ผู้กำกับ
บริษัท ค่ายหนัง
- ภาคแรกสร้างและจัดจำหน่ายโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น ส่วนภาคหลังจากนั้น จัดจำหน่ายโดย พระนครฟิลม์ โมโนฟิล์ม เอ็ม เทอร์ตี้ไนน์ เอ็มพิคเจอร์ และเมเจอร์ซีนิเพล็กซ์
นักแสดง
- 2550 หอแต๋วแตก (Haunting Me) จาตุรงค์ มกจ๊ก, เอกชัย ศรีวิชัย, ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์, โก๊ะตี๋ อารามบอย
- 2552 หอแต๋วแตก แหกกระเจิง (Oh My Ghost! 2) จาตุรงค์ พลบูรณ์ , เอกชัย ศรีวิชัย , ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์, โก๊ะตี๋ อารามบอย , วีรดิษฐ์ ศรีมาลัย , สุดารัตน์ โพธิ์น้ำคำ, อภิญญา สกุลเจริญสุข, วราภัทร์ เพชรสถิต , เอนก อินทะจันทร์ ,ชาญณรงค์ ขันทีท้าว
- 2554 หอแต๋วแตกแหวกชิมิ (Oh My Ghost! 3) จตุรงค์ พลบูรณ์ , เอกชัย ศรีวิชัย , ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์ , โก๊ะตี๋ อารามบอย , วีรดิษฐ์ ศรีมาลัย , อาภาพร นครสวรรค์ , คชาภา ตันเจริญ , ภรัณยู โรจนวุฒิธรรม , กรรชัย กำเนิดพลอย, ชัยวัฒน์ ทองแสง , โซเฟีย ลา
- 2555 หอแต๋วแตกแหกมว๊ากมว๊ากกก (Oh My Ghost! 4) ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์ , เอกชัย ศรีวิชัย , โก๊ะตี๋ อารามบอย , อาคม ปรีดากุล , จตุรงค์ พลบูรณ์
- 2558 หอแต๋วแตก แหกนะคะ (Oh My Ghost! 5) เอกชัย ศรีวิชัย , จตุรงค์ พลบูรณ์ , โก๊ะตี๋ อารามบอย
- 2561 หอแต๋วแตก แหกต่อไม่รอแล้วนะ (Oh My Ghost! 6 The New Gen) จตุรงค์ พลบูรณ์ , เอกชัย ศรีวิชัย , โก๊ะตี๋ อารามบอย , ติ๊ก กลิ่นสี ,พิ้งกี้ สาวิกา , กระแต อาร์สยาม , เก่ง ธชย , เจนนี่ ปาหนัน , ธงธง ม๊กจ๊ก , วีรดิษฐ์ ศรีมาลัย
- 2563 พจมาน สว่างคาตา หรือ หอแต๋วแตก พจมาน สว่างคาตา (Pojaman The Legacy) จตุรงค์ พลบูรณ์ , เอกชัย ศรีวิชัย , ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์ , โก๊ะตี๋ อารามบอย , เขมนิจ จามิกรณ์ , ชาลี ไตรรัตน์ , วีรดิษฐ์ ศรีมาลัย ,ณธรรศ ตันเจริญ
- 2564 หอแต๋วแตก แหกโควิดปังปุริเย่ (Oh My Ghost! The Fierce Escape from Covid 19) จาตุรงค์ มกจ๊ก , โก๊ะตี๋ อารามบอย , ติ๊ก กลิ่นสี ตั้ม วราวุธ , โดม จารุวัฒน์, นิกกี้ ณฉัตร , โดม เพชรธำรงชัย บุหงาวลัย คงขวัญ (แม่หญิงลี พระมหาเทวีเจ้า) ,(ทิพย์) เมญ่า ลินดา
- 2567 หอแต๋วแตก แหกสัปะหยด (Oh My Ghost! 10 The Finale) จาตุรงค์ พลบูรณ์, เจริญพร อ่อนละม้าย, วีรดิษฐ์ ศรีมาลัย
โปสเตอร์หนัง
รีวิวหนัง
ประเด็นเควียร์แรก แม้หนังเรื่องนี้จะไม่ได้นำเสนอภาพลักษณ์ด้านบวกของ LGBTQ+ เท่าไรนะ ยังคงติดกับภาพว่ากะเทย = ตลก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่านี่คือหนังที่เป็นพื้นที่ทดลองความเป็นไปได้ของความสัมพันธ์ที่เควียร์มาก ทั้ง ความสัมพันธ์พี่น้องกะเทยสามคนที่มีลูกชายที่ดูแลกัน ความสัมพันธ์ระหว่างคน-ผีแพนเค้กที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติ เป็นเพื่อนกันได้ แถมผีแพนเค้กยังมาช่วยไล่ผีด้วยอีก ประเด็นเควียร์ที่สองคือ ความเป็นไปได้อันไม่รู้จบของหนังที่จะสรรหาความพิเศษพิศดารออกมาเล่นมุขหรือเสียดสีเหตุการณ์ทางสังคมที่ทันสมัยเสมอจนบางคนก็เคยเรียกว่า หนังเรื่องนี้เปรียบเสมือนจดหมายเหตุของเมืองไทยที่เต็มไปด้วยประโยคไอคอนนิคมากมายที่ยังถูกนำมาใช้ทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่ พะยูน ไม่ได้ฆ่า ไปจนถึง การเสกคาถาเป็นเมนู คาปูชิโน่เอสเปรสโซ่ไล่ผี และ ประเด็นเควียร์ที่สาม กะเทย กลายเป็นฮีโร่ผู้เซฟเดอะเดย์ มีบทบาทเป็นตัวละครหลักดำเนินเรื่องเป็นตัวของตัวเองโดยไม่ได้แคร์สังคม แม้จะไม่ได้เป็นพื้นที่สร้างภาพลักษณ์ด้านบวกแต่มันก็เป็นพื้นที่บ่งบอกว่า LGBTQ+ ไม่ได้มีรูปแบบเดียว
หอแต๋วแตกแหกกระเจิง เป็นอีกเรื่องที่เรียกเสียงหัวเราะได้ชั่วครั้งชั่วคราว หากนำกลับมาดูซ้ำอีก อรรถรสจะลดลงกว่างานหนังที่สร้างอย่าพิถีพิถันในเรื่องบท มีความ ตลกเพราะเนื้อเรื่อง แล้วรองรับด้วยมุขขำ ไม่ใช่มุขฮาแตกแล้วรองรับด้วยบทภาพยนตร์เช่นนี้ สุดท้ายแล้วหอแต๋วแตก2 ก็จะถูกกลืนหายไปตามกาลเวลา
พี่หนุ่ม กรรชัย เคยเล่นหนัง “หอแต๋วแตก แหวกชิมิ“ เมื่อ 13 ปีก่อน แกบอกว่า รู้สึกอายสุดสุด และเป็นตราบาปในชีวิต55 เอาจริงๆ พี่หนุ่มก็เล่นน่ารักดีนะ โปกฮา จังหวะได้ กลมกลืนกับคนอื่นที่เล่นมานาน 😂❤️
สำหรับภาพยนตร์เรื่องหอแต๋วแตก แหกมว๊ากมว๊ากกก นั้นเป็นภาค 4 ของซีรีย์หอแต๋วแตก (ไม่เล่าละกันว่าเรื่องเป็นไงมาไง) ภาคนี้เป็นเรื่องของ… เอ่อ… คือไม่รู้ว่าจะสรุปเรื้อเรื่องให้ฟังยัง เพราะมันก็มีเรื่องนั้นเรื่องนี้เข้ามาแบบ… เอาเป็นว่า มีนักศึกษาหญิงโดนฆาตรกรรมในหอพักของเหล่าเจ๊ๆ แล้วก็มาหลอกหลอนคนในหอพัก เพียงแค่จะให้คนช่วยตามหาว่าใครฆ่าหล่อน แค่นั้นแหละ… สาระสำคัญของหนังเรื่องนี้ ไม่ต้องถามครับ ไ่ม่มีเลย พยาย๊ามมมม พยายามคิดเท่าไหร่ก็หาสาระสำคัญของหนังเรื่องนี้ไม่ได้จริงๆ ได้อย่างเดียวคือ ความฮา ซึ่งเป็นความฮาที่มากมายหลากหลายมุกเพราะรู้ๆ กันอยู่ว่าตลกชื่อดังหลายๆ คนก็มาร่วมเล่นกันมากมาย แต่เมื่อพจน์ อานนท์เป็นผู้กำกับ ฉะนั้น เรื่องของการไว้ลายคงหนีไม่พ้นการกัดจิดสังคมแบบเจ็บๆ จะเห็นได้หลายฉากเช่น ฉากศิลปะวาดรูปด้วยนม หรือฉากผีแพนเค้กขับชอปเปอร์พร้อมสวมชฎาแบบเลดี้ ก้ากา เป็นต้น
หนังก็สนุกพอใช้ได้ แต่ถ้าเทียบกับภาคก่อนๆ ภาคนี้ดูแย่ที่สุด เมื่อเทียบกับทุกภาคก่อนๆ เพราะว่า มุกเดิมๆที่ใช้หากินตลอก ไม่ค่อยมีอะไรแปลกใหม่ จนคนดูจับจุดได้แล้ว เลยทำให้ความฮาและความตลกๆ ไม่ค่อยได้เท่าที่ควร ถ้าดูเพลินๆแบบไม่คิดอะไรมากก็พอใช้ได้ แบบว่าตลกเบาๆ ไม่ขำมากเหมือนภาคก่อนๆ แต่ถ้าจะเอาความฮาสุดๆเหมือนภาคก่อนๆ บอกได้เต็มปากเลยว่าผิดหวัง ทุกอย่างไม่มีอะไรใหม่เลย ดูเดิมๆไปหมด ทั้งบท คำพูดคำจานักแสดง มุกต่างๆ เก่าเดิมๆจนดูแล้วรู้หมดแล้ว เลยทำให้หนังออกมาไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เหมือนก่อนๆ แต่ที่ชอบคือนักแสดง และคอสตูม อันนี้จัดเต็มเหมือนเดิม แต่มุกนี่พูดเลยว่าอ่านทันหมดแล้ว!! ให้คะแนน 6.8/10 คะแนน
- หอแต๋วแตก แหกต่อไม่รอแล้วนะ (Oh My Ghost! 6 The New Gen)
- พจมาน สว่างคาตา หรือ หอแต๋วแตก พจมาน สว่างคาตา (Pojaman The Legacy)
- หอแต๋วแตก แหกโควิดปังปุริเย่ (Oh My Ghost! The Fierce Escape from Covid 19)
- หอแต๋วแตก แหกสัปะหยด (Oh My Ghost! 10 The Finale) beartai BUZZ
รีวิว ‘หอแต๋วแตก แหกสัปะหยด’ หนังขยี้มุกเรียลไทม์ ที่สมองอาจต้องทำงานหนัก สนุกหรือไม่แล้วแต่ ‘รสนิยม’ ในขณะที่ผมกำลังเขียนรีวิวอยู่นี้ เชื่อว่าหลายท่านคงผ่านตารีวิว ‘หอแต๋วแตก แหกสัปะหยด’ ที่ร้อนแรงและเดือดดาลในพื้นที่โซเชียลมาได้หลายชั่วโมงแล้ว และแน่นอนว่ากระแสของมันคงทำให้มีคนไม่น้อยเลยครับที่ตัดสินใจตีตั๋วเพื่อชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ทั้งเพื่อพิสูจน์คุณภาพและเป็นการประกาศตนเป็นแฟนเดนตายภาพยนตร์ชุด ‘หอแต๋วแตก’ มา 17 ปีของอายุแฟรนไชส์นี้ โดยไม่หวั่นเสียงวิจารณ์ และเช่นเคยที่ พชร์ อานนท์ ก็มักหยิบจับกระแสที่กำลังดังในโซเชียลมาใส่ในหนัง ที่ลือลั่นในภาคนี้ก็เห็นจะได้แก่ฉากสุขุมวิท 11 ที่สร้างตำนานนัดถ่ายและตัดต่อเพิ่มเติมในเวลา 1 สัปดาห์ก่อนกำหนดฉาย เนื้อเรื่องโดยคร่าว ๆ ของหนังภาคนี้คือ อาโคย (รับบทโดย วีรดิษฐ์ ศรีมาลัย) ถูกผีเข้าหลังจาก พยูน (รับบทโดย ติ๊ก กลิ่นสี) เข้ามาเพราะยังเข้าใจว่าอาโคยเป็นคุณหลวงคนรักเก่าของตน จนทำให้ยายผีธี่หยดเข้ามาสิงสู่และหมายเอาชีวิต จนเจ๊แต๋ว (รับบทโดย จาตุรงค์ พลบูรณ์) ต้องขนอาโคยและแพนด้า (รับบทโดย โก๊ะตี๋-เจริญพร อ่อนละม้าย) น้องสาวของแพนเค้กไปยังหมู่บ้านสัปะหยดเพื่อหาทางช่วยเหลืออาโคย แต่ตามฟอร์มว่างานนี้ต้องมีเหล่ากะเทยวิ่งหนีผี และเหล่าหนุ่ม ๆ แก้ผ้าอยู่ระหว่างทางจนกว่าเหตุการณ์จะคลี่คลาย อย่างที่เราเกริ่นไว้แล้วว่าเหล่าแฟน ๆ ของหนังชุด ‘หอแต๋วแตก’ ก็คงจะติดตามชมกันแน่นอนสำหรับหนังภาคนี้ ซึ่งความสนุกของหนังรอบที่ผมดู หนังก็ดูจะถูกอกถูกใจกับมุกด่ากันไปกันมาของกะเทยไม่น้อย โดยเฉพาะเหล่าลูกเล็กเด็กแดงที่อายุไม่ได้ถึง 15+ ตามเรตหนังก็ดูจะจอยกับหนังได้ไม่ยาก สังเกตจากตอนออกจากโรงก็จำคำด่ามาตะโกนใส่กันดูน่ารักดีครับ ถือว่าหนังพี่พชร์ทำให้เยาวชนสามารถเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะได้เร็วดีจังเลย และดูเหมือนว่าคราวนี้พี่พชร์จะอยากดันบาร์หนังชุด ‘หอแต๋วแตก’ ขึ้นไปอีกระดับเพราะนอกจากมุกแซวเรื่อง ‘สัปเหร่อ’ ได้ 700 ล้านบาท มาปะทะ ‘ธี่หยด’ ได้ 500 ล้านบาท มาเป็นซีนโอเพ่นนิ่งสุดอลังการพร้อมซีจี 700,000,000 สร้างตำนานหนังที่พยายามใช้ซีจีโดยไม่จำเป็นให้โลกจำแล้ว ในฐานะที่ปีนี้ได้ตามหนังเข้าชิงออสการ์อยู่บ้างก็พบว่าหนังมีหลายอย่างที่ซ้อนทับกับบรรดาผู้เข้าชิงหนังออสการ์ปี 2024 นี้ได้แบบหน้าไม่อาย เอ้ย! ได้อย่างเหลือเชื่อ
‘Barbie’ สีชมพูบนชุด LGBTQ+ กับการค้นพบคุณค่าในตัวเองของเจ๊แต๋ว อันนี้แม้หนังจะไม่ได้เน้นมาก แต่เรากลับอดสังเกตไม่ได้ว่าหนังภาคนี้ไม่ได้โฟกัสเรื่องการแสดงเป็นกะเทยพูดจีนของลุงรงค์แล้ว เพราะเชื่อว่าคนดูแค่เห็นหน้าก็จะเห็นสีชมพูในจิตใจ ดังนั้นแม้ว่าลุงรงค์จะมีพูด “จิง ๆ หลุก ๆ ไปบั้ง” หรือหลุดคาแรกเตอร์เจ๊แต๋วไปบ้างก็อย่าได้แคร์ หรือกระทั่งการขายคาแรกเตอร์ตลกสังขารของ LGBTQ+ ในหนังก็มุ่งเน้นทำให้เห็นแง่งามของกะเทยพิการที่เสิร์ฟน้ำเจ๊แต๋วอย่างยากลำบากจนคนดูหัวเราะไม่ออก ดังนั้นการได้ชมกะเทยด่ากัน กะเทยแอบดูผู้ชายอาบน้ำก็ไม่ได้ต่างจากฉากที่ มาร์โก ร็อบบี (Margot Robbie) มองเห็นแง่งามในรอยเหี่ยวย่นของหญิงชราที่ป้ายรถเมล์ และหาก ‘The Zone of Interest’ ทำให้รู้สึกถึงความน่ากลัวของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ด้วยเสียงและการดีไซน์งานภาพแบบแอบถ่ายแล้ว ‘หอแต๋วแตก แหกสัปะหยด’ กลับสอนมวยหนังข้างต้นด้วยการใช้ ‘เสียงออฟซีน (Offscene)’ เพื่อสอนว่าบางทีหากเราถ่ายภาพมาไม่พอตัดก็ต้องฉลาดที่จะใส่เสียงตัวละครลอย ๆ กับฉากรถวิ่งบนถนนที่ถ่ายด้วยโดรนเพื่อเติม ๆ เรื่องให้มันพอมี ใส่เสียงเจ๊แต๋วร้องเพลง ‘Passion’ ของ เปิล ไอริณ กับภาพหอเจ๊แต๋วตอนเปิดเรื่องแบบไม่มีที่มาที่ไป หรือการเพิ่มผีในเรื่องให้มันมาก ๆ เมคอัปหน้าเละ ๆ ของผีให้เยอะ ๆ ก็เพื่อเป็นมุมกลับกับ ‘The Zone of Interest’ คือการทำให้น่ากลัวเพื่อบอกคนดูว่า โลกนี้ไม่มีอะไรต้องกลัว แถมพี่พชร์ยังใช้หลักการเดียวกันกับมุกตลกของหนังทั้งเรื่องด้วย เพราะถึงจะได้ชื่อว่าเป็นคอมเมดี้ คุณก็ไม่จำเป็นจะต้องตั้งหน้าตั้งตาขำตลอดเวลา โดยเฉพาะมุกที่แพนเค้กเผลอไปมีอะไรกับเด็กหนุ่มอายุ 17 ปีเหมือนกรณีนักมวยโอลิมปิกคนนั้น ก็ยังอุตส่าห์มีสาระมาสอนให้รู้จักการตรวจบัตรประชาชนของคู่นอนก่อนจะต้องไปขึ้นโรงพักขึ้นศาล
ส่วนหนังเรื่องอื่น ๆ อาจจะไม่ได้เห็นชัดนักแต่พอมีบางประเด็นที่พี่พชร์สามารถกล่าวเรื่องเดียวกันได้ชาญฉลาดมากกว่าทั้งประเด็น นักสร้างความตายของ ‘Oppenheimer’ ที่ไม่จำเป็นต้องอิงเรื่องคนสร้างระเบิดปรมาณูแค่ใส่แก๊งมอเตอร์ไซค์ดักข่มขืนแล้วไปบวชพระแค่นี้ก็ทำให้เห็นถึงความเทา ๆ ของมนุษย์โดยไม่จำเป็นต้องไประเบิดอะไรให้โลกเดือดร้อนเหมือน คริสโตเฟอร์ โนแลน (Christopher Nolan) และที่โกรธมากคือทำไมเราไม่ได้ดู ‘หอแต๋วแตก แหกสัปะหยด’ ก่อนหน้า ‘Poor Things’ เพราะการเล่าเรื่องหรือกำกับหนังที่มีตัวละครที่ไม่อาจอธิบายด้วยตรรกะทั้งปวง เป็นข้อพิสูจน์ว่าหาก ยอร์กอส ลันธิมอส (Yorgos Lanthimos) คิดจะทำหนังตลกที่เปลี่ยนเรื่องเปลี่ยนประเด็นระดับไฮสปีดและเว้นช่องว่างให้คนดูคิดเอาเองประหนึ่งหนังอาร์ตก็อาจจะต้องบินมาเทคคอร์สการทำหนังกับพี่พชร์เป็นการส่วนตัว ไม่ว่าจะพิจารณาจากการเล่าเรื่องที่ไม่ได้บอกคนดูหมดเปลือกแต่ทิ้งช่องว่าง เริ่มเรื่องที่ตัวละครหนังทำเงินซัดกัน แล้วไปเล่าเรื่องการถูกผีเข้าแบบงง ๆ เดินทางไปหมู่บ้านลึกลับแบบไม่มีเหตุผล มีอินฟลูในโลกออนไลน์โผล่มาแล้วก็หายไปเลย หรืออยู่ดี ๆ อยากจะให้เหตุผลกับการกระทำตัวละครก็โผล่มา หรือกระทั่งการมาถึงของตัวละครลับท้ายเรื่องเพื่อมาสอนธรรมะแบบไร้การเกริ่นหรือปู สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นการเล่าเรื่องขั้นสูงที่ผู้กำกับเลือกแล้วว่า อันนี้จะเล่าหรือทิ้งไว้ให้คนดูได้คิด ซึ่งกับหนังภาคนี้คนดูจะได้บริหารสมองเยอะเลยครับ แถมตอนหนังจบที่ปิดท้ายด้วยไฮไลต์อย่างฉากสุขุมวิท 11 เราจะได้พิจารณาในหลาย ๆ ประเด็น โดยเฉพาะความรุนแรงที่เกิดขึ้นนอกจากจะไร้ที่มาที่ไปแล้ว พี่พชร์ยังตั้งคำถามผ่านฉากดังกล่าวว่าเราหัวเราะกับศึกศักดิ์ศรีกะเทยไทยกับกะเทยปินส์ได้ยังไง จิตใจทำด้วยอะไรผ่านซีนที่มีแต่เสียงตะโกนและภาพผลิตซ้ำจากคลิปที่ดูแล้วเห็นถึงความตั้งใจของพี่พชร์ที่ทำให้เห็นว่าเป็นสถานการณ์ที่น่าอึดอัดขนาดไหน ดูหนังออนไลน์
ภาพยนตร์ที่คล้ายกัน
Hor Taew Tak The Finale (2024) หอแต๋วแตก แหกสัปะหยด
HOR TAEW TAK 3 (2011) หอแต๋วแตก แหวกชิมิ
HOR TAEW TAK 4 (2012) หอแต๋วแตก 4 แหกมว๊ากมว๊ากกก
HOR TAEW TAK 5 (2015) หอแต๋วแตก 5 แหกนะคะ
HOR TAEW TAK 2 (2009) หอแต๋วแตก แหกกระเจิง