Bharat (2019) ภารัต
เรื่องย่อ
Bharat (2019) ภารัต ภารัตคือการเดินทางของชายคนหนึ่งกับชนชาติหนึ่ง ท่ามกลางการกำเนิดอินเดียในฐานะชาติอิสระ ครอบครัวหนึ่งเดินทางฝ่าอันตรายไปสู่อิสรภาพ ซัลมัน ข่านซูเปอร์สตาร์อินเดียรับบทนำ ร่วมด้วยแคทรีนา คาอิฟ ซูนิล โกรเวอร์ ทาบู และดิษา ปัตนี ภารัตคือหนังที่สนุกและน่าซาบซึ้งของการเสียสละของชายคนหนึ่งเพื่อทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับพ่อ
ในปี 2010 Bharat Kumar เจ้าของร้านในเดลีปฏิเสธที่จะขายร้านของเขาแม้จะมีข้อเสนอที่ให้ผลกำไรก็ตาม ในวันเกิดปีที่ 70 ของเขา เขาเล่าอดีตให้หลานสาวฟัง และภาพยนตร์เรื่องนี้ก็เข้าสู่บรรยากาศย้อนอดีต ดูหนังออนไลน์
ผู้กำกับ Bharat (2019) ภารัต
Ali Abbas Zafar
บริษัท ค่ายหนัง
Reel Life Productions
Salman Khan Films
T-Series
นักแสดง
Salman Khan
Katrina Kaif
Disha Patani
Sunil Grover
Jackie Shroff
โปสเตอร์หนัง
รีวิวหนัง Bharat (2019) ภารัต
ไปดูมาเเล้ว Bharat หนังดีที่แนะนำค่ะ ขอบคุณรีวิวดีๆจากแฟนเพจน่ารักCrน้องต่ายมากๆนะคะ❤❤❤
วันนี้มาดูหนังใหม่ซัลมาน ล่ะค่ะ
เรื่องนี้เป็นหนังเกาหลีมาก่อน แต่ว่าเราก็ยังไม่ได้ดูเวอร์ชั่นเกาหลีนะคะ ดูอันนี้ก่อน 55
หนังเริ่มเรื่องมาก็ใช้ประเด็นช่วงการเกิดข้อพิพาทระหว่างปากีสถานกับอินเดีย เป็นช่วงแบ่งแยกดินแดน ตัวบารัตพระเอกของเราก็เริ่มที่นี่ อพยพย้ายจากปากีมา
อินเดีย และพลัดพรากกับพ่อและน้องสาว โดยมีคำมั่นสัญญากับพ่อว่าจะมาเจอกันที่เดลี
บารัตก็ใช้ชีวิตอย่างซื่อตรงต่อคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับพ่ออย่างมั่นคง ซึ่งเนื้อเรื่องส่วนนี้ก็สนุกและชวนให้ตื่นเต้นไปกับชีวิตของผช.สู้ชีวิตคนนึง ที่ใช้ชีวิตโลดโผนไม่แพ้ใคร โดยมีเพื่อนรักเสมือนพี่น้องที่กำพร้าครอบครัวคอยอยู่เคียงข้างตลอดมา (เราค่อนข้างชอบบทพระรองนี่มากเพราะเค้าคือส่วนหนึ่งที่หล่อ
หลอมบารัตให้เป็นบารัตในแบบทุกวันนี้) ส่วนนางเอกคือผญ.หัวสมัยใหม่เป็นคนหัวก้าวหน้า ในแบบที่ไม่ค่อยได้เห็นเท่าไหร่นัก
เรื่องก็ดำเนินได้สนุก อาจจะมีช่วงเอื่อยบ้าง แต่ไม่มากเท่าไหร่ จนหนังจบแบบแฮปปี้เอนดิ้ง ถึงจะมีการสูญเสีย แต่ไม่มีอะไรที่เสียเปล่า
งานภาพ เรื่องนี้ไม่ได้มีฉากหวือหวาตื่นตาตื่นใจเท่าไหร่นัก เน้นโทนเรียบง่าย แต่ก็กำกับ และลำดับภาพสื่ออารมณ์ได้ดี ส่วนเพลงก็เพราะตามสไตล์ และเนื้อหาดีมาก ชอบๆ
พยายามรีวิวแบบไม่สปอยเนื้อหา เผื่อคนที่อยากจะไปดู เราแนะนำให้ไปโดนนะคะ สำหรับคนที่ชอบหนังแนวนี้ เป็นหนังรักกึ่งๆดราม่าแต่แฮปปี้ ดูแล้วมีครบรส ทั้งสนุก ตื่นเต้น ลุ้น และซึ้ง
ปล.เราชอบมุกตลกที่แทรกเข้ามาในเรื่อวด้วยมันทำให้หนังกลมกล่อมขึ้นเยอะ
งานรีเมคสไตล์บอลลีวู้ด ที่เซอร์วิสคนดูจนล้นทำหนังเป๋
1). รีเมคหนังดังของเกาหลี โครงเรื่องคล้าย แต่รสชาติไม่เหมือนเลย
Bharat หนังบอลลีวู้ดฮินดี รีเมคจากหนังเกาหลีรายได้ถล่มทลายอย่าง Ode to My Father หรือในชื่อไทยว่า “กี่หมื่นวัน…ไม่ลืมคำสัญญาพ่อ” พอหนังเรื่องนี้ไปอยู่ในรูปแบบการเล่าเรื่องแบบบอลลีวู้ดที่มีความล้นในการเล่าเรื่องเป็นทุนเดิม ผลลัพธ์ที่ได้คือ Ode to My Father เวอร์ชั่นที่มีแต่ความล้นและจนเกินความจำเป็นในหลายๆเหตุการณ์
ตัวเรื่องของทั้งเวอร์ชั่นบอลลีวู้ดและเกาหลี มีโครงแบบเดียวกันคือ ชายชราที่หวนคิดถึงอดีตของตัวเองผ่านเรื่องราวที่เป็นดั่งบททดสอบชีวิต พร้อมคำมั่นสัญญาที่มีให้แกพ่อของตัวเอง ผ่านประวัติศาสตร์บ้านเมืองของประเทศตัวเอง โดยในเวอร์ชั่นบอลลีวู้ดนั้นจะเริ่มเล่าในช่วงปี 1947 ในเหตุการณ์ สงครามแคชเมียร์ครั้งที่ 1 อันเป็นจุดเริ่มต้นของแบ่งแยกดินแดนกันระหว่าง อินเดียกับปากีสถาน ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากได้เอกราชจากอังกฤษได้ไม่นาน โดยสถานที่พระเอกอยู่คือ แคชเมียร์ จังหวัดริมชายแดนอินเดีย กับ ปากีสถาน ต้องหนีตายจากเหตุการณ์ดังกล่าว มันจึงทำให้สถานะของตัวเอกในเรื่องมันจะกึ่งๆคนนอกก็ไม่ใช่ คนในก็ไม่เชิง
ด้วยชื่อของตัวเองที่ชื่อว่า “บารัต” นั้นมันมีความหมายแง่ของชื่อที่เหมือนกับชื่อประเทศอินเดียดั่งเดิม (บารัต = ภรัต, ภรต หรือ ภารตะ) หนังเลยนำเสนอความชาตินิยมออกมาหน่อยๆ แต่อย่างที่บอกไปว่า ด้วยความที่ตัวเอกมีสถานะเหมือนคนนอกหนังเลยเลือกจะผสานความสัมพันธ์อันดีระหว่าง อินเดีย กับ ปากีสถาน ซะมากกว่า เหมือนอย่างที่หนังของ ซัลมาน ข่าน พระเอกและโปรดิวเซอร์ของเรื่องมักจะเล่าถึงประเด็นแบบนี้ในหนังช่วงหลังๆของเขาอีกด้วย เช่นเรื่อง Bajrangi Bhaijaan พระเอกต้องนำเด็กใบ้ไม่ยอมพูดไปส่งบ้านที่อยู่ในปากีสถาน หรือ Ek Tha Tiger กับ Tiger Zinda Hai พระเอกเป็นสายลับอินเดียที่ต้องร่วมมือกับนางเอกที่เป็นสายลับปากีสถานในการทำภารกิจลับร่วมกัน เป็นต้น โดยหนังออกแนวสมานฉันท์กัน เธอกับฉันก็คนเหมือนกันนะ เราจะแบ่งแยกกันไปทำไมกันละ เลยไม่แปลกใจเมื่อได้เห็นหน้าหนัง ซัลมาน ข่าน แล้วหนังจะเดินเรื่องมาแบบนี้
2). เซอร์วิสคนดูเต็มที่จนตัวบทมีช่องโหว่จนปิดไม่มิด
สำหรับผู้เขียนหนังค่อนข้างมีปัญหาด้านบทในหลายๆช่วงมาก หนังมีการเพิ่มเนื้อเรื่องบ้างอย่างเข้าไป ซึ่งเป็นการเพิ่มเพื่อเซอร์วิสคนดูเฉยๆ มันจึงทำให้บทของหนังมันเป๋ดูแล้วก็รู้สึกขัดๆว่าช่วงนี้มีเพื่ออะไรวะเนี่ย ส่วนหนึ่งคือมีเพื่อเพิ่มเวลาของหนังให้มีความยาวตามมาตราฐานหนังของบอลลีวู้ดที่ส่วนใหญ่มักจะยาว ประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง ถึง 3 ชั่วโมงกว่าไปเลย แล้วทำไมถึงยาวแบบนั้นละ ส่วนหนึ่งมาจากวัฒนธรรมหนังของบอลลีวู้ดจะเน้นขายเซอร์วิสของดาราสูง เมื่อคนดูรักที่จะได้เห็นดาราที่เขารักนานๆ ผู้สร้างก็ต้องสร้างหนังให้นานขึ้นด้วย มันเลยทำ Bharat ต้องขยายตัวเรื่องให้ยาวกว่าของต้นฉบับแล้วต้องมอบความบันเทิงให้คนดูอย่างเต็มสวิง
ด้วยสิ่งนี้มันดันทำให้ตัวเรื่องมันเป๋ด้วยการเพิ่มส่วนเนื้อเรื่องที่ไม่จำเป็น หรือเพิ่มสถานะการณ์ที่ดูวิกฤตมากสำหรับตัวเอกแต่ดันแก้วิกฤตด้วยการกระทำง่ายๆกลายเป็นหนังฮาไปเลย หรือการใช้เพลงหรือฉากบางฉากที่ทำออกมาให้ออกแฟนตาซีด้วยเพื่อให้คนดู ดูง่ายไม่ติดคิดมาก ซึ่งถ้าเป็นต้นฉบับของเกาหลีมันตึงเครียดและจริงจังค่อนข้างมากด้วยทำให้การจะเดินตามรอยต้นฉบับมันไม่บันเทิงสำหรับความเป็นบอลลีวู้ดนั่นเอง
7.1