึกลับนี้และหยุดยั้งมันให้ได้ แม้จะรู้ว่ากำลัง “เล่นกับไฟ” อยู่ก็ตามความจริงในเหตุการณ์นี้ มันเป็นการฆ่าตัวตาย, อุบัติเหตุ, ฆาตกรรม หรือเครื่องสังเวยความลี้ลับปริศนาแห่งเบื้องหลัง “ไฟมรณะ” จะต้องถูกคลี่คลายก่อนที่ความเป็นความตายจาก “ไฟสยอง” นี้จะโหมลุกขึ้นอีกครั้ง
ผู้กำกับ Burn (2008)
ปีเตอร์ มนัส
บริษัท ค่ายหนัง
Sahamongkolfilm
นักแสดง
- บงกช คงมาลัย
- ชลัฏ ณ สงขลา
- อาชิรญาณ์ ภีระภัทร์กุญช์ชญา
- ปรางทอง ชั่งธรรม
- สุธีรัชย์ ชาญนุกูล
โปสเตอร์หนัง Burn (2008)
รีวิวหนัง Burn (2008)
ให้คะแนน 7/10
เหตุการณ์ระทึกขวัญนี้เกิดขึ้นโดยไม่มีลางบอก เมื่อจู่ ๆ ไฟประหลาดก็ลุกท่วมร่างของผู้หญิงคนหนึ่งจนเสียชีวิต และเธอคือหญิงไทยรายแรกที่เกิดปรากฏการณ์ไฟลุกท่วมตัวโดยฉับพลันนี้
“โมนา” (บงกช คงมาลัย) ลูกสาวของผู้ตาย เป็นนักค้าหุ้นสาวผู้ทะเยอทะยานต้องเข้ามาพัวพันกับเหตุการณ์นี้อย่างไม่ทันตั้งตัว และเธอไม่อาจทำใจได้ที่อยู่ ๆ แม่ก็มาตายจากไป ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้ปรับความเข้าใจกัน
เหตุการณ์นี้ทำให้เธอได้พบกับ “พลอย” (อาชิรญาณ์ ภีระภัทร์กุญช์ชญา) พยาบาลสาว ซึ่งแม่ของเธอก็ต้องชะตากรรมถึงตายด้วยไฟลุกท่วมตัวโดยไม่ทราบสาเหตุอย่างไม่ผิดแผกกันเลย นี่เป็นสิ่งที่ทำให้โมนาและพลอยต้องพยายามสืบหาสาเหตุที่แท้จริงให้ได้ว่า อะไรกันแน่ที่เกิดขึ้นกับแม่ของพวกเธอ
ในขณะที่ทั้งคู่กำลังตามล่าหาความจริงอยู่นี้ พวกเธอก็ได้รับความช่วยเหลือด้านข้อมูลจาก “ขวัญ” (ปรางทอง ชั่งธรรม) นักข่าวสาวที่ตามติดข่าวนี้อย่างจิกไม่ปล่อยมาตั้งแต่แรก ตามสัญชาตญาณของอาชีพนักข่าว เธอมั่นใจว่าเหตุการณ์นี้ต้องมีอะไรเคลือบแฝงอยู่เบื้องหลังเป็นแน่
รวมถึง “ดอน” (ชลัฏ ณ สงขลา) นายตำรวจหนุ่มเจ้าของคดีนี้ แม้จะได้รับคำสั่งจาก “วัง” (สุธีรัชย์ ชาญนุกูล) หัวหน้าของเขาให้ปิดคดีนี้ว่าเป็นอุบัติเหตุไปแล้วก็ตาม แต่ด้วยความสงสัยและยึดมั่นในความถูกต้องยุติธรรม เขาจึงต้องร่วมสืบหาความจริงของเหตุการณ์ลึกลับนี้และหยุดยั้งมันให้ได้ แม้จะรู้ว่ากำลัง “เล่นกับ
ไฟ” อยู่ก็ตาม
ความจริงในเหตุการณ์นี้ มันเป็นการฆ่าตัวตาย, อุบัติเหตุ, ฆาตกรรม หรือเครื่องสังเวยความลี้ลับ
ปริศนาแห่งเบื้องหลัง “ไฟมรณะ” จะต้องถูกคลี่คลาย ก่อนที่ความเป็นความตายจาก “ไฟสยอง” นี้จะโหมลุกขึ้นอีกครั้ง
เบื้องหลังลุกเป็นไฟ…
“มันเริ่มต้นจากไอเดียที่ผมมี ซึ่งผมรู้สึกว่ามันมีเรื่องเกี่ยวกับคนลุกเป็นไฟที่ต่างประเทศเค้าวิเคราะห์กันไปวิเคราะห์กันมาประมาณ 200 ปีมาแล้ว เหมือนคนลุกเป็นไฟได้เอง แล้วก็ไม่มีสาเหตุว่ามันลุกเป็นไฟได้ยังไง จริง ๆ ประเด็นเรื่อง “คนลุกเป็นไฟได้เอง” นี้ ผมได้ยินมานานมากแล้ว ตั้งแต่ผมเป็นเด็ก ๆ ที่อเมริกา จนถึงทุกวันนี้ ผ่านมา 20 กว่าปีแล้ว ก็ยังไม่มีใครหยิบยกไอเดียนี้มาสร้างเป็นหนังทั้งในไทยและต่างประเทศ ผมก็เลยคิดว่าเรื่องนี้มันน่าสนใจ เราน่าจะนำมาขยี้และขยายเป็นเรื่องราวลึกลับตื่นเต้นระทึกขวัญในหนังได้ ผมก็เลยเอาเหตุการณ์ที่เค้าเรียกว่า Spontaneous Human Combustion (SHC) ก็คือ คนลุกเป็นไฟได้เอง มาเป็นแรงบันดาลใจของหนังเรื่องนี้ครับ”
ผู้กำกับ “ปีเตอร์ มนัส” เกริ่นถึงจุดเริ่มต้นที่จุดประกายความคิดของเขาให้เกิดเป็นผลงานกำกับเรื่องที่ 2 อย่าง “คนไฟลุก” (BURN) ที่ห่างจากงานกำกับเรื่องแรกไปนานถึง 6 ปีเลยทีเดียว
“จริง ๆ แล้วหลังจากทำ ‘999-9999 ต่อ-ติด-ตาย’ (2545) ผมก็ใช้เวลานานที่จะคิด ผมไม่อยากจะรีบกลับไปทำหนัง ผมไม่ต้องการทำหนังเพื่อเป็นอาชีพอย่างเดียว ผมต้องการทำหนังให้รู้สึกว่า…คือต้องมีไอเดียกระตุ้นจริง ๆ ถึงจะทำ แล้วช่วงหลังจาก ‘999-9999 ต่อ-ติด-ตาย’ เสร็จ ผมก็กลับไปทำอาชีพหลักของผมคือทำโฆษณา เจอเทคนิคใหม่ ๆ เจอบรรยากาศแปลก ๆ เจอคนทั่วโลกเลย หลากหลายเยอะแยะไปหมด แล้วก็หลังจากทำโฆษณา อยู่ดี ๆ มีฝรั่งคนหนึ่งที่ได้ดู ‘999-9999 ต่อ-ติด-ตาย’ แล้วเค้าเกิดชอบมาก เค้าก็ถามผมว่า คุณสนใจทำหนังฝรั่งกับผมมั้ย ผมก็สนใจ แต่ไม่คิดว่าเค้าจะเอาจริง อยู่ดี ๆ เค้าโทรมาบอกว่า คอนเฟิร์มแล้วนะ คุณบินไปเลย ถ่ายเปิดกล้องภายใน 3 อาทิตย์ เราก็ตื่นเต้นมาก จริง ๆ มันเป็นหนังที่ฉายทางเคเบิ้ลทีวี (ช่อง Sci-fi Channel) เรื่อง ‘The Hive’ พอไปทำผมก็เจอมืออาชีพหลายคน ช่วยสอนงานผมอย่าง ผู้ช่วยผกก. ของผม ที่เคยทำ Bourne Ultimatum คนทำโปรดักชั่นดีไซน์ก็ทำหนังใหญ่อย่าง Star Wars, Vertical Limit ฯลฯ มาก่อน โปรดิวเซอร์ที่จ้างผมก็เป็นคนที่ทำซีรี่ส์ Indiana Jones มาก่อน แล้วก็ทีมงานหลายคนก็ผ่านงานมาเยอะแยะ เรียกว่าหายไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์นั่นเองครับ”
แน่นอนว่า เมื่อทำภาพยนตร์ที่อิงข้อมูลจากเหตุการณ์จริงอย่าง “คนไฟลุก” นี้ ก็จำเป็นที่จะต้องค้นคว้าข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในคิดเรื่องราวและเขียนบทให้เกิดความสมจริงและมีความน่าติดตามไปตั้งแต่ต้นจนจบ
“เยอะมากนะครับ เรื่องการรีเสิร์ชข้อมูลเกี่ยวกับคนลุกเป็นไฟได้ คือเรื่องนี้ผมได้ยินมาตั้งแต่เด็ก ๆ แล้ว ผมเคยเห็นในสารคดีที่อเมริกา แล้วล่าสุดก็ที่ National Geographic ผมก็เลยเริ่มค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต แล้วก็ไปซื้อหนังสือที่เมืองนอกมาศึกษา โดยเฉพาะในเน็ตมีข้อมูลหลายร้อยหน้าเลยเกี่ยวกับคนลุกเป็นไฟเนี่ย โดยโครงเรื่องผมเป็นคนคิดจากไอเดียหลัก ๆ ที่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงนี่เองครับ
จากนั้นผมก็พยายามหาวิธีที่จะผูกเรื่องนี้ที่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงและมีข้อมูลอยู่ในเน็ต ในหนังสือ ในวัฒนธรรมทั่วโลกที่มันมีเรื่องคนลุกเป็นไฟอยู่เต็มไปหมดเลย ก็พยายามหาวิธีผูกเรื่องให้มันเกิดขึ้นที่ในเมืองไทย ผมก็เลยคุยกับเพื่อนที่อยู่ที่อเมริกา แล้วก็ระดมไอเดียกันไปมาจนเกิดเป็นเรื่องนี้ขึ้นมา มันออกมาที่แนวลึกลับ-ระทึกขวัญ เป็นแนว Thriller แต่ผมมองว่ามันเป็นอะไรที่มากกว่าหนังธริลเลอร์ทั่วไปนะครับ คือมันจะเล่าเรื่องด้วยภาพที่เป็นซิมโบลิคตลอดทั้งเรื่องให้วิเคราะห์เต็มไปหมด”
ผู้กำกับฯ ปีเตอร์ได้เล่าถึงการสร้างสรรค์บทบาทตัวละครหลักของเรื่องที่มีจุดเด่นอยู่ที่ตัวละครเพศหญิงต่อเนื่องไปถึงการร่วมงานกับนักแสดงในเรื่องนี้ว่า
“ผมอยากจะทำหนังที่แบบมีผู้หญิงเป็นตัวเดินเรื่องและช่วยเหลือกันเอง ในเรื่องอื่นตัวละครเพศหญิงจะค่อนข้างอ่อนแอ แต่กับเรื่องนี้จะเป็นผู้หญิงที่สู้คน เป็นคนที่ไม่แข็งแรงโดยภายนอก แต่แข็งแรงจากข้างใน ตอนแรกยังไม่แข็งแรง แต่ตอนหลังก็จะค่อย ๆ แข็งแรงขึ้นจากภายใน หลังจากผ่านเหตุการณ์ต่าง ๆ มาอะไรประมาณนี้ครับ
คาแร็คเตอร์ในหนังเรื่องนี้จะมี 5 ตัวหลัก ๆ ทุกอย่างมันจะถูกขับด้วย ‘ตั๊ก บงกช’ ที่เล่นเป็น ‘โมนา’ คาแร็คเตอร์ของโมนาจะเป็นคนไทยที่ไม่พอใจในความเป็นคนไทย คิดว่ายังไงเมืองนอกก็ต้องดีกว่าประเทศไทย แม้จะไม่เคยไปมาก่อนก็ตาม ซึ่งอันนี้เป็นความเข้าใจผิดอย่างแรง ซึ่งในตอนท้ายเค้าก็จะหันกลับมาคิดได้อีกทีแล้วก็เปลี่ยนไปเมื่อต้องเจอกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในช่วงนั้น
‘หนึ่ง ชลัฏ’ ที่เล่นเป็นตำรวจชื่อ ‘ดอน’ จริง ๆ คาแร็คเตอร์ตัวนี้ ผมสร้างขึ้นจากที่สงสัยว่า มันมีคนดีจริง ๆ เลยหรือเปล่า คือไม่ต้องมีเหตุผล เป็นคนดีจริง ๆ เลย มันเป็นไปได้หรือเปล่า ผมเสนอว่ามันมี ‘ดอน’ หนึ่งคนที่เป็นคนดี เป็นตำรวจที่ดี แล้วก็อยากทำแต่สิ่งที่ถูกต้อง ตามอาชีพของตัวเอง ไม่ใช่เพราะอะไร คืออยากจะทำดีเพราะอยากทำแค่นั้น
‘หนูจ๋า’ เล่นเป็น ‘พลอย’ พยาบาลในหนัง ซึ่งเค้าจะเจอเหตุการณ์คล้าย ๆ กับตั๊ก ตอนแรกเค้าคิดว่าแม่ตัวเองมีความเชื่อเกี่ยวกับเหนือธรรมชาติอะไรเยอะแยะไปหมดเลย แต่พลอยเองกลับไม่ค่อยเชื่อ จนกระทั่งแม่ของตัวเองเกิดลุกเป็นไฟ พลอยก็ไม่รู้ว่าเกิดจากอะไร พลอยกับโมนาก็เลยต้องช่วยกันค้นหาความจริงด้วยกัน หนังเรื่องนี้มันคือผู้หญิงช่วยผู้หญิงประมาณนี้นะครับ
อีกคนคือ ‘ปรางทอง’ ที่เล่นเป็นนักข่าวชื่อ ‘ขวัญ’ เป็นคนที่ขี้สงสัยตามนิสัยของนักข่าวที่ต้องการเสนอความถูกต้องให้คนรับรู้ เป็นตัวละครผู้หญิงอีกคนที่มีบทบาทสำคัญในตามสืบความจริงนี้ครับ สุดท้ายก็คือ ‘พี่บุ๋มบิ๋ม’ จะเล่นเป็น ‘วัง’ ในเรื่องนี้เป็นตำรวจที่เป็นหัวหน้าของดอนอีกที ตัวนี้เป็นตัวละคร 2 ด้าน ตอนแรกเค้าก็ทำสิ่งที่ถูกต้อง แต่ก็มีปัญหากับเรื่องศีลธรรมของตัวเอง แล้วเค้าก็ต้องพิสูจน์ว่าอะไรถูกต้องระหว่างเค้ากับลูกน้องตัวเอง
หนังเรื่องนี้ตอนทำ ทุกคนเหมือนเป็นเพื่อนกันหมด ผมรู้จักตั๊กมาก่อนอยู่แล้ว ผมรู้สึกว่าตอนถ่ายทำเรื่องนี้ ผมอยากดึงความรู้สึกเล็ก ๆ น้อย ๆ ของตั๊กออกมา พยายามเน้นรีแอ็คชั่นมากกว่าแอ็คชั่น ผมพยายามเน้นตรงนั้นมากกว่า อย่างเวลาผมกำกับตั๊ก ผมจะใช้ Verbal ภาษากายคุยกับเค้า ให้เค้าทำอะไรซักอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อเราใช้ตรงนี้อธิบาย อารมณ์มันก็จะออกมาธรรมชาติ แต่ถ้าเราบอกให้เค้าเล่น มันก็จะเป็นการแอ็คซึ่งมันจะดูปลอม แต่พอเราบอกด้วยภาษากาย มันก็จะออกมาธรรมชาติ
ผมใช้วิธีนี้กำกับกับนักแสดงทุกคน ซึ่งบางคนที่มี Sense ก็จะกินหรือเข้าใจตรงนี้ง่าย ๆ เลย แล้วมันจะออกมาง่ายและธรรมชาติมาก โดยไม่ต้องแอ็คให้ดูปลอม”
นอกจากเรื่องราวและคาแร็คเตอร์นักแสดงที่น่าสนใจแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ผู้กำกับฯ เน้นย้ำและตั้งใจนำเสนออกมาเป็นพิเศษ นั่นก็คือ “โลเกชั่นการถ่ายทำ” และ “การกำกับภาพ”
“โลเกชั่นของหนังเรื่องนี้ ผมอยากจะเล่าเรื่องให้มันอยู่ในกรุงเทพฯ เพราะผมคิดว่ากรุงเทพฯ มันเป็นเมืองที่มีหลายคาแร็คเตอร์มาก ๆ เลย แล้วบางทีคนไทยอาจจะมองไม่เห็นเสน่ห์ของกรุงเทพฯ มีทั้งสวย แปลก มั่ว มันมีคาแร็คเตอร์เต็มไปหมดเลย มันก็เหมือนกับคนน่ะ ที่มีบุคลิกหลาย ๆ ด้าน แล้วผมก็รู้สึกว่า ผมอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ อยู่แล้ว ผมก็เลยอยากจับเอากรุงเทพฯ มาเป็นแบ็คกราวด์ของหนังเรื่องนี้ครับ
แล้วการถ่ายภาพของเรื่องนี้ ผมก็พยายามจะเน้นมุมกล้องที่ออกแบบแนวธรรมชาติหน่อย ยกตัวอย่างเช่น เรื่อง ‘999-9999 ต่อ-ติด-ตาย’ ผมถ่ายด้วยเลนส์ไวด์ เพราะมันเกี่ยวกับกลุ่มเพื่อน เกี่ยวกับฉากโชว์ต่าง ๆ แต่เรื่องนี้ผมกลับมาถ่ายด้วยเลนส์เทเล ผมอยากจะบีบทุกอย่างให้มันเหมือนกับตัดโลกภายนอกออกไป มันจะทำให้เกิดผลที่ตามมาอย่างเช่น ตัวละครของตั๊ก บงกชก็จะเหมือนอยู่ตัวคนเดียว ไม่มีใครรอบตัวเค้า รู้สึกว่าเหงา ในเรื่องนี้แม่เค้าเกิดเหตุการณ์ลุกเป็นไฟ แล้วก็ไม่รู้ว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น ผมอยากเสนอด้วยมุมกล้องให้เหมือนกับตัวละครโดนทิ้งให้อยู่คนเดียว โดนตัดจากโลก ปรึกษาใครไม่ได้ คือทุกอย่างมันเกิดขึ้นที่กรุงเทพฯ แล้วผมก็รู้สึกว่ากรุงเทพฯ มันเป็นเมืองที่เหงาเหมือนกันนะ แล้วก็ในเรื่องผมพยายามจะเอาอารมณ์เมืองที่เหงาเข้ามาเน้น เข้ามาสร้างคาแร็คเตอร์ของตั๊ก บงกชในเรื่อง อย่างนี้เป็นต้นครับ”
ขึ้นชื่อว่า “คนไฟลุก” แล้ว ดูเหมือนว่าจะต้องหวังพึ่งเทคนิคพิเศษทางคอมพิวเตอร์กราฟฟิก (CG) เช่นเดียวกับภาพยนตร์ส่วนใหญ่ในยุคนี้ แต่ภาพยนตร์ระทึกขวัญเรื่องนี้กลับไม่ได้ใช้ CG เลย เป็นไปได้อย่างไร ผู้กำกับได้เล่าเบื้องหลังฉากคนลุกเป็นไฟให้ฟังว่า
“โอ้วววว…ใช่เลยครับ ฉากใหญ่ ๆ ในเรื่องนี้ก็เป็นฉากที่ผมดีไซน์ให้คนลุกเป็นไฟได้เองเลย ซึ่งผมไม่ใช้ซีจีเลย ผมใช้ของจริงเลย ผมถ่ายด้วยฟิล์ม แล้วผมก็อยากจะให้เห็นความเป็นจริงของไฟ ตอนแรกผมเคยทำหนังฝรั่งที่มีซีจีอยู่กว่า 500 ช็อต มันทำให้ผมเลี่ยนเลย ดังนั้นพอมาถึงเรื่องนี้ ผมก็เลยไม่ใช้ซีจีใด ๆ เลย อาจจะเป็นเครดิตซีเควนซ์นิดหน่อยที่เป็นซีจี แต่นอกนั้นไม่มีซีจีเลย ประเด็นก็คือสำหรับผม ซีจีมันเริ่มเชยแล้วล่ะ มันทำมาเยอะจริง ๆ จนน่าเบื่อแล้ว แต่คนอื่นอาจจะคิดคนละแบบ แต่สำหรับผมต้องการความสด ความจริง ความเป็นกรุงเทพฯ จริง ๆ การลุกเป็นไฟจริง ๆ คาแร็คเตอร์จริง ๆ ผมอยากกลับมาทางความเป็นจริง ไม่อยากไปทางแฟนตาซีมากครับ
อย่างที่บอกจริง ๆ การทำฉากลุกเป็นไฟน่ะมันยากมาก ๆ เพราะไฟมันร้อนมาก ๆ พอมันกระเด็นออกมาแล้วโดนผิว มันจะไหม้ แล้วมันก็จะเป็นเรื่องเลย สิ่งที่เราต้องทำก็คือ เราต้องทำเป็นบอดี้สูทขึ้นมา เป็นเหมือนผิวปลอมโดยทำจากโฟมที่ไม่ไหม้ไฟ แล้วเจาะรู แล้วก็เอาโปรแตสเซียมใส่เข้าไปข้างในแล้วก็มีแบตเตอรี่ไฟฟ้าชาร์ตอยู่ข้างใน ก็คือโปรแตสเซียมมันจะลุกเป็นไฟสีขาว ซึ่งผมก็อยากได้ไฟที่ดูไม่ธรรมดา ก็เลยเป็นไฟสีขาว แล้วมีสะเก็ดอะไรเยอะแยะไปหมด การผสมอันนี้มันต้องลองผิดลองถูกเยอะแยะไปหมดเลยกว่าจะได้”
ภาพยนตร์ที่คล้ายกัน
For Love of the Game (1999) ทุ่มหัวใจให้เกมรัก
Million Dollar Baby (2004) เวทีแห่งฝัน วันแห่งศักดิ์ศรี
The Patriot (2000) ชาติบุรุษ ดับแค้นฝังแผ่นดิน
The Professor and the Madman (2019) ศาสตราจารย์กับปราชญ์วิกลจริต
6.2